ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 181 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91616
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Alternative Title(s)
The relationship between happiness, health literacy and quality of life of elderly : a case study in Wiang elderly school, Fang district, Chiang Mai province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุข ความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสุขกับคุณภาพชีวิต และความรอบรู้ด้านสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ ประจำปีการศึกษา 2560 ที่ให้ความยินยอมในการเข้าร่วมวิจัย เข้าใจภาษาไทยหรือภาษาคำเมือง ไม่มีความพิการทางด้านร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร จำนวนทั้งสิ้น 226 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามคุณภาพชีวิต ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสุขคนไทย และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ.2ส. ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หลังรวบรวมข้อมูลได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ความสุขกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และคุณภาพชีวิตกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นคุณภาพชีวิตกลาง ๆ ความสุขของผู้สูงอายุมีความสุขเท่ากับคนทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในระดับพอใช้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าความสุขมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความสุขมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์เชิง บวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The purposes of this study were as follows: (1) to study happiness, health literacy and quality of life in elderly, (2) to study the relationship between happiness and health literacy in elderly, (3) to study the relationship between happiness and quality of life, and (4) to study the relationship between health literacy and quality of life in elderly at Wiang elderly schools, Fang district, Chiang Mai. Sample group was 226 elderlies who attended the elderly school, agreed to participate in the research and had no communication problems. The instruments used were general information questionnaire, Thai version the World Health Organization Quality of Life QOL Assessment-Brief Instrument (WHOQOL-BREF), Thai's happiness index and Thailand Department of Health Service's health literacy assessment instrument. Analysis was used Descriptive Statistic and Pearson correlation coefficient. It was found that elderly has common QOL, fair HP and fair HL, and also found negative relation between HP and HL significantly at 0.05, positive relation between HP and QOL significantly at 0.01, and positive relation between QOL and HL significantly at 0.01
The purposes of this study were as follows: (1) to study happiness, health literacy and quality of life in elderly, (2) to study the relationship between happiness and health literacy in elderly, (3) to study the relationship between happiness and quality of life, and (4) to study the relationship between health literacy and quality of life in elderly at Wiang elderly schools, Fang district, Chiang Mai. Sample group was 226 elderlies who attended the elderly school, agreed to participate in the research and had no communication problems. The instruments used were general information questionnaire, Thai version the World Health Organization Quality of Life QOL Assessment-Brief Instrument (WHOQOL-BREF), Thai's happiness index and Thailand Department of Health Service's health literacy assessment instrument. Analysis was used Descriptive Statistic and Pearson correlation coefficient. It was found that elderly has common QOL, fair HP and fair HL, and also found negative relation between HP and HL significantly at 0.05, positive relation between HP and QOL significantly at 0.01, and positive relation between QOL and HL significantly at 0.01
Description
พัฒนาการมนุษย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Degree Discipline
พัฒนาการมนุษย์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล