การเตรียมความพร้อมของชุมชนต่อภัยแล้ง กรณีศึกษา : ตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

dc.contributor.advisorภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์
dc.contributor.advisorคนางค์ คันธมธุรพจน์
dc.contributor.advisorชนันนา รอดสุทธิ
dc.contributor.authorกนกพร คุ้มภัย
dc.date.accessioned2024-01-05T02:02:11Z
dc.date.available2024-01-05T02:02:11Z
dc.date.copyright2561
dc.date.created2561
dc.date.issued2567
dc.descriptionสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นภายในชุมชนศึกษาผลกระทบจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมของชุมชนต่อภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นภายในชุมชนตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านส่วนใหญ่ ภายในชุมชนประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาชุมชนสามารถประกอบอาชีพทำนาได้ปกติตามฤดูกาล จนเมื่อ พ.ศ.2554 เกิดมหาอุทกภัยกรมชลประทานต้องเร่งดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ทั้งหมด จึงทำให้การคาดการณ์และวางแผนการจัดการน้ำผิดพลาด ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2558 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ส่งผลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านไม่สามารถทำนาได้เลยทั้งตำบล จึงถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน (ฝนทิ้งช่วง) ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านภายในชุมชน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมโดยรูปแบบการรับมือของชุมชนตำบลลำตะเคียนในอดีตสามารถแบ่ง 5 ประเด็นตามแนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานทั้ง 8 ประเด็น ซึ่งบางประเด็นชุมชนได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง บางประเด็นยังขาดความต่อเนื่อง และบางประเด็นยังไม่มีการดำเนินการเลย และ นอกจากนี้ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการรับมือกับภัยแล้งที่เกิดขึ้นภายในชุมชน 4 ประการ ได้แก่ ชุมชนขาดการวางแผนรับมือกับภัยแล้ง ชุมชนขาดการพึ่งพาตนเอง การส่งเสริมอาชีพของภาครัฐไม่ครบวงจร และหน่วยงานของภาครัฐขาดการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างบูรณาการ จึงทำให้การรูปแบบรับมือกับภัยแล้งดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
dc.description.abstractThe purpose of this research was to study Lum Ta Khian community drought situation affecting the community and suggest directions for the community's drought preparedness. Lum Ta Khian is a Sub-district of Phak Hai District. This qualitative study employed an in-depth Interview and focus group discussions to collect data among key informants. The findings suggest that majority of the locals mainly work in the rice paddies for a living where, in the past years, they could plant rice seasonally. In the year 2011 during the great flood, the Royal Irrigation Department quickly drained flood water from the whole area, due to enormous error in forecasting and planning of water management. Besides, the advent of El Nino phenomenon as a result of climate change in 2015 caused irregular rainfall until all villagers were unable to plant rice and the entire area was declared as an emergency disaster area. In the past, the impacts felt throughout the community in economic, social and environmental aspects pushed the locals to cope with the disaster in various ways (5 venues) based on the community tactics, with some handling the situation on continuous basis while others were not prepared for such emergency: Furthermore, problems and obstacles were found in preparation to cope with the drought from lacking substantiated plan, community self-reliance, irregular state support and the state agencies failure to integrate work practice, in turn, these barriers caused the State combating drought not to be as successful as planned
dc.format.extentก-ฌ, 139 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91848
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการจัดการภัยแล้ง -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
dc.subjectการพัฒนาชุมชน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
dc.subjectชุมชน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
dc.titleการเตรียมความพร้อมของชุมชนต่อภัยแล้ง กรณีศึกษา : ตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
dc.title.alternativeCommunity drought preparedness case study Lum Ta Khian sub-district, Phak Hai district, Phra Nakorn Si Ayutthaya province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/537/5836200.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์
thesis.degree.disciplineสิ่งแวดล้อม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files