อำนาจ และการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในการศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์บรู

dc.contributor.advisorชิตชยางค์ ยมาภัย
dc.contributor.authorทิพวรรณ พ่อขันชาย
dc.date.accessioned2024-01-23T06:22:38Z
dc.date.available2024-01-23T06:22:38Z
dc.date.copyright2555
dc.date.created2567
dc.date.issued2555
dc.descriptionพัฒนาชนบทศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีเป้าหมายเพื่อบรรยายถึงแนวทางการพัฒนาคนให้อยู่ดีมีความสุข คิดดี คิดเป็น โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักสูตรและการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในกระบวนการศึกษาของชาวบรู (กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบในประเทศไทย) ขอบเขตในการวิจัยมุ่งศึกษาประเด็น ทุนทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์เชิง อำนาจและการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในกระบวนการการศึกษาของท้องถิ่นและการศึกษาในระบบโรงเรียนของเด็กชาติพันธุ์บรู ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography) โดยได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่วิจัยนานประมาณ 6 เดือน เพื่อเก็บข้อมูลด้วยวิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคสนาม ที่ หมู่บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมของเด็กชาติพันธุ์บรู จำแนกออกเป็นหลักสูตร 3 ประเภท ได้แก่ 1) หลักสูตรในโรงเรียน อันเป็นความรู้เชิงวิชาการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูเป็นผู้ถ่ายทอดหรือผลิตซ้ำความรู้ให้แก่เด็กด้วยการ "สอนทำ" และ/หรือ "พาทำ" ทำให้เด็กชาวบรูสามารถอ่าน เขียนคำนวณ ได้ มีความรู้ที่กว้างขึ้น สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนและสังคมได้ ผู้มีอำนาจในการจัดการศึกษาได้แก่ ภาครัฐ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู 2) หลักสูตรในชุมชนท้องถิ่น เป็นความรู้ในวิถีชีวิต มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เด็กชาวบรูสามารถทำมาหากินและดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนได้ มีการผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรมด้วยการ "ทำให้ดู" "พาทำ" และ"พาไปด้วย ช่วยกันทำ" ผู้มีอำนาจในการจัดการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐ ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เยียง/ปู่ตา พระสงฆ์ ชาวบ้าน และสื่อต่าง ๆ 3) หลักสูตรแฝง มักจะสอดแทรกอยู่ในหลักสูตรการศึกษาตามปกติและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างความตระหนักเพื่อการอยู่ร่วมกันในชุมชนและสังคม ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและศักยภาพของเด็กชาวบรูให้สามารถพึ่งพาตนเองและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุขนั้น พึงให้ความสำคัญแก่การศึกษาในระบบและการศึกษาของท้องถิ่นควบคู่กันไปอย่างสมดุล และมีความสอดคล้องกับบริบทและชีวิตจริงของคนในชุมชน ประการสำคัญคือ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจในการจัดการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐ โรงเรียน วัด และชุมชนชาวบรู จะต้องร่วมใจและร่วมมือกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนและชุมชนจากรากฐานทางวัฒนธรรม เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมบรูไว้อย่างมีพลวัต
dc.format.extentก-ฌ, 218 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93602
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectอำนาจ (สังคมศาสตร์)
dc.subjectวัฒนธรรม
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- อุบลราชธานี
dc.subjectชนกลุ่มน้อย -- ไทย
dc.subjectการแพร่กระจายวัฒนธรรม
dc.subjectบรู
dc.titleอำนาจ และการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในการศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์บรู
dc.title.alternativePower and cultural reproduction in education of Bru
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd466/5037456.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineพัฒนาชนบทศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files