การวิเคราะห์เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงในผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก : กรณีศึกษาหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 164 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ศศิกาญจน์ นามิ่ง การวิเคราะห์เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงในผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก : กรณีศึกษาหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92540
Title
การวิเคราะห์เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงในผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก : กรณีศึกษาหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี
Alternative Title(s)
Average time analysis of direct nursing activities of cardiovascular and thoracic surgery patients : a case study of the cardiovascular and thoracic surgery Intensive Care Unit of Ramathibodi Hospital
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อวิเคราะห์เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงในผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก: กรณีศึกษาหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 22 คน ใช้คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยวิกฤต (TISS-28, Simplified Therapeutic Intervention Scoring System) และแบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงโดยใช้การบันทึกเวลาแบบต่อเนื่องด้วยตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฏาคม-สิงหาคม 2557 ระยะเวลา 30 วัน รวม 90 เวร วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพใช้เวลาเฉลี่ยในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงในผู้ป่วยวิกฤตประเภทที่ 3 (ผู้ป่วยที่ต้องการการพยาบาลที่มีความซับซ้อน (Intensive nursing care)) มากที่สุดเท่ากับ 393.34 นาที/คน/วัน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 77.78 รองลงมาคือผู้ป่วยวิกฤตประเภทที่ 4 (ผู้ป่วยที่ต้องการการพยาบาลอย่างซับซ้อนและการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด (Intensive nursing and physician care)) เท่ากับ 381.00 นาที/คน/วัน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 76.11 และผู้ป่วยวิกฤตประเภทที่ 2 (ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด (Close observation)) เท่ากับ 306.00 นาที/คน/วัน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 78.49 มีค่าเฉลี่ยผู้ป่วยต่อเวรเป็นผู้ป่วยประเภทที่ 3 มากที่สุดเท่ากับ 5.429 ช่วงเวลาปฏิบัติงานที่ใช้เวลามากที่สุดในผู้ป่วยทุกประเภทตามค่าเฉลี่ยผู้ป่วยต่อเวรคือเวรบ่าย และกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงที่ใช้เวลามากที่สุดคือหมวดการปฏิบัติการพยาบาล ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารควรเพิ่มอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพในช่วงเวลาปฏิบัติงานเวรบ่าย จัดการระบบส่งต่อผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยอื่น เพื่อเตรียมพร้อมรับผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที และควรจัดการฝึกอบรมการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตเด็กแบบองค์รวมแก่พยาบาลวิชาชีพทุกคน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการพยาบาล
This study was a descriptive research with the objective of analyzing average time utilized in providing nursing services for cardio-thoracic surgery patients in the Intensive Care Unit, Ramathibodi Hospital. The study samples were 22 nurses who had been working in the Cardio-Thoracic Surgery Intensive Care Unit, Ramathibodi Hospital. The tools used for data collection were Simplified Therapeutic Intervention Scoring System (TISS-28) and recording format for direct nursing service (self-recorded continuously). The data was collected during July-August A.D. 2014 for 30 consecutive days of 90 work shifts. Statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The study found that the longest average time used for professional nurses in providing direct nursing services for intensive care patients was category 3 (Intensive Nursing Care), (393.34 minutes/person/day, S.D.=77.78) followed by category 4 (Intensive Nursing and Physician Care), (381.00 minutes/person/day, S.D.=76.11) and category 2 (Close observation), (306.00 minutes/person/day, S.D.=78.49). The largest number of average patients for each nursing work shift was with patients of category 3 (5.429). The work shift in which the nurses spent the largest amount of time caring for all types of patients was afternoon , and the direct nursing service which consumed the largest amount of time was the nursing practice category. The research recommendations are: the administration should add more nursing personnel for afternoon work shifts, set up an effective referral system to be ready for prompt referrals to other wards, and there should be training for holistic care of children in critical care for all professional nurses in order to increase the knowledge and skill of nursing care.
This study was a descriptive research with the objective of analyzing average time utilized in providing nursing services for cardio-thoracic surgery patients in the Intensive Care Unit, Ramathibodi Hospital. The study samples were 22 nurses who had been working in the Cardio-Thoracic Surgery Intensive Care Unit, Ramathibodi Hospital. The tools used for data collection were Simplified Therapeutic Intervention Scoring System (TISS-28) and recording format for direct nursing service (self-recorded continuously). The data was collected during July-August A.D. 2014 for 30 consecutive days of 90 work shifts. Statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The study found that the longest average time used for professional nurses in providing direct nursing services for intensive care patients was category 3 (Intensive Nursing Care), (393.34 minutes/person/day, S.D.=77.78) followed by category 4 (Intensive Nursing and Physician Care), (381.00 minutes/person/day, S.D.=76.11) and category 2 (Close observation), (306.00 minutes/person/day, S.D.=78.49). The largest number of average patients for each nursing work shift was with patients of category 3 (5.429). The work shift in which the nurses spent the largest amount of time caring for all types of patients was afternoon , and the direct nursing service which consumed the largest amount of time was the nursing practice category. The research recommendations are: the administration should add more nursing personnel for afternoon work shifts, set up an effective referral system to be ready for prompt referrals to other wards, and there should be training for holistic care of children in critical care for all professional nurses in order to increase the knowledge and skill of nursing care.
Description
บริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
บริหารสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล