ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสมาชิกในครอบครัวต่อพฤติกรรมการจัดอาหารของสมาชิกในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
dc.contributor.advisor | ยุพา จิ๋วพัฒนกุล | |
dc.contributor.advisor | กีรดา ไกรนุวัตร | |
dc.contributor.author | จินตนา อรรถประจง | |
dc.date.accessioned | 2024-01-09T01:06:09Z | |
dc.date.available | 2024-01-09T01:06:09Z | |
dc.date.copyright | 2562 | |
dc.date.created | 2562 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562) | |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสมาชิกในครอบครัวต่อพฤติกรรมการจัดอาหารของสมาชิกในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โดยใช้กรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกในครอบครัวที่มีอายุ 25-59 ปี ซึ่งทำหน้าที่หลักในการจัดอาหารให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีอายุ 60-80 ปี อาศัยอยู่ในชุมชนของกรุงเทพมหานคร กลุ่มละ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้โรคเบาหวานและอาหารสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน แบบวัดพฤติกรรมการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน และโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจฯ ซึ่งออกแบบให้กลุ่มทดลองได้ค้นหาสภาพการณ์จริง สะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม ลงมือปฏิบัติ และคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาในการให้โปรแกรมฯ 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมฯช่วยให้คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดอาหารของสมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุโรคเบาหวานกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดอาหารหลังได้รับโปรแกรมฯ มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) แต่คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดอาหารของสมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุโรคเบาหวานกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการวิจัยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้สมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุ โรคเบาหวานจัดอาหารได้อย่างเหมาะสมกับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน และเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติและบุคลากรสาธารณสุขในการวางแผนเสริมสร้างพลังอำนาจให้สมาชิกในครอบครัวในการจัดอาหารให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน รวมถึงเป็นโปรแกรมต้นแบบสำหรับศูนย์บริการสาธารณสุข ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้สามารถจัดอาหารได้อย่างเหมาะสม | |
dc.description.abstract | This two-group quasi-experimental study was conducted with the aim of exploring the effects of a family member empowerment program on family members' food preparation behaviors for elderly diabetic patients. Gibson's empowerment framework was used as the conceptual framework for the study. The sample was family members aged 25-59 years who performed the main duty of preparing food for elderly diabetic patients who were aged 60-80 years and living in a community in Bangkok, Thailand, with 33 people in each group. The instruments employed in the study were the demographic data questionnaire, the scale for measuring knowledge on diabetes and foods for elderly diabetic patients, the food preparation behaviors for elderly diabetic patients' instrument, and the empowerment program designed for delivery to the experimental group. The researcher searched for information based on a real situation employed, reflective critical thinking and decision-making about the selection of healthy practice, hands-on practice, and maintenance of efficient practice. The program was administered over a period of six weeks. According to the findings, the program contributed to higher mean scores for the food preparation behavior of family members caring for elderly diabetic patients in the experimental group than in the control group. Furthermore, the experimental group had higher mean posttest scores than pretest scores with statistical significance (p < .01), while there were no differences in the pre- and posttest mean scores for the food preparation behaviors of family members caring for elderly diabetic patients in the control group with statistical significance (p > .05). The findings of the present study could be used as guidelines in the food preparation behaviors of family members caring for elderly diabetic patients and nurse practitioners and public health personnel in planning to empower family members in food preparations for elderly diabetic patients. Moreover, the program could be a model for public health service centers in the Bangkok area to enable proper food preparations particularly for diabetic patients. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 226 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92026 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | เบาหวานในผู้สูงอายุ | |
dc.subject | เบาหวาน -- การดูแลตนเอง | |
dc.subject | โภชนาการ | |
dc.title | ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสมาชิกในครอบครัวต่อพฤติกรรมการจัดอาหารของสมาชิกในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน | |
dc.title.alternative | Effects of family members' empowerment program on family members' food preparing behaviors for elderly diabetic patients | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/549/6036823.pdf | |
thesis.degree.department | คณะพยาบาลศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |