การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 127 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
กนกวรรณ เต็มโศภินกุล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92940
Title
การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Alternative Title(s)
The perception of organization support and commitment of Department of Juvenile Observation and Protection
Author(s)
Abstract
The objectives of this study were 1) to study the perceptions of organizational support and organizational commitment of civil officials, 2) to compare the differences between personal factors and the organizational commitment of civil officials, and 3) to study the relationship between the perceptions of organizational support and organizational commitment of civil officials. The sample consisted of civil officials in the DJOP, a total of 315 persons. Data was collected by questionnaire. The statistical methods used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, and correlation analysis. The results of the study were as follows: the overall average for the level of perceptions of organizational support was moderate, and the overall average for the organizational commitment was high. The results of differences comparison showed that the differences in genders, ages, educations and incomes were significantly different for organizational commitment. The results of correlation analysis showed that the perceptions of organizational support had a statistically significant positive correlation with the organizational commitment at the .01 level. The recommendations of the study are as follows: 1) specify a policy that allows the officials to have a positive attitude towards the evaluation of performance, 2) improve crucial roles of the superior officials explicitly, 3) create a satisfactory environment for working, and 4) policy designation of organizational development should consider the difference of personal factors to nurture workplace equality.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความ ผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การ ของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจำนวน 315 คน สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ ผลวิจัยพบว่าระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การของข้าราชการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน ช่วงอายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และรายได้ต่อเดือนที่มีความแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่าระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทางบวกในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ 1) ควรมีการกำหนดแนวนโยบายที่ช่วยให้ข้าราชการทุกระดับเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน 2) ปรับปรุงบทบาทของผู้บังคับบัญชาในการร่วมวางแผนงานและมอบหมายงานให้มีความชัดเจน 3) สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานเป็นหลักและ 4) การกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ ควรคำนึงถึงความแตกต่างของปัจจัยส่วน บุคคล เพื่อสร้างความเท่าเทียมและไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกัน
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความ ผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การ ของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจำนวน 315 คน สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ ผลวิจัยพบว่าระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การของข้าราชการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน ช่วงอายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และรายได้ต่อเดือนที่มีความแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่าระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทางบวกในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ 1) ควรมีการกำหนดแนวนโยบายที่ช่วยให้ข้าราชการทุกระดับเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน 2) ปรับปรุงบทบาทของผู้บังคับบัญชาในการร่วมวางแผนงานและมอบหมายงานให้มีความชัดเจน 3) สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานเป็นหลักและ 4) การกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ ควรคำนึงถึงความแตกต่างของปัจจัยส่วน บุคคล เพื่อสร้างความเท่าเทียมและไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกัน
Description
รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
รัฐประศาสนศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล