NU-Proceeding Document
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/138
Browse
Recent Submissions
Item Open Access การพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมและสั่งซื้อโปรแกรม INMUCAL-Nutrients(2561) อาริสา กีรติจำเริญ; พรรณี พรประชานุวัฒน์; ณัฐรัตน์ ศรีสังวาลย์; Arisa Keeratichamroen; Punnee Ponprachanuvut; Nuttarat Srisangwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันโภชนาการโปรแกรมคำนวณคุณค่าสารอาหาร INMUCAL-Nutrients ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันโภชนาการ เป็นโปรแกรมที่เก็บรวบรวมฐานข้อมูลคุณค่าสารอาหารของอาหารไทยและสามารถคำนวณคุณค่าสารอาหารได้ถูกต้องและรวดเร็ว สถาบันมีการจัดโครงการอบรมการใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrients ในการประเมินการบริโภคอาหารแก่ผู้สนใจ ให้สามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง แต่เนื่องจากขั้นตอนการลงทะเบียนที่ผ่านมามีหลายขั้นตอน ทำให้ผู้สมัครเกิดความไม่สะดวก เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูลจากใบสมัครให้อยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่จัดอบรมไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้สมัครได้ทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการเตรียมการอบรมลดลง ทีมวิจัยเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงสนใจที่จะพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมและสั่งซื้อโปรแกรม INMUCAL-Nutrients ให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ระบบการลงทะเบียนแบบออนไลน์ ซึ่งพบว่าผู้สมัครสามารถลงทะเบียนได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ระบบสามารถรายงานผลได้ทันทีเมื่อมีการสมัครและจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังพบว่าหลังการพัฒนาระบบทำให้มีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นถึง 67.33%Item Open Access การใช้งานบทเรียนออนไลน์ Small Private Online Course(SPOC) ในการเสริมสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ของนักศึกษาโภชนาการและการกำหนดอาหาร(2561) ฐนิต วินิจจะกูล; สุดารัตน์ เชื้อพรหม; นิภาพรรณ ศรแก้ว; วันทนีย์ เกรียงสินยศ; Thanit Vinitchagoon; Sudarat Chuarphom; Nipaphan Sornkaew; Wantanee Kriengsinyos; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันโภชนาการการศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิด flipped classroom กับการเรียนการสอนรายวิชาด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์สำหรับนักศึกษาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เพื่อตอบโจทย์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่ต้องการให้ปรับปรุงรายวิชาในส่วนของการเข้าถึงแหล่งสืบค้นข้อมูล และความสอดคล้องของเนื้อหารายวิชากับจำนวนชั่วโมงเรียน ร่วมกับการเพิ่มกิจกรรม การเรียนรู้ในชั่วโมงเรียนแบบ active learning โดยมีการออกแบบรายวิชาใหม่ ก่อนจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยใช้ระบบ Small Private Online Course (SPOC) ของ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUxDev) เป็นตัวช่วยในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีแนวโน้มที่จะพึงพอใจในรายวิชาเพิ่มมากขึ้นกว่าปีการศึกษาก่อนหน้า และเมื่อเข้าฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ก็ พบว่าอาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษามีแนวโน้มที่จะพึงพอใจต่อความสามารถของนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นกว่าปีการศึกษาก่อนหน้าเช่นกัน การศึกษานี้จึงเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการ สอนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่อาจนำไปขยายผลสู่รายวิชาอื่น ๆ ได้ในอนาคตItem Open Access INMU-DailymenuPlan (iDP) online ระบบวางแผนการจัดสำหรับอาหารรายวัน(2561) พรรณี พรประชานุวัฒน์; ณัฐรัตน์ ศรีสังวาลย์; อาริสา กีรติจำเริญ; กันตนิจญ์ ชำมริ; Punnee Ponprachanuvut; Nuttarat Srisangwan; Arisa Keeratichamroen; Kantanit Chamri; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันโภชนาการปัจจุบันแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตของประชากรไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยจากการสำรวจปีพ.ศ. 2561 พบว่า 61.1% จากผู้ตอบใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ย 3.06 ชั่วโมง/วัน 30.8% มีปริมาณการใช้เท่าเดิม และมีเพียง 8.1% ที่ใช้ลดลง เฉลี่ยที่ 2.24 ชั่วโมง/วัน ประกอบกับจุดแข็งทางด้านฐานข้อมูลสารอาหารของ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาระบบการตรวจสอบและปรับปรุงคุณค่าอาหารสำหรับการบริโภคอาหารอย่างง่ายสำหรับบุคคลปกติทั่วไป (อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป) ซึ่งก็คือ INMU-DailymenuPlan (iDP) online ระบบวางแผนการจัดสำรับอาหารรายวัน(http://www.inmu2.mahidol.ac.th/inmucal/idp/login.aspx) ซึ่งสามารถแสดงคุณค่าสารอาหารได้ 14 รายการ และสามารถแสดงค่าพลังงานจากกิจวัตรประจำวันที่ทำได้ โดยใช้งานระบบบนเบราว์เซอร์ต่าง ๆ ในทุกอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และไม่มีค่าธรรมเนียมในการใช้ระบบ โดยระบบ iDP ได้มีการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ประเภท วรรณกรรม ลักษณะงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว อีกทั้งยังเป็นต้นแบบในการพัฒนาแอพพลิเคชันต่าง ๆ ด้านอาหารและโภชนาการของสถาบันโภชนาการบนระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนต่อไปItem Open Access บทเรียนออนไลน์เรื่องการจัดฐานอาหารหวานมันเค็ม(2561) ณัฐรัตน์ ศรีสังวาลย์; สืบพงษ์ กอวชิรพันธ์; พรรณี พรประชานุวัฒน์; กันตนิจญ์ ชำมริ; อาริสา กีรติจำเริญ; พัศมัย เอกก้านตรง; พัศมัย เอกก้านตรง; จรณะ ทรัพย์สุวรรณ; อำนาจ สมใจ; Nuttarat Srisangwan; Sueppong Gowachirapant; Punnee Ponprachanuvut; Kantanit Chamri; Arisa Keeratichamroen; Pasamai Egkantrong; Pasamai Egkantrong; Charana Sabsuwarn; Amnat Somjai; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันโภชนาการปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริโภคอาหาร ดังนั้นเพื่อเพิ่มความตระหนักความเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงของการกินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินข้อแนะนำจะเป็นการจุดประกายให้ เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมได้ ทั้งนี้หน่วยโภชนาการชุมชน สถาบันโภชนาการได้สะสมประสบการณ์การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฐานการเรียนรู้กินพอดี ชีวีมีสุข และในปี 2558 ได้นำร่องศึกษาและพัฒนารูปแบบการ ฝึกอบรม ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุจึงมีแนวคิดที่จะนำคู่มือการจัดฐานอาหารและถอดบทเรียนประสบการณ์การจัด อบรมมาจัดทำเป็นสื่ออิเลคทรอนิคส์และนำมาแสดงบนเว็บไซต์ http://www.inmu.mahidol.ac.th/eTraining เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ดูแลหรือให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุ เช่น ญาติ บุคคลใกล้ชิดอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นที่สามารถเข้าถึงการใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตได้Item Open Access ผลของการรับประทานข้าวกล้องต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและอินซูลิน ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2(2557) วันทนีย์ เกรียงสินยศ; อัจจิมา วังทอง; เนริสา วงศ์เลิสประยูร; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันโภชนาการข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและคนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้าวที่ผ่านการขัดสี (ข้าวขาว) มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ขณะที่ข้าวกล้องซึ่งเป็นธัญพืชทั้งเมล็ดมีใยอาหารมากกว่าและมีผลต่อการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคข้าวขาวในมื้ออาหารที่มีปริมาณใยอาหารเพิ่มขึ้นที่ไม่แตกต่างจากปริมาณใยอาหารในมื้ออาหารที่เป็นข้าวกล้องจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลเหมือนกันหรือไม่ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและอินซูลินหลังอาหารในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานจำนวน 22 คน หลังจากรับประทานอาหารมื้อเช้าที่ประกอบด้วยข้าวกล้องเปรียบเทียบกับข้าวขาวโดยการสุ่ม โดยข้าวที่ศึกษาเป็นข้าวที่ได้จากการเพาะปลูกครั้งเดียวกัน ชุดอาหารมื้อเช้าทั้งข้าวขาวและข้าวกล้องมีคุณค่าทางโภชนาการเท่ากัน โดยมีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายนำไปใช้ได้ 43.7 กรัม และใยอาหาร 2 กรัม เท่ากัน ผลการศึกษาพบว่าชุดอาหารเช้าข้าวกล้องมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารน้อยกว่าข้าวขาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 120 และ 180 นาที และมีผลต่อระดับอินซูลินน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 120 นาที พื้นที่ใต้กราฟของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานชุดอาหารเช้าข้าวกล้องมีค่าต่ำกว่าชุดอาหารที่ประกอบด้วยข้าวขาวร้อยละ 28 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพื้นที่ใต้กราฟของการเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลินในเลือดมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 6 ผลที่พบนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างของระดับ gelatinization ของข้าวขาวและข้าวกล้องหุงสุกปริมาณของกรดไฟติก โพลีฟีนอลและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ อื่นๆที่มีปริมาณมากกว่าในข้าวกล้องอาจมีส่วนทำให้การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลและอินซูลินที่น้อยกว่าด้วย สรุปข้าวกล้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์กับผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าข้าวขาวItem Open Access ผลของเครื่องดื่มเสริมพลังงานและโปรตีนต่อการชะลอการลดจำนวนเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีรักษา(2556) พรรนิดา ศรีนวลดี; วันทนีย์ เกรียงสินยศ; สุนาฏ เตชางาม; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันโภชนาการวัตถุประสงค์และวิธีการ การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัดเกิดผลข้างเคียงที่ส่ง ผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยได้ เนื่องจากการรักษามีผลทำให้รับประทานอาหารลดลง การย่อยและการดูดซึมสารอาหารเปลี่ยนไป และยังมีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงด้วย ส่งผลให้แผนการรักษาไม่ต่อเนื่อง การเสริมอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงให้ผู้ป่วยเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยป้องกันภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมเครื่องดื่มพลังงานและโปรตีนสูงต่อการชะลอการลดลงของปริมาณเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา แผนการวิจัยผ่านการพิจารณาจริยธรรมการดำเนินวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าและโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะ 2 และ 3 ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีจำนวน 26 คนเข้าร่วมโครงการในกลุ่มทดลอง (Smoothy Drink, SM) ซึ่งได้รับเครื่องดื่มสมูตตี้ที่มีพลังงาน 375 กิโลแคลอรี และโปรตีน 31กรัม วันละ 1 แก้ว (220 มิลลิลิตร) ทุกวันที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลตลอดระยะเวลาการรักษาประมาณ 1.5 เดือน สำหรับกลุ่มควบคุม (Control, CO) เป็นผู้ป่วยที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มทดลองแต่ไม่ได้รับเครื่องดื่มสมูตตี้ จำนวน 11 คน ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับเครื่องดื่มสมูตตี้มีแนวโน้มของน้ำหนักตัวลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยเห็นผลค่อนข้างชัดเจนในสัปดาห์ที่ 4-6 กล่าวคือกลุ่ม SM มีน้ำหนักลดลงจากเดิม (% weight change) ร้อยละ 2.9-3.8 ขณะที่กลุ่ม CO มีน้ำหนักลดลงจากเดิมร้อยละ 5.1-5.6 ปริมาณเม็ดเลือดขาว Lymphocyte เริ่มต้นของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ปริมาณของ Lymphocyte ลดลงเรื่อยๆ ระหว่างที่ได้รับการรักษาโดยที่กลุ่ม SM มีแนวโน้มของการลดลงน้อยกว่าอย่างชัดเจนตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 เป็นต้นไป โดยพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 4 (15.2 % ในกลุ่ม SM เทียบกับ 8.9 % ในกลุ่ม CO) สรุปผลการวิจัย การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการได้รับเครื่องดื่มสมูตตี้ที่มีพลังงานและโปรตีนสูงสามารถชะลอการลดลงของเม็ดเลือดขาวและน้ำหนักตัวของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระหว่างที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีItem Open Access Edible insects in Thailand: nutritional values and health concerns(2008) Jintana Yhoung-aree; Patrick B.Durst; Dennis B. Johnson; Robin N. Leslie; Kenichi Shono