Effects of relaxation music on recovery period
Issued Date
2011
Copyright Date
2011
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 106 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Sports Science))--Mahidol University, 2011
Suggested Citation
Prompatsorn Pattanapornchai Effects of relaxation music on recovery period. Thesis (M.Sc. (Sports Science))--Mahidol University, 2011. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94991
Title
Effects of relaxation music on recovery period
Alternative Title(s)
ผลของเพลงผ่อนคลายต่อช่วงการฟื้นตัว
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การฟื้นตัวที่สมบูรณ์หรือการพักอย่างแท้จริง (การฟื้นตัวที่มีประสิทธิภาพในระยะเวลาพักสั้นๆ) เป็นสิ่งที่ จำเป็นอย่างยิ่งในระหว่างเกมการแข่งขัน หรือการออกกำลังกายที่ต้องทำซ้ำ ๆ จุดประสงค์การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของดนตรี ผ่อนคลายต่อช่วงการฟื้นตัวและกลับคืนสู่ภาวะปกติ ของอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ความดันโลหิต สภาวะ อารมณ์ และประสิทธิภาพของการออกกำลังกายจนล้าในครั้งที่ 2 ทดสอบในผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและมีการออกกำลัง กายอย่างสม่ำเสมอ (3-5 ครั้ง/สัปดาห์) ทั้งชายและหญิง จำนวน 12 คน ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 สภาวะของช่วงการฟื้นตัว 15 นาที (โดยวิธีการสุ่มเลือก) คือ พักพร้อมกับฟังเพลงผ่อนคลายที่ให้ผลของเพลงผ่อนคลาย หลังจากการออกกำลังกายจนล้า พักพร้อมกับฟังเพลงที่ชอบหลังจากการออกกำลังกายจนล้าและพักโดยไม่ฟังเพลงหลังหารออก กำลังกายจนล้า โดยพัก 15 นาที ทั้ง 3 สภาวะ; ออกกำลังกายด้วยบรูเนลจนกระทั่งล้าที่ 85-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจ สูงสุด วัดและพิจารณาค่าของอัตราการเต้นหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และสภาวะทางอารมณ์ทันทีหลังจากการออก กำลังกายจนล้าและวัดค่าอีกครั้งหลังจากฟังเพลงทั้ง 3 ชนิด จากนั้นให้นั่งพักจนกระทั่งอัตราการเต้นของหัวใจกลับมาสู่±10 RHR (บันทึกเวลาโดยเปรียบเทียบทั้ง3สภาวะ) หลังจากนั้นให้ออกกำลังกายในครั้งที่ 2 ด้วยบรูเนลจนกระทั่งล้าที่ 85-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (บันทึกเวลาโดยเปรียบเทียบทั้ง3สภาวะ) โดยอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ สภาวะทางอามรมณ์ ในช่วงพัก15 นาที พิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นต์ของอัตราการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมของ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ สภาวะอารมณ์วัดโดยแบบวัดทางอารมณ์ของบรูเนล (พิจารณาความล้า) แต่ละสภาวะทำอาทิตย์ละครั้ง ANOVA วิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ ช่วงระยะเวลาการฟื้น ตัว ระยะเวลาของการออกกำลังกายครั้งที่2 และ Wilcoxon Signed Rank Test วิเคราะห์สภาวะทางอารมณ์ จากการสรุปและ อภิปรายผลแสดงว่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจ และความล้าเมื่อวัดด้วยแบบทดสอบ ทางอารมณ์มีค่าสูงขึ้นเมื่อได้รับเพลงผ่อนคลาย ซึ่งมีค่ามากกว่าการไม่ฟังเพลง และการฟังเพลงที่ชอบ ได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05; Mean HRR ± SD =86.92±3.71, p<0.05; Mean RR ± SD =13.42±1.01, p<0.05; Mean Fatigue ± SD =12.71 ± 0.3 min) เพลงผ่อนคลายทำให้ช่วงการฟื้นตัวใช้เวลาสั้นกว่าการไม่ฟังเพลงและการฟังเพลงที่ชอบ และเพลงผ่อนคลายยังทำให้ ระยะเวลาของการออกกำลังกายครั้งที่ 2 จนล้า ออกกำลังกายได้นานกว่าการออกกำลังกายในครั้งที่ 1 จนล้า (p<0.05; Mean time to ±10 RHR ± SD =18.12±0.17, p<0.05; Mean Duration of second exercise ± SD = 13.45±0.172) จากงานวิจัยสนับสนุนว่า เพลงผ่อนคลายเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยในการฟื้นตัวให้เกิดการฟื้นตัวที่มีการพักฟื้นอย่างแท้จริง ทำให้เกิดการหายล้าอย่าง สมบูรณ์อีกวิธีการหนึ่ง เป็นตัวเพิ่ม ส่งเสริม และสนับสนุการฟื้นตัวของระบบต่างๆของร่างกายจากความล้าความโดยผ่านทาง อารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นคล้อยตามทำนองและจังหวะของเพลงที่ฟัง
Description
Sports Science (Mahidol University 2011)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
College of Sports Science and Technology
Degree Discipline
Sports Science
Degree Grantor(s)
Mahidol University