การตลาดของโรงพยาบาลเอกชนใน กทม. พ.ศ. 2537
dc.contributor.author | วิศิษฏ์ พิชัยสนิธ | en_US |
dc.contributor.author | สมชาติ โตรักษา | en_US |
dc.contributor.author | พงษ์ศักดิ์ วิทยากร | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-11-27T08:08:03Z | |
dc.date.accessioned | 2021-09-20T09:16:29Z | |
dc.date.available | 2015-11-27T08:08:03Z | |
dc.date.available | 2021-09-20T09:16:29Z | |
dc.date.created | 2558-11-12 | |
dc.date.issued | 2538 | |
dc.description | การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 7 วิถีชีวิตไทยยุคโลกาภิวัตน์กับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาสุขภาพ, 6-8 ธันวาคม 2538 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538. หน้า 69-70. | en |
dc.description.abstract | ได้ศึกษาการดำเนินงานการตลาดของโรงพยาบาลเอกชนขนาด 50 เตียงขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 22 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เพิ่มเติม พบว่า ส่วนใหญ่มีบุคลากรด้านการตลาด 1-17 คน กลยุทธ์ที่ใช้ ได้แก่ การให้บัตรลดราคาแบบต่างๆ การให้ส่วนลดกับกลุ่มบุคคล การจัดทำบัตรกำนัลในการตรวจสุขภาพ การเอื้อเฟื้อสถานที่สำหรับดูงานถ่ายทำละคร ภาพยนตร์ การซื้อเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย การใช้เทคนิคทางการแพทย์ใหม่ๆ การให้คำปรึกษา/ป้องกันโรคทางโทรศัพท์ การจัดอบรม/สัมมนาเรื่องโรคและสุขภาพแก่ผู้รับบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาล การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ การให้ทุนการศึกษา การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การสนับสนุนป้อม/ป้ายจราจร การจัดพิมพ์เอกสารด้านการแพทย์และสุขภาพแจก การจัดพิมพ์วารสารของโรงพยาบาล การจัดทำป้าย/บอร์ดด้านการแพทย์และสุขภาพ การจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ การจัดตู้รับฟังความคิดเห็นในโรงพยาบาล การสำรวจความคิดเห็นของผู้มารับบริการ การขอความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ ฯลฯ โดยโรงพยาบาลที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีกิจกรรมน้อยกว่าโรงพยาบาลที่ดำเนินการแบบธุรกิจ ผลการวิเคราะห์สรุปว่า โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่งในปัจจุบัน มีการดำเนินการด้านการตลาด แต่มีส่วนผสมทางการตลาดที่ต่างกัน ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับธุรกิจโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับจุดเด่นจุดด้อยของโรงพยาบาลนั้นๆ ได้เสนอแนะให้ยอมรับว่า โรงพยาบาลเอกชนสามารถทำการตลาดได้ แต่ต้องคำนึงถึงจริยธรรมด้านการแพทย์ การให้ข้อมูลที่เป็นจริง และการคุ้มครองผู้บริโภค ควรศึกษาวิจัยต่อไปเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการตลาดของโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมผู้บริโภค | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63610 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การตลาด | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลเอกชน | en_US |
dc.title | การตลาดของโรงพยาบาลเอกชนใน กทม. พ.ศ. 2537 | en_US |
dc.type | Proceeding Poster | en_US |
Files
License bundle
1 - 1 of 1