สภาพการบริหารจัดการวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

dc.contributor.advisorวุฒินันท์ กันทะเตียน
dc.contributor.advisorประทีป ฉัตรสุภางค์
dc.contributor.authorแม่ชีสมควร ทองดี
dc.date.accessioned2024-01-16T00:52:58Z
dc.date.available2024-01-16T00:52:58Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionศาสนากับการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการวัด (2) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) เพื่อวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย การศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การบริหารจัดการแบบ 4M มาเป็นกรอบวิเคราะห์การบริหารจัดการวัดตามภารกิจทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า (1) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการวัด ในครั้งพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงปกครองคณะสงฆ์โดยใช้พระธรรมวินัยเป็นหลักการปกครอง พระองค์ทรงเป็นพระธรรมราชา เมื่อพระองค์ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้น จึงได้มีการทำปฐมสังคายนา โดยพระสงฆ์สาวกรุ่นแรก มีพระมหากัสสปเป็นประธาน ปัจจุบันการปกครองคณะสงฆ์เป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ พระราชบัญญัติคระสงฆ์ (ปรับปรุง) พ.ศ. 2535 โดยยังยึดพระธรรมวินัยเป็นหลัก ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย และ กฎมหาเถรสมาคม ในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม (2) สภาพการบริหารจัดการวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการบริหารจัดการเป็นไปตามแผนการปกครองของเจ้าอาวาสที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับการบริหาร จัดการตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม คู่มือพระสังฆาธิการ โดยมีภารกิจการปกครองคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน (3) จากการวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการ ตามกรอบวิเคราะห์ 4 M พบว่า 1. Man มีการบริหารจัดการวัดตามลำดับชั้น ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงผู้ปฏิบัติงานทั่วไป เพื่อสนับสนุนการศึกษาทั้งปริยัติ- ปฏิบัติ และจัดสร้างโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) การเผยแผ่ศาสนธรรม ทั้งในและนอกวัดให้กับประชาชน การช่วยเหลือบุคคลากรในวัดและประชาชนทั้งทางจิตใจและทางวัตถุ 2. Money มีการวางแผนจัดสรรงบประมาณ ด้านรายรับ-รายจ่าย เพื่อพัฒนาสนับสนุนภารกิจทั้ง 6 ด้าน อย่างมีคุณภาพ 3. Material มีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เพื่อระเบียบการปกครองและการบำรุงรักษาและดูแลความสะดวก ในการจัดศาสนสมบัติและศาสนสถานตามบริบทของวัดเป็นไปตามแผนงานที่ตั้งไว้ 4. Management มีการบริหารจัดการวัดที่เป็นวัดทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน มรดกโลกและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทั้งในส่วนงบประมาณ ที่ดิน สิ่งก่อสร้างและบุคคล เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่าง บ้าน โรงเรียน วัด ได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ควรเปิดวัดเป็นสำนักเรียนอย่างเป็นทางการควรมีอาคารเรียนโดยเฉพาะเพื่อใช้เรียนด้านปริยัติธรรมและต้องมีแผนการหาผู้มาบวชเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อการเรียนการสอนจะได้ไม่ขาดตอน
dc.description.abstractThe main objectives of this research were to: (1) study concepts and theories relating to the management of temples; (2) study the managerial situation of and (3) analyze the managerial situation of Wat Yai Chaimongkol, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. This study was a qualitative research conducted by means of document review and in-depth interview. The 4M management concept was used as the analysis framework for 6 management aspects, which included the administration, religious studies, welfare education, propagation of the Buddha Teaching, public assistance, and public welfare. The results showed that: (1) for the concept of monastery management, in the time of the Buddha, the Buddha governed the group of Sangha based on the Teaching and Discipline (Dhammavinaya) where the Buddha acted as the Lord of Law (Dhammaraja). After the Great Decease of the Buddha, when the improper event occurred, the First Council of Sangha was held by the first generation of disciplines headed by Maha Kassapa. At present, the administration of Sangha has been in compliance with the Sangha Act, B.E. 2505 and the Sangha Act (Amendment), B.E. 2535. However, such administration mainly adheres to Dhammavinaya, and should not be against any laws or rules of the Sangha Supreme Council. (2) For the managerial situation of Wat Yai Chaimongkol, it was in line with the management plant formed by the Abbot, and with the Sangha Act, rules of the Sangha Supreme Council, and the Manual of Ecclesiastical Administrative Officer. (3) From an analysis of managerial situation under the 4M management concept, it was found that: 1. regarding "man", people were managed hierarchically from the management to general workers in order to support studies on the Scriptures and practice, construction of Wat Yai Chaimongkol (Bhavana Rangsi) School, propagation of the Buddha Teaching inside and outside the temple to the general public, mental and material assistance to the temple personnel and the general public; 2. regarding "money", the budget was allocated and divided into income and expenses to support all 6 management affairs efficiently; 3. regarding "material", the materials were provided for the administration order, maintenance and convenience in setting the religious properties and religious places according to the plan formulated by the Temple; and 4. regarding "management", the Temple was managed as a historical place, an ancient remain, a world heritage and a cultural tourist attraction in respect to budget, land, structure and personnel so that all houses, schools and the Temple achieved harmony and happiness. From this research, it was recommended that the Temple should be officially opened as a studying house. There should be some buildings for studying the Scriptures. The Temple should plan seeking for individuals to enter monkhood to consistently and regularly run the teaching and the learning in the Temple.
dc.format.extentก-ฌ, 332 แผ่น : ภาพประกอบสี
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนากับการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92936
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectวัด -- การบริหาร
dc.subjectวัด -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
dc.titleสภาพการบริหารจัดการวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
dc.title.alternativeManagerial situation of Wat Yai Chaimongkol, Phra Nakhon Si Ayutthaya
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/508/5537100.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineศาสนากับการพัฒนา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files