สถานภาพปัจจุบันด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์บางแห่งในประเทศไทย

dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุลen_US
dc.contributor.authorพิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุลen_US
dc.contributor.authorยุวดี รอดจากภัยen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์.en_US
dc.date.accessioned2015-10-19T02:42:02Z
dc.date.accessioned2021-09-15T16:06:19Z
dc.date.available2015-10-19T02:42:02Z
dc.date.available2021-09-15T16:06:19Z
dc.date.created2558-10-09
dc.date.issued2558
dc.descriptionการประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 15 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21: มุมมองอนาคต และการจัดการเชิงระบบ: Public health and environment in the 21st Century: evidence-based global health, วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 38.en
dc.description.abstractความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมีความสำคัญำหรับบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการและผู้ที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยภาคตัดขวาง ทำการประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและความปลอดภัยทางชีวภาพของสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ 3 สถาบัร ได้แก่ สถาบันเอ สถาบันบี และสถาบันซี ในบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการ จำนวน 41 คน (ร้อยละ 73.2 ของจำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง) โดยใช้แบบประเมินที่ดัดแปลงมาจากสภาเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน 4 องค์ประกอบ คือ มิติด้านนโยบาย มิติด้านสถานที่และการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน มิติด้านการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และมิติด้านการจัดการความเสี่ยง (กรณีความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ) หรือมิติด้านการใช้เครื่องป้องกันตนเอง (กรณีความปลอดภัยทางชีวภาพ) ข้อใดสถาบันไม่เกี่ยวข้องจะไม่นำข้อนั้นมาคิดคะแนน ข้อใดมีการดำเนินการ ได้ 1 คะแนน ข้อใดไม่มีการดำเนินการ ได้ 0 คะแนน นำคะแนนที่ได้คิดเป็นค่าร้อยละ การแบ่งระดับคะแนน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับสูง ได้แก่ ≥ ร้อยละ 80 ระดับปานกลาง คะแนนร้อยละ 60 – 79 และระดับต่ำ ได้แก่ คะแนน < ร้อยละ 60 ผลการศึกษาพบว่า ห้องปฏิบัติการที่ศึกษาทั้ง 3 สถาบัน มีระดับคะแนนความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ มิติด้านนโยบายและการจัดการความเสี่ยง อยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 31.7 และ 46.4 มิติด้านการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยอยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 52.1 และมิติด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายในอยู่ระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 60.0 สถาบันทั้ง 3 แห่ง มีคะแนนในแต่ละมิติใกล้เคียงกัน โดยสถาบันซี มีคะแนนสูงกว่าสถาบันอื่นเล็กน้อย สำหรับผลการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ พบว่า คะแนนมิติด้านนโยบาย อยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 45.3 มิติด้านการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยอยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 59.7 มิติการใช้เครื่องป้องกันตนเอง อยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 48.3 และมิติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในอยู่ในระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 65.0 สถาบันทั้ง 3 แห่ง มีคะแนนในแต่ละมิติใกล้เคียงกัน สถาบันเอ มีคะแนนสูงกว่าสถาบันอื่นเล็กน้อยen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63564
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความปลอดภัยทางชีวภาพen_US
dc.subjectความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการen_US
dc.subjectสถาบันการศึกษาen_US
dc.titleสถานภาพปัจจุบันด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์บางแห่งในประเทศไทยen_US
dc.typeProceeding Posteren_US

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description: