การศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์สตรีในอุดมคติและการเห็นคุณค่าในตนเองของสตรีพิการทางกายและการเคลื่อนไหวในจังหวัดลำปาง

dc.contributor.advisorทวี เชื้อสุวรรณทวี
dc.contributor.advisorเพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์
dc.contributor.authorวาลุกา หมื่นตาบุตร
dc.date.accessioned2024-01-15T04:07:40Z
dc.date.available2024-01-15T04:07:40Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionวิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบของทัศนคติ ด้านภาพลักษณ์สตรีในอุดมคติและระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของสตรีพิการทางกายและการเคลื่อนไหวในจังหวัดลำปาง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ สตรีพิการทางกายและการเคลื่อนไหวที่มีอายุระหว่าง 18-60ปี จำนวน 374คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น2ส่วน โดยส่วนแรกเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง และ แบบวัดระดับการได้รับผลกระทบของทัศนคติด้านภาพลักษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน และค่าความเป็นอิสระของประชากร ส่วนที่สองเป็นการสัมภาษณ์สตรีพิการ 3ท่าน เพื่อประเมินความคิดเห็นในเชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ตีความข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ ประกอบกับข้อมูลประเภทเอกสารที่รวบรวมมาจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม อยู่ในระดับปาน กลางค่อนข้างสูง ซึ่งสัมพันธ์กับระดับการได้รับผลกระทบของทัศนคติด้านภาพลักษณ์ ที่มีระดับผลกระทบโดยรวมปานกลางค่อนข้างต่ำ แสดงให้เห็นว่าสตรีพิการที่ได้รับผลกระทบต่ำจะเป็นผู้เห็นคุณค่าในตนเองสูง และสตรีที่ได้รับผลกระทบสูงจะเป็นผู้เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ โดยทัศนคติด้านภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อสตรีพิการมากที่สุด คือทัศนคติของความเป็นแม่ และความเป็นคู่ชีวิตที่สมบูรณ์ให้แก่เพศชาย
dc.description.abstractThis research aimed to study the relationship between the effects of the female physical ideal and self-esteem in females with disability and mobility impairment in Lampang province. The sample size consisted of 374 females with disabilities and mobility impairment, aged between 18-60 years old. For the data collection, the researcher divided it into 2 parts. First questionnaires were used to collect the personal information, the level of self esteem and the level of the effects of the physical ideal towards females with disabilities and was analyzed by using the SPSS program to obtain the frequency, percentage, mean, standard deviation, chi square test and one-way ANOVA. For a better understanding, the researcher then interviewed 3 females with disabilities that were analyzed using the textual analysis method. The result has revealed that overall the sample group had a medium-high selfesteem level, which inversely related to the effects of the physical ideal at a medium-low level. This means the female with disabilities who had a low level of the effects of the physical ideal tended to have higher self esteem, and vice versa. The study also indicated that the factor of the physical ideal that most effected females with disabilities were confidence with being a mother and a perfect housewife.
dc.format.extentก-ฌ, 96 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92755
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectคนพิการทางการเคลื่อนไหว -- การดำเนินชีวิต
dc.subjectคนพิการทางการเคลื่อนไหว -- การยอมรับตนเอง
dc.subjectคนพิการ -- สุขภาพและอนามัย -- ไทย
dc.subjectคนพิการ -- บริการทางการแพทย์
dc.subjectคนพิการ -- สิ่งอำนวยความสะดวก
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์สตรีในอุดมคติและการเห็นคุณค่าในตนเองของสตรีพิการทางกายและการเคลื่อนไหวในจังหวัดลำปาง
dc.title.alternativeThe correlation of the female physical ideal on self esteem in women with physical disability and mobility impairment in the Lampang province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd513/5437605.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยราชสุดา
thesis.degree.disciplineวิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files