พฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร : กรณีศึกษา เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

dc.contributor.advisorภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์
dc.contributor.advisorชุติมา แสงเงิน
dc.contributor.advisorวนิพพล มหาอาชา
dc.contributor.authorญันนะ โสมนัส
dc.date.accessioned2024-01-09T01:06:09Z
dc.date.available2024-01-09T01:06:09Z
dc.date.copyright2562
dc.date.created2562
dc.date.issued2567
dc.descriptionสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร 2) เพื่อทดสอบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร และ 3) เพื่อศึกษาการใช้แบบจาลองการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจรและปัญหาอุปสรรค โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ แม่บ้านหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลดขยะอาหารในครัวเรือน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร และทดสอบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร อีกทั้งทดสอบความแตกต่างของระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ก่อนและหลังการอบรมด้วยแบบสอบถาม รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกถึงปัญหาการใช้แบบจำลองการลดขยะอาหาร ครัวเรือนละ 1 คน จานวน 30 ครัวเรือน เพื่อศึกษาการใช้แบบจำลองการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนบครบวงจร ในระดับน้อย โดยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ บทบาทหน้าที่ในครัวเรือน และการรับข่าวเกี่ยวกับการลดขยะอาหาร ส่วนผลการศึกษาจากการใช้แบบจำลองการลดขยะอาหารในครัวเรือน พบว่า ระดับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร เพิ่มสูงขึ้นหลังจากได้รับการอบรม ส่วนปัญหาอุปสรรคในการลดขยะอาหาร ในครัวเรือนแบบครบวงจร พบว่า ขั้นตอนการวางแผนก่อนซื้อ การเก็บรักษา และการทำอาหาร มีการดาเนินการอยู่แล้ว ในกลุ่มที่ทำการศึกษา อาจมีความแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ในการทำอาหารของแต่ละครัวเรือน ส่วนในขั้นตอนการวางแผนก่อนซื้อ การทำอาหาร การแปรรูปอาหาร และการรีไซเคิลขยะอาหาร ไม่ค่อยได้มีการปฏิบัติมากนัก เนื่องจากไม่สอดคล้องกับรูปแบบการดาเนินชีวิตของคนในเขตพื้นที่เมือง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ ควรสร้างความรู้และความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องแบบจำลองการลดขยะในครัวเรือนแบบครบวงจรและผลกระทบที่ได้รับจากขยะอาหารที่เหลือทิ้งภายในครัวเรือน อีกทั้งควรมีการจัดอบรม หรือสร้างกิจกรรมให้ประชาชนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความตระหนักและเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบจำลองการลดขยะในครัวเรือนแบบครบวงจรอย่างเป็นรูปธรรม
dc.description.abstractThe purposes of this study were to 1) study level of integrated food waste reduction behaviors in household and 2) examine the differences between factors affecting those behaviors and 3) study the use of model of integrated food waste reduction behaviors in household, including its problems. The participants were housewives or people who related to the food waste reduction in household, 18 years and older and living in Pak Kred Municipal area. Data was collected using 400 questionnaires, studying the level of integrated food waste reduction behaviors in the household. Also, this research studied the problems of the use of the model of integrated food waste reduction behaviors in the household, studying the difference between the level of knowledge, attitude, and behaviors using pre and post-test concept and an interview with thirty participants were employed. The findings revealed that the level of integrated food waste reduction behaviors in household of participants was indicated at less level. There were significant differences in those behaviors at the 0.05 level of significance. The factors affecting them included age, educational background, occupation, role in the household, and the receiving news about food waste reduction. Furthermore, the level of knowledge, attitude, and integrated food waste reduction behaviors of participants were increased using the model of integrated food waste reduction behaviors in the household. For the problems in reducing food waste in the household, the participants already conducted these stages such as the planning before buying, storing, and cooking that might have some differences depending on the skills and experience of cooking in each household. Besides, they rarely practiced the stages of planning before buying, cooking, processing, and recycling due to inconsistency with the urban lifestyle. The recommendations from the findings were to provide knowledge and understanding of the model of integrated food waste reduction behaviors in the household to the people, including the impacts of food waste created. Moreover, there should also be the creation of training activities which will cultivate awareness and make a better understanding of the people about steps for implementing this model.
dc.format.extentก-ฏ, 183 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92023
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการกำจัดขยะ -- ไทย -- นนทบุรี
dc.subjectขยะและการกำจัดขยะ -- ไทย -- นนทบุรี
dc.titleพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร : กรณีศึกษา เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
dc.title.alternativeIntegrated food waste reduction behaviors in households : A case study of Pakkret municipality, Nonthaburi province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/548/5738451.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files