ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ซ, 139 แผ่น : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พัฒนาการมนุษย์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
กฤติณภัทร สุขเจริญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พัฒนาการมนุษย์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92536
Title
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Alternative Title(s)
Factors affecting development and academis achievement of Physical education in Prathom 6-students : a case study of a school in Chachoengsao province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 3 ห้องเรียน ที่ผ่านการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนแห่งนี้ รวมจำนวน 90 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียน มีความสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนรวมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา (ด้านอารมณ์ ความประพฤติเกเร สมาธิสั้น และความสัมพันธ์กับเพื่อน) แต่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมรายด้านที่เป็นปัญหา พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา ได้แก่ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง / สมาธิสั้น และพฤติกรรมเกเร / ความประพฤติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าดัชนีมวลกายที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงควรสนใจและให้ความสำคัญกับ การเรียนวิชาพลศึกษา และการประเมินสมรรถภาพทางกาย ทั้งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนระดับประถมศึกษาได้มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมที่สมวัย อย่างมีประสิทธิภาพ
The objective of this research was to study the relationship and factors affecting physical, mental and social developments, and physical education learning achievement of grade 6 students in a school in Chachoengsao Province. Questionnaire and physical fitness test were applied to collect data from 90 students from 3 classes studying in grade 6, semester 1, academic year 2559 B.E., and grade 5, academic year 2558 B.E. Sample group was recruited with purposive sampling method. Data were analyzed using percentage, mean average, frequency, standard deviation, T-test, One-way analysis of variance and correlation analysis. The study revealed that physical education learning achievement of the students had negative relation with total score of problematic behaviors (in term of their emotion, unruly behavior, attention deficit hyperactivity disorder or ADHD and relationship with their peers), but consideration of different aspects showed that physical education learning achievement was negatively related to hyperactivity/ADHD and unruly behavior statistically and significantly at .05. In addition, different body mass index also affected their physical fitness statistically and significantly at .05. In conclusion, it is suggested to pay attention and focus on physical education learning and physical fitness evaluation in order to promote and encourage physical, mental and social development among primary students
The objective of this research was to study the relationship and factors affecting physical, mental and social developments, and physical education learning achievement of grade 6 students in a school in Chachoengsao Province. Questionnaire and physical fitness test were applied to collect data from 90 students from 3 classes studying in grade 6, semester 1, academic year 2559 B.E., and grade 5, academic year 2558 B.E. Sample group was recruited with purposive sampling method. Data were analyzed using percentage, mean average, frequency, standard deviation, T-test, One-way analysis of variance and correlation analysis. The study revealed that physical education learning achievement of the students had negative relation with total score of problematic behaviors (in term of their emotion, unruly behavior, attention deficit hyperactivity disorder or ADHD and relationship with their peers), but consideration of different aspects showed that physical education learning achievement was negatively related to hyperactivity/ADHD and unruly behavior statistically and significantly at .05. In addition, different body mass index also affected their physical fitness statistically and significantly at .05. In conclusion, it is suggested to pay attention and focus on physical education learning and physical fitness evaluation in order to promote and encourage physical, mental and social development among primary students
Description
พัฒนาการมนุษย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Degree Discipline
พัฒนาการมนุษย์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล