การใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาในผู้ป่วยติดเตียง : การศึกษาทางมานุษยวิทยาในชุมชนชานเมืองแห่งหนึ่งของไทย

dc.contributor.advisorลือชัย ศรีเงินยวง
dc.contributor.advisorเพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์
dc.contributor.authorภค หว่านพืช
dc.date.accessioned2024-07-09T02:07:33Z
dc.date.available2024-07-09T02:07:33Z
dc.date.copyright2563
dc.date.created2563
dc.date.issued2567
dc.descriptionสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
dc.description.abstractเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมากเนื่องจากเป็นภัยคุกคามระดับโลก โดยหนึ่งในแนวทางควบคุมปัญหาเชื้อดื้อยาคือการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลทั้งในมนุษย์ สัตว์ และเกษตรกรรม แต่กระนั้นก็ตามในระบบริการสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเชื้อดื้อยามากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่ส่งผลนำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรง การรักษาตัวในโรงพยาบาลนานยิ่งขึ้น และการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสเลือด งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะ และการติดเชื้อดื้อยาในผู้ป่วยติดเตียง รวมไปถึงการศึกษาเงื่อนไขเชิงบริบทที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ดังกล่าว นั่นคือ ระบบบริการสุขภาพ และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยวิธีการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Studies) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การติดตามผู้ป่วยทั้งที่บ้านและโรงพยาบาลในชุมชนชานเมืองแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 30 กิโลเมตร โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยติดเตียงและครอบครัว จำนวน 7 ครอบครัวในระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่มิถุนายน 2562 ถึงมกราคม 2563 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยติดเตียงเผชิญกับความยากลำบากมากมายไม่เพียงแต่ปัญหาแทรกซ้อนจากความเจ็บป่วยแต่ยังรวมไปถึงความเป็นอยู่ที่ยากจน การขาดการสนับสนุนจากครอบครัว และการเข้าไม่ถึงระบบบริการปฐมภูมิ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังและมีเพียงรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุเท่านั้น อีกทั้งความเป็นเมืองส่งผลให้ความสัมพันธ์ในสังคมมีลักษณะเป็นสังคมต่างคนต่างอยู่ มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ปัญหาสุขอนามัย ปัญหาสุขภาพ การติดเชื้อ และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ดังนั้นบทสรุปสำคัญของการศึกษานี้ คือ สภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีในบริบทความเป็นพื้นที่ชานเมืองที่มีความสลับซับซ้อนส่งผลให้ผู้ป่วยติดเตียงต้องประสบปัญหาการติดเชื้อดื้อยา ซึ่งนโยบายการควบคุมปัญหาเชื้อดื้อยายังคงมองข้ามข้อเท็จจริงเหล่านี้ เพราะฉะนั้นควรทำการศึกษาปัญหาเหล่านี้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
dc.description.abstractAntimicrobial resistance-AMR has been increasingly concerned as a global threat. Promotion of rational use of antibiotics in human, animal and agriculture is one of the key strategies to control AMR. In health care, bedridden patient is more vulnerable to infection and AMR than other groups which leads to serious complications, long hospitalization and death from septicemia. This qualitative research aims to explore the antibiotics use and antimicrobial resistance experienced by bedridden patients. Contextual factors that may affect those experiences such as the healthcare system and socioeconomic status are also explored in this study. Ethnographic approach is employed using qualitative data collection methods such as in-depth interview, observation following patients between home and hospital in a peri-urban community 30 kilometers away from Bangkok. Seven patient families were studied during seven months period from June 2019 to January 2020. Findings show that bedridden patients lived with many hardships not only from illness complications but also poor living conditions, lack of family support and inaccessibility to primary care. Most of the patients were sick elderly living alone with minimum income usually from elderly pension. Urbanization leads to a loose social relation and individualization of life. All of these leads to poor hygiene, deteriorating health and then infection and hospitalization. Main conclusion of this study is that AMR among bedridden patients are heavily influenced by the poor living conditions in the complex peri-urban context. This is the fact that has been overlooked in the AMR policy and need more systematic study.
dc.format.extentก-ญ, 146 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99566
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการดื้อยา
dc.subjectการดูแลผู้ป่วยระยะยาว
dc.titleการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาในผู้ป่วยติดเตียง : การศึกษาทางมานุษยวิทยาในชุมชนชานเมืองแห่งหนึ่งของไทย
dc.title.alternativeAntibiotics use and antimicrobial resistance among bedridden patients : an anthropological study in a peri-urban area of Thailand
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2563/568/6037805.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files