การสร้างบริบทใหม่ให้แก่ซิ่นตาหมี่ของชาวไทดำในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย

dc.contributor.advisorวีรานันท์ ดำรงสกุล
dc.contributor.advisorชิตชยางค์ ยมาภัย
dc.contributor.authorพิสุทธิลักษณ์ บุญโต
dc.date.accessioned2024-01-22T08:53:32Z
dc.date.available2024-01-22T08:53:32Z
dc.date.copyright2557
dc.date.created2567
dc.date.issued2557
dc.descriptionวัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ "ผ้าซิ่นตาหมี่" กับกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยผ่านแนวคิดเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม และศึกษากระบวนการรื้อฟื้นผ้าซิ่นตาหมี่จากการขาดช่วงการสืบทอดการทอและการใช้งานอย่างแพร่หลายไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยใช้แนวคิดเรื่องปรากฏการณ์โหยหาอดีต สัญวิทยา และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลเอกสารร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนามจากชาวไทดำ ที่มีความเกี่ยวข้องกับผ้าซิ่นตาหมี่ทั้ง ผู้ผลิต (ช่างทอ) และผู้บริโภค (ผู้ใช้งาน ผู้สะสม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า ผ้าซิ่นตาหมี่เป็นผ้านุ่งประเภทหนึ่งของผู้หญิงชาวไทดำ ที่บรรพบุรุษได้นำติดตัวมาพร้อมกับการถูกกวาดต้อนเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี พบข้อสันนิษฐานถึงความสำคัญของผ้าซิ่นตาหมี่ 4 ประการ คือ 1) อาจเป็นผ้านุ่งของผู้หญิงชาวไทดำ ที่มีความสำคัญพิเศษมากกว่าผ้าซิ่นชนิดอื่น ๆ 2) อาจเป็น ผ้าที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องชนชั้นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ 3) อาจเป็นผ้าที่ชาวไทดำ นำมาสวมใส่เฉพาะในโอกาส สำคัญ และใช้ในพิธีกรรม 4) อาจไม่ปรากฏการสืบทอดการทอภายในประเทศไทย ปัจจุบันพบหลักฐานผ้าซิ่นตา หมี่ที่มีรูปแบบและโครงสร้างในลักษณะเดียวกันแต่ต่างลวดลาย กระจัดกระจายในพื้นที่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งที่มีคุณค่าในการเป็นมรดก ทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีการส่งผ่านสื่อสาระความเชื่อบางประการในเรื่องบรรพบุรุษและแถนมายังปัจจุบัน สาหรับกระบวนการรื้อฟื้นผ้าซิ่นตาหมี่ที่เกิดขึ้นนั้น พบว่าชาวไทดำ เป็นกลุ่มคนหลักในการขับเคลื่อนผ่าน ปฏิบัติการสร้างบริบทใหม่ให้กับผ้าซิ่นตาหมี่ในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างบริบทใหม่ผ่านการผลิตหรือการทอ, การใช้งาน, การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูล และการสะสม ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการรื้อฟื้นดังกล่าวขึ้นคือสำนึกทางชาติพันธุ์และความรู้สึกโหยหาอดีตที่ก่อให้เกิดการแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ผ่านผ้าซิ่นตาหมี่
dc.description.abstractThis study was purposed to clarify the relation of sin ta-mee to the Tai Dam's ethnic cultural heritage and also explain the reanimation process by the concepts of cultural heritage, nostalgia, semiology and ethnic identity. These concepts were taken as a guideline for the study analysis. This study was processed under the methods of qualitative research, documentary research as well as direct experience from the Tai Dam ethnic group in western Thailand, whose life has been involved with sin ta-mee fabric for instance, manufacturers, weavers, consumers and fabric collectors. The information was gathered though interview and observation. The researcher has found that sin ta-mee is the ikat woven dress of Tai Dam, which their elders brought in while immigrating from Sip Song Chau Tai to Thailand in the Thonburi period about 200 years ago. The importance of the fabric could be assumed in 4 categories: 1) sin ta-mee might be the favorite and special dress of Tai Dam women, 2) it might refer to Tai Dam's social classes, 3) it might be typical fabric worn by Tai Dam people on special occasions, and 4) the fabric weaving might not be inherited in Thailand. There has been found evidence of sin ta-mee scattered in western Thailand which has the same form and pattern, but difference in design. These are the forms of historical evidence that could assume sin ta-mee as a cultural heritage with the worth of the original belief in 'Tan' and spirits of the ancestors. The reanimation process found that Tai Dam were the main people who were motivated though the re-contexture of sin ta-mee by weaving, usage, knowledge exchange and expansion as well as fabric collecting. The main factors of the reconstruction process include ethnic realization and nostalgia which could lead to a show of identity through sin ta-mee.
dc.format.extent[ก]-ญ, 186 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93431
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectผ้าไท
dc.subjectผ้า -- ไทย
dc.subjectโซ่ง -- ไทย (ภาคตะวันตก)
dc.subjectโส้ -- ไทย (ภาคตะวันตก)
dc.titleการสร้างบริบทใหม่ให้แก่ซิ่นตาหมี่ของชาวไทดำในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย
dc.title.alternativeThe recontextualization of Tai Dam's Sin Ta-Mee in Western Thailand
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp:///mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd484/5337877.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineวัฒนธรรมและการพัฒนา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files