ปัจจัยทำนายการปฏิบัติของพยาบาลเด็กในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

dc.contributor.advisorทัศนี ประสบกิตติคุณ
dc.contributor.advisorอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์
dc.contributor.authorจินดารัตน์ สมใจนึก
dc.date.accessioned2024-01-22T02:36:08Z
dc.date.available2024-01-22T02:36:08Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionการพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractบุคลากรพยาบาลวิชาชีพถือว่าเป็นบุคคลสำคัญยิ่งในการบูรณาการการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านพยาบาล ได้แก่ อายุของพยาบาล ประสบการณ์ด้านการพยาบาลเด็ก ประเภทหอผู้ป่วยที่ทำงาน และการรับรู้ ความจำเป็นในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ต่อการปฏิบัติของพยาบาลเด็กในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพ สังกัดงานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวนทั้งสิ้น 159 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า อายุของพยาบาลมีความสัมพันธ์สูงมากกับประสบการณ์ด้านการ พยาบาลเด็ก (r = .94, p < .001) อายุของพยาบาลจึงถูกตัดออกจากชุดของตัวแปรทำนาย ผลการวิจัย พบว่าประสบการณ์ด้านการพยาบาลเด็ก ประเภทหอผู้ป่วย การรับรู้ความจำเป็นในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติของพยาบาลเด็กในการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางได้ร้อยละ 17 (R2=.17, F= 10.58, p<.001) โดยมีเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ความจำเป็นในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (β =.38 , t = 5.16, p<.001) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางควรได้รับการบรรจุไว้ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตของสถาบันการศึกษาพยาบาลทุกแห่ง และควรสนับสนุนให้มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางให้กับพยาบาลเด็กในหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พยาบาลเกิดการรับรู้ถึงความจำเป็น และนำไปสู่การปฏิบัติได้
dc.description.abstractProfessional nurses are important personnel who integrate family-centered care into practice. The purpose of this study was to explore predictive power of such nursing factors as the nurses' age, experience in pediatric nursing, types of wards and the perceptions of necessary elements of family-centered care on pediatric nurses' practices of family-centered care. The sample consisted of 159 registered nurses from the pediatric nursing division, in a hospital. Data were collected through a general information questionnaire and the Familycentered Care Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression analysis. The analysis indicated very high correlation between nurses' age and experience in pediatric nursing (r = .94, p < .001) thus, the nurse's age was excluded from further analysis.The results of this study revealed that all independent variables including experience in pediatric nursing, types of wards, and perceptions of necessary elements of family-centered care could account for 17% of the variance explained in the family-centered care practices of pediatric nurses (R2=.17, F= 10.58, p<.001). However, the perceptions of necessary elements of family-centered care was the only significant predictor (β= .38,t = 5.16, p<.001). Based on the findings, the concept of family-centered care is suggested to be included in the undergraduate nursing curriculums used in the country.In addition, in-service training on family-centered care should be provided consistently for pediatric nurses so that the perceptions of necessity to practice family-centered care would be developed to lead their practice.
dc.format.extentก-ฌ, 90 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93421
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
dc.subjectกุมารเวชศาสตร์ -- การพยาบาล
dc.titleปัจจัยทำนายการปฏิบัติของพยาบาลเด็กในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
dc.title.alternativeFactors predicting pediatric nurses' practices of family-centered care
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd515/5636853.pdf
thesis.degree.departmentคณะพยาบาลศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลเด็ก
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files