Radiotherapy workflow and document management by CarePaths
dc.contributor.author | วิศวะ พงษ์ประพันธ์ | |
dc.contributor.author | Wisawa Phongprapun | |
dc.date.accessioned | 2023-11-21T03:18:58Z | |
dc.date.available | 2023-11-21T03:18:58Z | |
dc.date.created | 2566-11-21 | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.description | ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 177-178 | |
dc.description.abstract | สาขาวิชารังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา มีหน้าที่หลักตามพันธกิจของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยหนึ่งในหน้าที่หลักของสาขาวิชาฯ คือ การให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยการฉายรังสีด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยได้ มาตรฐาน ผู้ป่วยได้รับรังสีที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โดยมีผู้ป่วยมารับบริการปีละ 2000-2500 คน ซึ่งการให้บริการดังกล่าวมี กระบวนการทำงานมีหลายขั้นตอนและต้องอาศัยการทำงานประสานกันของ ทีมที่เกี่ยวข้อง จึงส่งผลให้มีโอกาสผิดพลาดในการส่งต่อกระบวนการรักษา ซึ่ง อาจทำให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาล่าช้า โดยทีมของการทำงานของ สาขาวิชาฯ ประกอบด้วยบุคลากรหลัก 4 วิชาชีพเฉพาะ ได้แก่ แพทย์รังสี รักษา นักฟิสิกส์การแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และพยาบาล ซึ่งจาก กระบวนการในการทำงานที่มีหลากหลายขั้นตอนตามลำดับ ซึ่งเป็น กระบวนการที่ซับซ้อน ส่งผลให้มีปัญหาในการส่งต่องานและการสื่อสาร ระหว่างบุคลากร อีกทั้งยังไม่สามารถติดตามขั้นตอนในการทำงานว่าถึงลำดับ ขั้นตอนใดได้จึงทำให้เกิดความสับสนในกระบวนการทำงาน ส่งผลต่อผู้ป่วยที่ อาจไม่ได้รับการรักษาตามเวลาที่เหมาะสม ทำให้ผลการรักษาไ ม่มี ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังใช้ทรัพยากรเอกสารเป็นจำนวนมากในผู้ป่วยแต่ละราย และการเก็บข้อมูลในเชิงสถิติเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลา ค่อนข้างนาน จากที่กล่าวมาข้างต้น สาขาวิชารังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้พัฒนาโดยการใช้ระบบ software ติดตาม ขั้นตอนของกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้สามารถติดตามได้ว่าผู้ป่วยอยู่ในช่วงใดของกระบวนการวางแผนและรักษาด้วยรังสี (CarePaths) เพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรของสาขาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ เกิดความผิดพลาดในแต่ละขั้นตอน อีกทั้งยังช่วยลดทรัพยากรด้านเอกสารของ หน่วยงาน และสามารถเก็บข้อมูลสถิติได้รวดเร็ว ถูกต้องมากขึ้น และยัง ต้องการพัฒนาเพื่อให้สู่มาตรฐานสากลของรังสีรักษา เรียกว่า Quality Assurance Team for Radiation Oncology (QUATRO) สาขาวิชารังสีรักษา จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นมา เพื่อ ตอบสนองจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพของคณะแพทย์ฯตามยุทธศาสตร์ที่1 การ ปฏิรูปเพื่ออนาคต เป็นกลยุทธ์ในการจัดทำโครงการ เพื่อสร้างนวัตกรรมใน การให้การฉายรังสีภายในสาขามีประสิทธิภาพ ปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงเป็น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางสถิติเพื่อการบริหารและการติดตามต่อไป | |
dc.format.extent | 2 หน้า | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91093 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | CarePaths | |
dc.subject | workflow | |
dc.subject | รังสีรักษา | |
dc.subject | Mahidol Quality Fair | |
dc.title | Radiotherapy workflow and document management by CarePaths | |
dc.type | Proceeding Abstract | |
dcterms.accessRights | metadata only access | |
oaire.citation.endPage | 178 | |
oaire.citation.startPage | 177 | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชารังสีวิทยา | |
oairecerif.event.country | นครปฐม | |
oairecerif.event.name | ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L” | |
oairecerif.event.place | อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล |
Files
Original bundle
1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
- Name:
- si-pc-wisawa-2564.pdf
- Size:
- 830.8 KB
- Format:
- Adobe Portable Document Format