ปัจจัยความสำเร็จในการก่อตั้งงานสุขภาพจิตโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 141 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
จุฑามาศ อึ้งอำพร ปัจจัยความสำเร็จในการก่อตั้งงานสุขภาพจิตโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92520
Title
ปัจจัยความสำเร็จในการก่อตั้งงานสุขภาพจิตโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Success factors for establishment of school mental health program in Bangkok metropolitan schools
Author(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการ วิธีดำเนินการและปัจจัยความสาเร็จในการก่อตั้งโครงการสุขภาพจิตโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากโรงเรียนตัวอย่าง 2 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยใช้วิธีแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการสุขภาพจิตโรงเรียน จำนวน 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มคณะผู้ก่อตั้งโครงการ 6 คน กลุ่มบุคลากรในโรงเรียน 20 คน และกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน 60 คู่ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสารของโครงการสุขภาพจิตโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดการดำเนินโครงการสุขภาพจิตโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1) การมีนักจิตวิทยาโรงเรียนปฏิบัติงานในโรงเรียน ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมต่องานสุขภาพจิตโรงเรียน ทั้งนี้นักจิตวิทยาโรงเรียนถือเป็นบุคคลสำคัญในการเชื่อมโยงการดำเนินงาน ระหว่างโรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ 2) การส่งจิตแพทย์เด็กเข้าไปในโรงเรียน เพื่อประเมินคัดกรอง พัฒนาส่งเสริม และดูแลรักษาสุขภาพจิตนักเรียน 3) การร่วมวิเคราะห์และวางแผนการดูแลนักเรียนผ่านกระบวนการจัดประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างสหวิชาชีพ (case conference) 4) การส่งเสริมให้ครูเกิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานร่วมกับนักจิตวิทยาโรงเรียน รวมทั้งการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตเด็กและ วิธีการจัดการในชั้นเรียน ปัจจัยสุดท้าย 5) การได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจาก สังกัดกรุงเทพมหานครเอง หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถือเป็นจุดเด่นของ โครงการสุขภาพจิตโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่ทาให้การขับเคลื่อนงานตรงตามเป้าหมายและประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำ ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด
The objective of this research was to study the school mental health (SMH) program in Bangkok metropolitan schools and to provide the success factors of the effectiveness of the program. A qualitative research was used in this study using in-depth interview, non-participatory observation and a review of the program's document. Key informants included 6 members of SMH team, 20 school staff and 60 pairs of student and their parents. Results showed that success factors of SMH program included: 1) a school psychologist works at school collaboratively with students, parents and all staff in school, hospital and other institutes that was related, 2) a child and adolescent psychiatrist provides a service in school, 3) a multidisciplinary case conference was set in the school setting to discuss and plan for a child's problem, 4) all school staff were coached about mental health problem in child by professional in SMH team. Moreover, they were trained while working together with a school psychologist, the last factor, 5) a fund for SMH program could be supported by the Bangkok metropolitan administration, government agency or private agency. These factors were identified as the strength of SMH program in Bangkok metropolitan schools, so these are the key factors of SMH program effectiveness.
The objective of this research was to study the school mental health (SMH) program in Bangkok metropolitan schools and to provide the success factors of the effectiveness of the program. A qualitative research was used in this study using in-depth interview, non-participatory observation and a review of the program's document. Key informants included 6 members of SMH team, 20 school staff and 60 pairs of student and their parents. Results showed that success factors of SMH program included: 1) a school psychologist works at school collaboratively with students, parents and all staff in school, hospital and other institutes that was related, 2) a child and adolescent psychiatrist provides a service in school, 3) a multidisciplinary case conference was set in the school setting to discuss and plan for a child's problem, 4) all school staff were coached about mental health problem in child by professional in SMH team. Moreover, they were trained while working together with a school psychologist, the last factor, 5) a fund for SMH program could be supported by the Bangkok metropolitan administration, government agency or private agency. These factors were identified as the strength of SMH program in Bangkok metropolitan schools, so these are the key factors of SMH program effectiveness.
Description
จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Degree Discipline
จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล