Pharmacokinetics and the effects on psychomotor performance of caffeine in Thai health volunteers
Issued Date
2000
Copyright Date
2000
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 128 leaves
ISBN
9746644726
9789746644723
9789746644723
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Pharmacology))--Mahidol University, 2000
Suggested Citation
Dumrongsak Pekthong Pharmacokinetics and the effects on psychomotor performance of caffeine in Thai health volunteers. Thesis (M.Sc. (Pharmacology))--Mahidol University, 2000. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94679
Title
Pharmacokinetics and the effects on psychomotor performance of caffeine in Thai health volunteers
Alternative Title(s)
เภสัชจลนศาสตร์และการศึกษาผลต่อสมรรถภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหวของแคฟเฟอีนในเครื่องดื่มชูกำลังในอาสาสมัครไทยสุขภาพดี
Author(s)
Abstract
Caffeine is a widely consumed psychoactive substance found in a variety of beverages, foods, and medicines. In Thailand, the effects of caffeine on general health of laborers have been considered as one of the health problems. However, the safe limit of consumption per day is not generally well accepted. The purpose of this study was to determine the pharmacokinetic parameters of caffeine in popular energy drinks and its effects on psychomotor performance. The pharmacokinetic studies in 12 healthy male subjects indicated C[lowercase]max = 5.45±0.57 µg/ml, T[lowercase]max = 0.92±0.39 hr, t[lowercase]1/2 = 4.57±0.37 hr. AUC[lowercase]0-8 and AUC[lowercase]0-[alpha] values were 26.04±4.28 and 38.94±8.41 µg.hr/ml, respectively. Vd was 0.60+0.12 L/kg and CL was 1.53±0.31 ml/min.kg. It was suggested that caffeine is rapidly absorbed and distributed throughout the body. It is also rapidly eliminated from the body. To investigate the effects of caffeine on psychomotor performance by determining changes over the pre-dose reaction time (RT) of the simple reaction time (SRT) and choice reaction time (CRT), another 12 subjects received placebo, 200 mg and 400 mg of caffeine in a crossover study. It was found that the administration of low dose of caffeine (200 mg) improved performance as the increment over the pre-dose values of SRT, 3CRT, 6CRT and 9CRT were significantly different from placebo (p<0.05). High dose of caffeine (400 mg) produced less performance enhancement than that of the lower dose. The peak performance was observed around 1.5-2 hr with the lower dose, whereas the peak was generally observed between 0.5-1 hr with the higher dose of caffeine. About 65 % of subjects in this study complained of palpitation, nervousness and restlessness after taking 400 mg of caffeine, which none of the subject taking 200 mg of caffeine reported any adverse effects. The overall findings of the present study did not implicate the adverse effects of a single dose administration of 200 mg of caffeine containing in the popular energy drinks in the Thai healthy male subjects. It is reasonable to assume that the consumption of caffeine-containing beverages not exceeding 200 mg of caffeine per day should not pose a serious health risk to the Thai population at large. However, long term intake of caffeine should be rigorously assessed using well-controlled studies in order to determine the long-term effects of caffeine consumption on human health
แคฟเฟอีนเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยปัญหาของ การบริโภคแคฟเฟอีนต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเรื่อง หนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยในแต่ละวันยังไม่เป็นที่ทราบชัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการศึกษาข้อมูลทางเภสัชจลศาสตร์ของแคฟเฟอีนในเครื่องดื่มที่ เชื่อกันว่าให้พลังงาน และศึกษาผลของแคฟเฟอีนต่อสมรระภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหว (Psychomotor performance) ผลจากการศึกษาค่าเภสัชจลนศาสตร์ของอาสาสมัครชายไทยสุขภาพดี 12 คน พบว่า ระดับ ความเข้มข้นสูงสุดในพลาสมา (C[lowercase]max) เท่ากับ 5.45±0.57 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เวลาที่ระดับความเข้มข้นสูงสุดในพลาสมา (T[lowercase]max)) เท่ากับ 0.92±0.39 ชั่วโมง ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัดยา (t[lowercase]1/2)) เท่ากับ 4.57±0.37 ชั่วโมง และพื้นที่ใต้กราฟ ระหว่างความเข้มข้นของแคฟเฟอีนในพลาสมากับเวลาที่พบแคฟเฟอีน จาก 0 ถึง 8 ชั่วโมง (AUC[lowercase]0-8)) และจาก 0 ถึงอินฟินิตี้ (AUC[lowercase]0-[alpha]) คือ 26.04±4.28 และ 38.94±8.41 ไมโครกรัม- ชั่วโมงต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ค่าปริมาตรการกระจายตัวของยา (Vd) เท่ากับ 0.60±0.12 ลิตรต่อกิโลกรัม และค่าการกำจัดยา (CL) เท่ากับ 1.53±0.31 มิลลิลิตรต่อนาที-กิโลกรัม จากข้อมูลนี้บ่งบอกว่าแคฟเฟอีนถูกดูดซึมได้เร็วและกระจายตัวไปในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดี เพื่อเป็นการศึกษาผลของแคฟเฟอีนต่อสมรรถภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหวการวิจัยนี้ จึงได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเวลาที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Reaction time) ก่อนและ หลังได้รับแคฟเฟอีนโดยวัดความแตกต่างของเวลาของการตอบสนองแบบง่าย (Simple reaction time) และแบบมีตัวเลือก (Choice reaction time) ในอาสาสมัครสุขภาพดี 12 คน ซึ่งทุกคน ได้รับเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยสารแคฟเฟอีน 200 และ 400 มิลลิกรัมผสมอยู่และยาหลอก (placebo) ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การได้รับแคฟเฟอีนขนาดต่ำ (200 มิลลิกรัม) เพื่อสมรรถภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหว โดยมีความเร็วของการตอบสนองแบบง่ายและแบบมี ตัวเลือกต่างจากการได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนผลของแคฟเฟอีนใน ขนาดสูง (400 มิลลิกรัม) มีผลเพิ่มสมรรถภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหวได้ต่ำกว่าเมื่อเทียบ กับการได้รับคาเฟอีนในขนาดต่ำ ผลกระตุ้นสูงสุดจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 1.5-2 ชั่วโมงเมื่อ ได้รับแคฟเฟอีนขนาดต่ำและในเวลา 0.5-1 ชั่วโมง เมื่อได้รับแคฟเฟอีนขนาดสูง ประมาณ 65% ของอาสาสมัครระบุว่ามีอาการใจสั่น หงุดหงิด และกระสับกระส่ายหลังดื่มเครื่องดื่มที่มีแคฟเฟอีน ผสมอยู่ 400 มิลลิกรัม ในขณะที่ไม่มีอาสาสมัครรายใดที่ได้รับคาเฟอีนขนาด 200 มิลลิกรัมระบุว่า มีผลข้างเคียง ผลการวิจัยในภาพรวมไม่แสดงให้เห็นว่าแคฟเฟอีนขนาด 200 มิลลิกรัมที่ผสมใน เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูง ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ในอาสาสมัครชายไทยสุขภาพดี ดังนั้นจึงอาจประเมินได้ว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแคฟเฟอีนผสมในขนาดไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัมไม่น่าที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพแก่ประชากรไทยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามควรมีการ ศึกษาวิจัยอย่างจริงจังถึงผลของการบริโภคสารแคฟเฟอีนในระยะยาวโดยใช้การวิจัยที่มีการควบคุม อย่างดีเพื่อประเมินผลระยะยาวต่อสุขภาพของมนุษย์ที่บริโภคสารแคฟเฟอีน
แคฟเฟอีนเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยปัญหาของ การบริโภคแคฟเฟอีนต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเรื่อง หนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยในแต่ละวันยังไม่เป็นที่ทราบชัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการศึกษาข้อมูลทางเภสัชจลศาสตร์ของแคฟเฟอีนในเครื่องดื่มที่ เชื่อกันว่าให้พลังงาน และศึกษาผลของแคฟเฟอีนต่อสมรระภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหว (Psychomotor performance) ผลจากการศึกษาค่าเภสัชจลนศาสตร์ของอาสาสมัครชายไทยสุขภาพดี 12 คน พบว่า ระดับ ความเข้มข้นสูงสุดในพลาสมา (C[lowercase]max) เท่ากับ 5.45±0.57 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เวลาที่ระดับความเข้มข้นสูงสุดในพลาสมา (T[lowercase]max)) เท่ากับ 0.92±0.39 ชั่วโมง ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัดยา (t[lowercase]1/2)) เท่ากับ 4.57±0.37 ชั่วโมง และพื้นที่ใต้กราฟ ระหว่างความเข้มข้นของแคฟเฟอีนในพลาสมากับเวลาที่พบแคฟเฟอีน จาก 0 ถึง 8 ชั่วโมง (AUC[lowercase]0-8)) และจาก 0 ถึงอินฟินิตี้ (AUC[lowercase]0-[alpha]) คือ 26.04±4.28 และ 38.94±8.41 ไมโครกรัม- ชั่วโมงต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ค่าปริมาตรการกระจายตัวของยา (Vd) เท่ากับ 0.60±0.12 ลิตรต่อกิโลกรัม และค่าการกำจัดยา (CL) เท่ากับ 1.53±0.31 มิลลิลิตรต่อนาที-กิโลกรัม จากข้อมูลนี้บ่งบอกว่าแคฟเฟอีนถูกดูดซึมได้เร็วและกระจายตัวไปในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดี เพื่อเป็นการศึกษาผลของแคฟเฟอีนต่อสมรรถภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหวการวิจัยนี้ จึงได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเวลาที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Reaction time) ก่อนและ หลังได้รับแคฟเฟอีนโดยวัดความแตกต่างของเวลาของการตอบสนองแบบง่าย (Simple reaction time) และแบบมีตัวเลือก (Choice reaction time) ในอาสาสมัครสุขภาพดี 12 คน ซึ่งทุกคน ได้รับเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยสารแคฟเฟอีน 200 และ 400 มิลลิกรัมผสมอยู่และยาหลอก (placebo) ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การได้รับแคฟเฟอีนขนาดต่ำ (200 มิลลิกรัม) เพื่อสมรรถภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหว โดยมีความเร็วของการตอบสนองแบบง่ายและแบบมี ตัวเลือกต่างจากการได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนผลของแคฟเฟอีนใน ขนาดสูง (400 มิลลิกรัม) มีผลเพิ่มสมรรถภาพของระบบประสาทการเคลื่อนไหวได้ต่ำกว่าเมื่อเทียบ กับการได้รับคาเฟอีนในขนาดต่ำ ผลกระตุ้นสูงสุดจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 1.5-2 ชั่วโมงเมื่อ ได้รับแคฟเฟอีนขนาดต่ำและในเวลา 0.5-1 ชั่วโมง เมื่อได้รับแคฟเฟอีนขนาดสูง ประมาณ 65% ของอาสาสมัครระบุว่ามีอาการใจสั่น หงุดหงิด และกระสับกระส่ายหลังดื่มเครื่องดื่มที่มีแคฟเฟอีน ผสมอยู่ 400 มิลลิกรัม ในขณะที่ไม่มีอาสาสมัครรายใดที่ได้รับคาเฟอีนขนาด 200 มิลลิกรัมระบุว่า มีผลข้างเคียง ผลการวิจัยในภาพรวมไม่แสดงให้เห็นว่าแคฟเฟอีนขนาด 200 มิลลิกรัมที่ผสมใน เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูง ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ในอาสาสมัครชายไทยสุขภาพดี ดังนั้นจึงอาจประเมินได้ว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแคฟเฟอีนผสมในขนาดไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัมไม่น่าที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพแก่ประชากรไทยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามควรมีการ ศึกษาวิจัยอย่างจริงจังถึงผลของการบริโภคสารแคฟเฟอีนในระยะยาวโดยใช้การวิจัยที่มีการควบคุม อย่างดีเพื่อประเมินผลระยะยาวต่อสุขภาพของมนุษย์ที่บริโภคสารแคฟเฟอีน
Description
Pharmacology (Mahidol University 2000)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Pharmacology
Degree Grantor(s)
Mahidol University