การศึกษาแนวทางการนำระบบพี่เลี้ยง (mentoring system) มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายงานหลักของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
Issued Date
2555
Copyright Date
2555
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 255 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
Suggested Citation
สุริศา ไขว้พันธุ์ การศึกษาแนวทางการนำระบบพี่เลี้ยง (mentoring system) มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายงานหลักของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93677
Title
การศึกษาแนวทางการนำระบบพี่เลี้ยง (mentoring system) มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายงานหลักของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
Alternative Title(s)
Approach of potential legal officer development by the mentoring system : a case study of Office of the Council of State
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำระบบพี่เลี้ยง (MENTORING SYSTEM) มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายงานหลักของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผ่านองค์ประกอบ 7 ด้าน ดังนี้ (1) รูปแบบระบบพี่เลี้ยงในภาพรวม (2) บทบาทหน้าที่พี่เลี้ยง (3) การคัดเลือกพี่เลี้ยงและผู้ซึ่งจะอยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยง (4) การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ (5) การพัฒนาและฝึกอบรมพี่เลี้ยง (6) การส่งเสริม สนับสนุน และจูงใจพี่เลี้ยง และ (7) การติดตามประเมินผลโดยศึกษาความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ใช้เทคนิคการวิจัยแบบ DELPHI เพื่อให้ได้มาซึ่งฉันทามติของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ใช้การสัมภาษณ์ และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลข้อมูล ได้แก่ สถิติค่ามัธยฐาน (MEDIAN) และค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ (INTERQUARTILE RANGE) ผลการวิจัย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ศักยภาพที่ควรได้รับการพัฒนามี 4 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ ความสามารถ (2) ด้านทักษะในการทำงาน (3) ด้านนิสัยในการทำงาน และ (4) ด้าน กระบวนความคิดแบบ LEGAL MIND ส่วนแนวทางการนำระบบพี่เลี้ยงมาประยุกต์ใช้ผ่านองค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน พบว่า ในภาพรวมควรมีรูปแบบในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ เพื่อความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับลักษณะของงานที่มีความหลากหลายซับซ้อนและข้อจำกัดด้านเวลาและปริมาณที่มาก และนำมาใช้กับกลุ่มบุคลากรที่บรรจุใหม่ และกลุ่มที่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์การที่มีอยู่เดิม และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริม สนับสนุน และจูงใจพี่เลี้ยงมุ่งเน้นที่โอกาสพัฒนาเชิงวิชาการมากกว่าตัวเงิน โดยมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 0.00 - 1.00 มีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 4.00 - 5.00
Description
รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
รัฐประศาสนศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล