ภาวะผู้นำกับการรับรู้การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.contributor.advisor | ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย | |
dc.contributor.advisor | ศิริพร แย้มนิล | |
dc.contributor.advisor | จิตรลดา อมรวัฒนา | |
dc.contributor.author | ยมนา ไพศาลพัฒนสกุล | |
dc.date.accessioned | 2024-01-24T01:42:42Z | |
dc.date.available | 2024-01-24T01:42:42Z | |
dc.date.copyright | 2554 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description | รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2554) | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องภาวะผู้นำกับการรับรู้การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของบุคลากร มี วัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาถึงการรับรู้เรื่องการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของบุคลากร (2) เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้างานกับการรับรู้เรื่องข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของ บุคลากร (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้เรื่องการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของวิทยาลัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตัวแปรที่ใช้เป็นกรอบการวิจัย ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ (1) การกำหนดนโยบายและการบริหารงาน (2) การกำหนด กลยุทธ์และเป้าหมายขององค์การ(3) การสื่อสารนโยบาย (4) การตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อมุ่งความสำเร็จ และตัวแปร การรับรู้กระบวนการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าประกอบ 3 ด้านคือ (1) ขั้นตอนการจัดทำ (2) ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด (3) ขั้นตอนการประเมินผล โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุน ที่ ปฏิบัติงานในวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 101 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลข้อมูลได้แก่ ร้อยละ,ค่าเฉลี่ย,ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน, T-Test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson's Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้เรื่องการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของบุคลากรผลการวิจัย ในภาพรวม อยู่ในระดับดี 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้างานกับการรับรู้เรื่องการจัดทำข้อตกลง การปฏิบัติงานล่วงหน้าของบุคลากรในภาพรวม พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ 3. การศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้เรื่องการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบว่า คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์มีระดับการรับรู้ที่สูงกว่าวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาในทุกขั้นตอน | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 119 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93729 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การประเมินผลงาน | |
dc.subject | ภาวะผู้นำ | |
dc.title | ภาวะผู้นำกับการรับรู้การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.title.alternative | Leadership and perception of personnel of Mahidol University on the performance agreement | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd447/5237875.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |