ประสิทธิผลโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ของสามีหญิงที่มีครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์
Issued Date
2538
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ชนิณัฐ วโรทัย, Hamann, Stephen L., สุภกร บัวสาย (2538). ประสิทธิผลโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ของสามีหญิงที่มีครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63519
Title
ประสิทธิผลโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ของสามีหญิงที่มีครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์
Author(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพผลโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ของสามีที่สูบบุหรี่ของหญิงมีครรภ์ 2 รูปแบบ คือการให้คำปรึกษารายบุคคล ร่วมกับแจกคู่มือ “คุณทำได้” อย่างเดียว ผู้วิจัยได้ประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีด้านแรงจูงใจ ความเชื่อด้านสุขภาพ ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง การให้คำปรึกษา การสื่อสารระหว่างบุคคล โปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ 21 วันของ American Cancer Society ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแนวในการจัดโปรแกรมสุขศึกษา
วิธีการ การวิจัยนี้เป็นลักษณะแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือสามีที่สูบบุหรี่ของหญิงที่มาฝากครรภ์ ณ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 180 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการให้คำปรึกษารายละ 20 นาทีและได้รับแจกคู่มือ “คุณทำได้” จำนวน 60 คน กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับเฉพาะคู่มือ “คุณทำได้” จำนวน 60 คน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือแบบสอบถามความรู้ ความเชื่อ การปฏับติตัวในการเลิกสูบบุหรี่ กลุ่มทดลองที่ 1 เก็บข้อมูล 3 ครั้งคือ ก่อนการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง และ 1 เดือนหลังจากสิ้นสุดการทดลอง สำหรับกลุ่มทดลองที่ 2 เก็บก่อนการทดลองและเก็บภายหลังการทดลอง 1เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน student’ t-test และ paried sample t-test
ผลการวิจัย ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 มีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่ ความรู้และความเชื่อด้านผลของการสูบบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพภรรยาและบุตรดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองที่ 2 พบว่ามีการเปลี่ยนแปนงด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่ ความเชื่อด้านผลของการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพภรรยาและบุตรดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความรู้ด้านผลของการสูบบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพภรรยาแลบุตรพบว่า กลุ่มทดลอง ที่ 2 มีความรู้ด้านนี้สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 มีความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่และกำหนดวันเลิกสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 88 กลุ่มทดลองที่ 1 เลิกสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 53 กลุ่มทดลองที่ 2 เลิกสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 8 และกลุ่มเปรียบเทียบ เลิกสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 1 ภายหลังการทดลอง 1 เดือน ผลการวิจัยแสดงว่า การจัดโปรแกรมสุขศึกษา ด้วยการให้คำแนะนำปรึกษาเฉพาะราย ร่วมกับการแจกคู่มือ “คุณทำได้” มีผลทำให้สามีสูบบุหรี่ของหญิงที่มาฝากครรภ์ เลิกสูบบุหรี่ได้มากว่ากลุ่มที่ได้รับคู่มืออย่างเดียว
ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลควรมีนโยบายให้สามีที่สูบบุหรี่ของหญิงที่มาฝากครรภ์ทุกคนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา และจัดวางแผนงาน กำลังคน งบประมาณ สถานที่ให้คำปรึกษาเพื่อช่วยให้สามีสูบบุหรี่ของหญิงที่ฝากครรภ์เลิกสูบบุหรี่
Description
การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 7 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิถีชีวิตไทยยุคโลกาภิวัฒน์กับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาสุขภาพ, 6-8 ธันวาคม 2538 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538. หน้า 147-148.