ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 : ศึกษาเฉพาะกรณีไม้พะยูงในจังหวัดศรีสะเกษ
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 187 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
ภานุวัฒน์ ไชยธงรัตน์ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 : ศึกษาเฉพาะกรณีไม้พะยูงในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93549
Title
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 : ศึกษาเฉพาะกรณีไม้พะยูงในจังหวัดศรีสะเกษ
Alternative Title(s)
Problems of law enforcemence according to the Forest Act B.E. 2484 : a case study of illegal Siam Rosewood (Dalbergia cochinesis pierre) trafficking at Srisaket province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เฉพาะไม้พะยูงในเขตจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลโดยเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจป่าไม้ ในจังหวัด ศรีสะเกษ จำนวนทั้งสิ้น 18 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 คือ บทลงโทษในกรณีของไม้พะยูงมีอัตราที่ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งจำนวนบุคลากร งบประมาณ และอาวุธจากหน่วยงานของรัฐไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 นอกจากนี้ขั้นตอนในการปฏิบัติมีความยุ่งยาก ล่าช้า โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ไม้ของกลาง เอกสารสิทธิ์ที่นำ มาแสดงที่มาของไม้ ซึ่งใช้เวลานาน ส่งผลให้การปฏิบัติล่าช้าและเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตของเจ้าหน้าที่ด้วย สำหรับแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พบว่า ควรเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำความผิด และควรลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เนื่องจากตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบหลายหน่วยงานด้วยกัน ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับชอบ โดยเฉพาะบริเวณแนวตะเข็บชายแดน และควรจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาอุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ นอกจากนี้ควรจัดเป็นโครงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแสต่างๆ และช่วยสอดส่องดูแลป่าไม้ และเฝ้าระวังผู้กระทาผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ด้วย ดังนั้นการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยดูแลป่าไม้ และช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันรักษาป่ามากยิ่งขึ้น
Description
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล