การพัฒนารูปแบบงานส่งต่อผู้ป่วยศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
Issued Date
2554
Copyright Date
2554
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 227 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
ธษา ศิระวัฒนชัย การพัฒนารูปแบบงานส่งต่อผู้ป่วยศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92990
Title
การพัฒนารูปแบบงานส่งต่อผู้ป่วยศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
Alternative Title(s)
Model development of referral system at Golden Jubilee Medical Center
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การส่งต่อผู้ป่วย เป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างสถานบริการสาธารณสุขหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งโดยมีการ ส่งต่อข้อมูลอาการและเอกสารสำคัญ เพื่อการรับบริการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็น ปัญหาของทุกประเทศ อันเกิดจากความไม่พร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ ระบบขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก การวิจัย พัฒนาเชิงทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง การทดลองนี้ เพื่อพัฒนางานส่งต่อผู้ป่วยโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ สิ่งที่ทดลอง คือ รูปแบบงานส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น นำไปทดลองที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เป็นเวลา 3 เดือน ในช่วง 1 มิถุนายน 2555 ถึง 31 สิงหาคม 2555โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ ด้วยหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ งานส่งต่อ ผู้ป่วยทั้งหมดในช่วง 1 เดือน ก่อนทดลอง 12 ครั้ง และในช่วง 1 เดือนหลังทดลอง 12 ครั้ง ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่เป็นผู้บริหาร 13 คน ผู้ปฏิบัติงาน 72 คน และผู้ป่วยหรือญาติ 24 คน เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วย แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกเหตุการณ์ แบบบันทึกการประชุม เปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้วยค่าสถิติพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าสถิติที ค่าสถิติแพร์ที ค่าสถิติวิลค๊อกซัน และค่าสถิติแมนวิทย์นียู ที่ระดับแอฟฟ่า 0.05 ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง อัตราส่วนปริมาณงานเฉลี่ยต่อแรงงานที่ใช้ในการให้บริการเพิ่มขึ้นจาก 6.72 เป็น 10.47 ครั้ง/10,000 คน-วินาที อัตราส่วนปริมาณงานเฉลี่ยต่อค่าแรงงานที่ใช้ในการให้บริการเพิ่มขึ้นจาก 7.73 เป็น 12.92 ครั้ง/10,000 บาท ความถูกต้องของการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานประจำวันเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 98.51 เป็น 98.61 ความถูกต้องของการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน เพิ่มขึ้น (p<0.001) ความพึงพอใจ ทั้งของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้ป่วย/ญาติ เพิ่มขึ้น (p<0.001, p<0.001, และ p=0.048 ตามลำดับ); ระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งต่อผู้ป่วยลดลงจาก 135 เหลือ เพียง 52.5 นาที ต้นทุนในการให้บริการลดลงจาก 3,017.91 เป็น 2,318.33 บาท/รายรูปแบบงานส่งต่อที่พัฒนาขึ้น ได้นำหลัก วิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนหลัก และจัดทำคู่มือการส่งต่อผู้ป่วย ที่ช่วยให้การปฏิบัติงานส่งต่อชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน ปัจจัยหลักที่นำสู่ความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง; บรรยากาศการทำงานเสมือนทีมครอบครัวเดียวกัน; การพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัย; และการสนับสนุนจากผู้บริหาร ได้เสนอแนะให้ดำเนินการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยควรศึกษาให้ครอบคลุมทั้งแนวไป และกลับ; พัฒนาระบบ IT ให้ครอบคลุมทั้งระบบ; พัฒนาเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยร่วมกับภาคเอกชน; พัฒนาระบบการรับ ปรึกษาระหว่างโรงพยาบาล พัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อแบบไร้สังกัด; จนได้รูปแบบการรับส่งต่อผู้ป่วยที่สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้น เป็นตัวอย่างของการพัฒนางานประจำสู่การวิจัยที่ไม่ยุ่งยากและมีประสิทธิภาพ
Description
บริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
บริหารสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล