หลักสิทธิมนุษยชนภายใต้อุดมการณ์ของรัฐไทย : กรณีศึกษาแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และ 2551
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 214 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ภาวัต ผ่องใส หลักสิทธิมนุษยชนภายใต้อุดมการณ์ของรัฐไทย : กรณีศึกษาแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และ 2551. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92723
Title
หลักสิทธิมนุษยชนภายใต้อุดมการณ์ของรัฐไทย : กรณีศึกษาแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และ 2551
Alternative Title(s)
The concept of human rights under the ideology of that state : an examination of civic education textbook of B.E.2544 and 2551 curriculum
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการถ่ายทอดอุดมการณ์ของรัฐไทยและหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านแบบเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และ 2551 เพื่อศึกษาการปรากฏตัวของอุดมการณ์ของรัฐไทยและเนื้อหาสิทธิมนุษยชนผ่านแบบเรียนหน้าที่พลเมือง ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แหล่งข้อมูลจากแบบเรียนหลักสูตรการศึกษา และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตแบบเรียน จากการศึกษาพบว่า แม้หลักสิทธิมนุษยชนจะถูกถ่ายทอดอย่างเป็นทางการในแบบเรียนหน้าที่พลเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่ายังขาดน้ำหนักในการสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เนื่องจากทั้งเนื้อหาแบบเรียน ผู้เขียนแบบเรียน และกระบวนการจัดทำแบบเรียน ยังตกอยู่ภายใต้อุดมการณ์ของรัฐไทยที่ไม่ได้สอดรับเป็นเนื้อเดียวกับสิทธิมนุษยชน และถึงแม้ว่าภาคเอกชนจะเข้ามามีส่วนในการพัฒนาแบบเรียนมากขึ้น พัฒนาการของหลักสิทธิมนุษยชนในแบบเรียนยังคงขึ้นอยู่อุดมการณ์ของรัฐในแต่ละช่วงเวลา โดยภายหลังการปรับปรุงหลักสูตรเมื่อ พ.ศ. 2551 พบว่าอุดมการณ์รัฐฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ได้รับอิทธิพลจากคณะรัฐประหารได้เริ่มมีอิทธิพลในแบบเรียนหน้าที่พลเมืองมากขึ้น และปรากฏอย่างชัดเจนในแบบเรียนรายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง พ.ศ. 2557 ซึ่งรับเอาอุดมการณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาถ่ายทอดผ่านแบบเรียนอย่างเข้มข้น ทำให้หลักสิทธิมนุษยชนในแบบเรียนถูกลดความสำคัญลงไปมาก
This thesis examines the transmission of the ideology of Thai state and the concepts and principles of human rights through civic education textbooks of B.E.2544 and 2551 curriculum, using qualitative research methods. Data sources included textbooks, curriculum documents and interviews with authors and publishers of textbooks. The study has found that human rights concept has been introduced in the civic education textbooks since B.E.2544 and has continued to evolve. However, the presentation of human rights' principles and knowledge in the textbooks has been formalistic and thus, unabled to convey the importance of human rights. In addition, the study found that the contents of textbooks, the authors as well as the textbook development and approval process have continued to be under the influence of and control by the ideology of Thai state, which is not always in line with human rights. Despite the marketization of textbooks, the level of focus on human rights concept and knowledge in the textbooks still varied, depending on the interest of Thai state at different times. It was found that textbooks produced under the revised curriculum of B.E.2551 contained more conservative ideology than in the previous curriculum. The trend becomes clearer in the civic education textbooks produced under the period of National Council for Peace and Order (NCPO) in B.E.2557 in which contents relating to principles and knowledge of human rights in the civic education textbooks have dramatically been reduced.
This thesis examines the transmission of the ideology of Thai state and the concepts and principles of human rights through civic education textbooks of B.E.2544 and 2551 curriculum, using qualitative research methods. Data sources included textbooks, curriculum documents and interviews with authors and publishers of textbooks. The study has found that human rights concept has been introduced in the civic education textbooks since B.E.2544 and has continued to evolve. However, the presentation of human rights' principles and knowledge in the textbooks has been formalistic and thus, unabled to convey the importance of human rights. In addition, the study found that the contents of textbooks, the authors as well as the textbook development and approval process have continued to be under the influence of and control by the ideology of Thai state, which is not always in line with human rights. Despite the marketization of textbooks, the level of focus on human rights concept and knowledge in the textbooks still varied, depending on the interest of Thai state at different times. It was found that textbooks produced under the revised curriculum of B.E.2551 contained more conservative ideology than in the previous curriculum. The trend becomes clearer in the civic education textbooks produced under the period of National Council for Peace and Order (NCPO) in B.E.2557 in which contents relating to principles and knowledge of human rights in the civic education textbooks have dramatically been reduced.
Description
สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
Degree Discipline
สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล