Dr. Sugree Charoensook : music education reformist
Issued Date
2023
Copyright Date
2012
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 256 leaves
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Music))--Mahidol University, 2012
Suggested Citation
Somsak Leesawadtrakul Dr. Sugree Charoensook : music education reformist. Thesis (Ph.D. (Music))--Mahidol University, 2012. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89436
Title
Dr. Sugree Charoensook : music education reformist
Alternative Title(s)
ดร. สุกรี เจริญสุข : นักปฏิรูปดนตรีศึกษา
Author(s)
Abstract
The dissertation presents a biographical investigation of the life and career of Dr. Sugree Charoensook, Dean of the College of Music at Mahidol University, documenting his contributions to music education in Thailand. This study employs qualitative approaches as research methodology, including in-depth face-to-face interviews and document analysis. The research was carried out during the years 2008 - 2009. The central goal is to articulate Dr. Sugree's vision, philosophy, approaches to Thailand's music education barriers and developments, and to discuss his characteristics from various roles he has held as a founder and executive of College of Music, Mahidol University, and its affiliated programs. The prologue introduces Dr. Sugree Charoensook and his down-to-earth attitudes, yet larger-than-life persona. Chapter one traces his childhood from his formative years living in the countryside, his obtaining a Doctor of Arts in Music from the University of Northern Colorado in the United States of America, surveying his family life to demonstrate his struggles seeking higher education, and his self-driven work ethic to pursue excellence with dedication and discipline. Chapter two reveals his passion for music; both as a performing musician as a saxophonist, and how he created opportunities for other musicians through the formation of the Thailand Philharmonic Orchestra and work with the World Saxophone Congress. Chapter three focuses on the primary thesis of this dissertation, concerning how he has influenced music education reform in Thailand through College of Music, Mahidol University, Thai music teachers, and the Talent Education Research Project. Chapter four explores his imaginative and executive mind, providing rare insight into his establishment of the College of Music---tribulations and triumphs---and the numerous projects that he initiated. Chapter five examines his scholarly music pursuits, with details of his production of music works, books, research projects, and so forth. It also discusses his controversial academic promotion and his aspirations to create a Performance Professor faculty designation for Mahidol University. The appendices display how prolific he has been as a musician, writer, and researcher; revealing his humor and characteristic wits
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาชีวประวัติและผลงานของ ดร. สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล บันทึกเรื่องราวของพัฒนาการทางการดนตรีศึกษาของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารต่างๆ ใช้ช่วงเวลาในการศึกษาข้อมูล เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2552 เป้าหมายหลักของวิทยานิพนธ์นี้ คือ การแสดงทัศนคติ ปรัชญา และวิธีการฝ่าฟันอุปสรรคทางการพัฒนาการทางดนตรีศึกษาของประเทศไทย ตลอดจนการอภิปรายบทบาททางดนตรีด้านต่างๆ ของ ดร. สุกรี เจริญสุข ทั้งในฐานะอาจารย์ดนตรี ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ รวมทั้งสถาบันดนตรีต่างๆ ในสังกัดบทนำของวิทยานิพนธ์นี้ นำเสนอภาพรวมของชีวิตและทัศนคติตามจริง ของ ดร. สุกรี เจริญสุข บทที่หนึ่ง เริ่มถึงเรื่องราวชีวิตในวัยเด็กที่เติบโตท่ามกลางสังคมชนบท ครอบครัว และอุปสรรคในการศึกษาต่อทางดนตรีในระดับสูง ปรัชญาในการดำเนินชีวิต ความพากเพียรอุตสาหะ จนถึงความสำเร็จที่ได้รับในการศึกษาปริญญาเอกสาขาดนตรี ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเทินโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา บทที่สอง แสดงถึงความรักในการดนตรี ทั้งในฐานะนักแซ็กโซโฟนและผู้สร้างโอกาสทางการดนตรี ให้กับนักดนตรีอื่นๆ ได้แก่ การจัดตั้งวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย และความร่วมมือในการจัดประชุม แซกโซโฟนโลก บทที่สาม เป็นใจความสำคัญของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ กล่าวถึง การปฏิรูปการดนตรีศึกษาของประเทศไทยผ่านทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล การพัฒนาบุคลากรในการสอนดนตรีของชาติและการจัดโครงการวิจัยพรสวรรค์สร้างได้ บทที่สี่ ถ่ายทอดความฝันและจิตวิญญาณของผู้บริหารการศึกษาดนตรี นำเสนอแง่มุมเชิงลึกของ ดร. สุกรี เจริญสุข ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ การฝ่ าฟันอุปสรรคต่างๆ ความสำเร็จที่ได้รับ ตลอดจนการริเริ่มสร้างสรรค์ โครงการทางดนตรีใหม่ๆ ให้กับประเทศ บทที่ห้า กล่าวถึง การสร้างงานทางวิชาการดนตรี เช่น การจัดการแสดงดนตรี การผลิตหนังสือและตำราทางดนตรี และการสร้างงานวิจัยทางดนตรี เป็นต้น รวมทั้งนำเสนอเร่องราวของการ ขอตำแหน่งทางวิชาการของ ดร. สุกรี เจริญสุข และการนำมาถึงความมุ่งมั่นในการสร้างตำแหน่งศาสตราจารย์ศิลปินดนตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล ภาคผนวกท้ายเล่ม เป็นการรวบรวมผลงานต่างๆ และลำดับช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของ ดร. สุกรี เจริญสุข สะท้อนถึงความเป็นปราชญ์ทางดนตรีผู้เปี่ยมไปด้วยความหลักแหลมและสร้างสรรค์ในทุกๆ มิติ ทั้งการเป็น นักดนตรี นักเขียน และนักวิจัยดนตรี
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาชีวประวัติและผลงานของ ดร. สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล บันทึกเรื่องราวของพัฒนาการทางการดนตรีศึกษาของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารต่างๆ ใช้ช่วงเวลาในการศึกษาข้อมูล เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2552 เป้าหมายหลักของวิทยานิพนธ์นี้ คือ การแสดงทัศนคติ ปรัชญา และวิธีการฝ่าฟันอุปสรรคทางการพัฒนาการทางดนตรีศึกษาของประเทศไทย ตลอดจนการอภิปรายบทบาททางดนตรีด้านต่างๆ ของ ดร. สุกรี เจริญสุข ทั้งในฐานะอาจารย์ดนตรี ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ รวมทั้งสถาบันดนตรีต่างๆ ในสังกัดบทนำของวิทยานิพนธ์นี้ นำเสนอภาพรวมของชีวิตและทัศนคติตามจริง ของ ดร. สุกรี เจริญสุข บทที่หนึ่ง เริ่มถึงเรื่องราวชีวิตในวัยเด็กที่เติบโตท่ามกลางสังคมชนบท ครอบครัว และอุปสรรคในการศึกษาต่อทางดนตรีในระดับสูง ปรัชญาในการดำเนินชีวิต ความพากเพียรอุตสาหะ จนถึงความสำเร็จที่ได้รับในการศึกษาปริญญาเอกสาขาดนตรี ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเทินโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา บทที่สอง แสดงถึงความรักในการดนตรี ทั้งในฐานะนักแซ็กโซโฟนและผู้สร้างโอกาสทางการดนตรี ให้กับนักดนตรีอื่นๆ ได้แก่ การจัดตั้งวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย และความร่วมมือในการจัดประชุม แซกโซโฟนโลก บทที่สาม เป็นใจความสำคัญของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ กล่าวถึง การปฏิรูปการดนตรีศึกษาของประเทศไทยผ่านทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล การพัฒนาบุคลากรในการสอนดนตรีของชาติและการจัดโครงการวิจัยพรสวรรค์สร้างได้ บทที่สี่ ถ่ายทอดความฝันและจิตวิญญาณของผู้บริหารการศึกษาดนตรี นำเสนอแง่มุมเชิงลึกของ ดร. สุกรี เจริญสุข ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ การฝ่ าฟันอุปสรรคต่างๆ ความสำเร็จที่ได้รับ ตลอดจนการริเริ่มสร้างสรรค์ โครงการทางดนตรีใหม่ๆ ให้กับประเทศ บทที่ห้า กล่าวถึง การสร้างงานทางวิชาการดนตรี เช่น การจัดการแสดงดนตรี การผลิตหนังสือและตำราทางดนตรี และการสร้างงานวิจัยทางดนตรี เป็นต้น รวมทั้งนำเสนอเร่องราวของการ ขอตำแหน่งทางวิชาการของ ดร. สุกรี เจริญสุข และการนำมาถึงความมุ่งมั่นในการสร้างตำแหน่งศาสตราจารย์ศิลปินดนตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล ภาคผนวกท้ายเล่ม เป็นการรวบรวมผลงานต่างๆ และลำดับช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของ ดร. สุกรี เจริญสุข สะท้อนถึงความเป็นปราชญ์ทางดนตรีผู้เปี่ยมไปด้วยความหลักแหลมและสร้างสรรค์ในทุกๆ มิติ ทั้งการเป็น นักดนตรี นักเขียน และนักวิจัยดนตรี
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
College of Music
Degree Discipline
Music
Degree Grantor(s)
Mahidol University