การศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันโรคผิวหนัง

dc.contributor.advisorปิยธิดา ตรีเดช
dc.contributor.advisorสุคนธา ศิริ
dc.contributor.authorพิชชานันท์ ทองหล่อ
dc.date.accessioned2024-01-13T05:17:09Z
dc.date.available2024-01-13T05:17:09Z
dc.date.copyright2557
dc.date.created2567
dc.date.issued2557
dc.descriptionบริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันโรคผิวหนังกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถาบันโรคผิวหนัง อย่างน้อย 1 ปี จำนวน 227 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 14-30 ตุลาคม 2556 ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 227 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ร้อยละ 36.6 โดย ร้อยละ 48.9 มีประสบการณ์การทำงาน ณ สถาบันโรคผิวหนัง 1-5 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ร้อยละ 74.4 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 46.7 ปฏิบัติงานอยู่ในกลุ่มภารกิจวิชาการ ร้อยละ 48.9 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 56.0 การปฏิบัติตามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของเจ้าหน้าที่ในสถาบันโรคผิวหนังโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนค่านิยมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าข้อมูลทั่วไปได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมากกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของเจ้าหน้าที่ในสถาบันโรคผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.153, p-value = 0.021)ระดับการศึกษาประเภทการรับราชการและกลุ่มภารกิจที่ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของเจ้าหน้าที่ในสถาบันโรคผิวหนัง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ(p-value = 0.002, p-value = 0.044 และ p-value = 0.026 ตามลำดับ)และค่านิยมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของเจ้าหน้าที่ในสถาบันโรคผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.686, p-value < 0.001) จากการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ควรเสริมสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยเน้นการทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันกระตุ้นการผลิตผลงาน ส่งเสริมการทำวิจัยด้านบริหารบุคคลโดยศึกษาแต่ละประเภทการรับราชการประจำทุกปี เพื่อวิเคราะห์ลงลึกในปัญหาต่าง ๆสื่อสารบทบาทหน้าที่ขององค์การให้เจ้าหน้าที่รับทราบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานพัฒนาหน่วยงานแห่งความเป็นเลิศนำไปสู่สถาบันสุขภาพระดับชาติ
dc.description.abstractThe study was a cross-sectionaldescriptive research with the objective of studying the organizational citizenship behavior of thestaff of the Institute of Dermatology. The studied samples were 277 staff who had been working at the institute for not less than one year. Data was collected by using questionnaires during 14-30 October 2556. Therewere 227 sets of returned questionnaires (100%). Data was analyzed and presented with statistical percentage, mean, standard deviation, Pearson's Correlation Coefficient and Chi-square. The study found that the majority of the studied sample were < 30 year old (36.6%) ,had 1-5 year of working experience in the Institute (48.9%), had bachelor education or higher (74.4%) ,were civil servants (46.7%), working in technical task group (48.9%) and single (56.0%). The study found that the overall organizational citizenship behavior of the personnel was at a high level, the overall value was at ahigh level. Associational analysis found that personal characteristics (age) had very low level of association with organizational citizenship behavior with a statistical significance (r = 0.153,pvalue = 0.021). Education level, types ofemployment and working task group had associations with organizational citizenship behavior with a statistical significance (pvalue = 0.002, p-value = 0.044 and p-value = 0.026 consecutively) .Value had medium level of association with organizational citizenship behavior of the personnel of the Institute of Dermatology with a statistical significance (r = 0.686, p-value < 0.001). The research recommendationswere: there should be the strengthening of organizational citizenship behavior by emphasizingteam working, helping each other, motivation ofincreasing working performance,support for research in human resource management in different types of government employee,every year in order to understand various problems in depth, communicate about roles and functions of the organization to all personnel in order to modify the working behavior of the personnel and improve the organization to attain the status ofan excellent organization leading to the Health Institute at theNational Level.
dc.format.extentก-ญ, 120 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92602
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectพฤติกรรมองค์การ
dc.subjectวัฒนธรรมองค์การ
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันโรคผิวหนัง
dc.title.alternativeStudy of organizational citizenship behavior of the staff at the Institute of Dermatology
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd495/5437536.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineบริหารสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files