ผลของการรับประทานข้าวกล้องต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและอินซูลิน ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Issued Date
2557
Resource Type
Language
tha
Call No.
W 3 ก482ห ครั้งที่ 2 2557 ฉ.2 [LICL]
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Physical Location
Central Library
Suggested Citation
วันทนีย์ เกรียงสินยศ, อัจจิมา วังทอง, เนริสา วงศ์เลิสประยูร (2557). ผลของการรับประทานข้าวกล้องต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและอินซูลิน ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/30022
Title
ผลของการรับประทานข้าวกล้องต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและอินซูลิน ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Alternative Title(s)
Effect of brown rice on blood glucose and insulin in elderly with type 2 diabetes
Other Contributor(s)
Abstract
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้าวที่ผ่านการขัดสี (ข้าวขาว) มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ขณะที่ข้าวกล้องซึ่งเป็นธัญพืชทั้งเมล็ดมีใยอาหารมากกว่าและมีผลต่อการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคข้าวขาวในมื้ออาหารที่มีปริมาณใยอาหารเพิ่มขึ้นที่ไม่แตกต่างจากปริมาณใยอาหารในมื้ออาหารที่เป็นข้าวกล้องจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลเหมือนกันหรือไม่ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและอินซูลินหลังอาหารในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานจำนวน 22 คน หลังจากรับประทานอาหารมื้อเช้าที่ประกอบด้วยข้าวกล้องเปรียบเทียบกับข้าวขาวโดยการสุ่ม โดยข้าวที่ศึกษาเป็นข้าวที่ได้จากการเพาะปลูกครั้งเดียวกัน ชุดอาหารมื้อเช้าทั้งข้าวขาวและข้าวกล้องมีคุณค่าทางโภชนาการเท่ากัน โดยมีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายนำไปใช้ได้ 43.7 กรัม และใยอาหาร 2 กรัม เท่ากัน ผลการศึกษาพบว่าชุดอาหารเช้าข้าวกล้องมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารน้อยกว่าข้าวขาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 120 และ 180 นาที และมีผลต่อระดับอินซูลินน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 120 นาที พื้นที่ใต้กราฟของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานชุดอาหารเช้าข้าวกล้องมีค่าต่ำกว่าชุดอาหารที่ประกอบด้วยข้าวขาวร้อยละ 28 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพื้นที่ใต้กราฟของการเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลินในเลือดมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 6 ผลที่พบนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างของระดับ gelatinization ของข้าวขาวและข้าวกล้องหุงสุกปริมาณของกรดไฟติก โพลีฟีนอลและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ อื่นๆที่มีปริมาณมากกว่าในข้าวกล้องอาจมีส่วนทำให้การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลและอินซูลินที่น้อยกว่าด้วย สรุปข้าวกล้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์กับผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าข้าวขาว
Rice is a staple food for Thai and Southeast Asian population. Milled rice known as refined carbohydrate has high glycemic index, whereas brown rice as a whole grain with higher dietary fiber produces low glycemic responses. It is not known whether menu of milled rice with increased dietary fiber equal to the menu of brown rice would provide the same glycemic response. Therefore, this study determined postprandial blood glucose and insulin response of 22 type 2 diabetic elderly volunteers to breakfast containing brownrice compared to milled rice from the same batch as a randomized crossover design. The two test breakfast meals had the same nutritive value including 43.7 g of available carbohydrate and 2 g of dietary fiber. The results revealed that breakfast contained brown rice significantly lower the increment of postprandial glucose (at 120 and 180 min) and insulin (at 120 min) levels. The incremental area under the curve(iAUCs) glucose after brown rice was reduced significantly by 28 % as compared to the milled rice. The same trend of brown rice’s iAUCs insulin after brown rice was 6% loweras compared to the milled rice.This might be due to the difference in degree of gelatinzation of cooled brown and white rice. The higher amounts of phytic acid, polyphenols and other bioactive compounds in brown rice may also contribute to lower glycemic and insulin response observed in this study. In conclusion, brown rice is a more healthbeneficial food for diabetics and hyperglycemic individuals than milled rice.
Rice is a staple food for Thai and Southeast Asian population. Milled rice known as refined carbohydrate has high glycemic index, whereas brown rice as a whole grain with higher dietary fiber produces low glycemic responses. It is not known whether menu of milled rice with increased dietary fiber equal to the menu of brown rice would provide the same glycemic response. Therefore, this study determined postprandial blood glucose and insulin response of 22 type 2 diabetic elderly volunteers to breakfast containing brownrice compared to milled rice from the same batch as a randomized crossover design. The two test breakfast meals had the same nutritive value including 43.7 g of available carbohydrate and 2 g of dietary fiber. The results revealed that breakfast contained brown rice significantly lower the increment of postprandial glucose (at 120 and 180 min) and insulin (at 120 min) levels. The incremental area under the curve(iAUCs) glucose after brown rice was reduced significantly by 28 % as compared to the milled rice. The same trend of brown rice’s iAUCs insulin after brown rice was 6% loweras compared to the milled rice.This might be due to the difference in degree of gelatinzation of cooled brown and white rice. The higher amounts of phytic acid, polyphenols and other bioactive compounds in brown rice may also contribute to lower glycemic and insulin response observed in this study. In conclusion, brown rice is a more healthbeneficial food for diabetics and hyperglycemic individuals than milled rice.
Description
หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกครั้งที่ 2 เรื่อง การแพทย์ผสมผสานและการสร้างเสริมสุขภาพ Integrative and preventive medicine : การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 2 วันที่ 2 เมษายน 2557 ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม. หน้า 202-219