ดุริยลักษณ์กลองตุ้มในพิธีกรรมของชาวอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

dc.contributor.advisorสนอง คลังพระศรี
dc.contributor.advisorอนรรฆ จรัณยานนท์
dc.contributor.authorชัยวัฒน์ โกพลรัตน์
dc.date.accessioned2024-01-15T04:07:42Z
dc.date.available2024-01-15T04:07:42Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง กลองตุ้ม : ดุริยลักษณ์ในพิธีกรรมของชาวอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เป็นงานวิจัยที่ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการ บทบาทหน้าที่ รูปแบบการผสมวงและจังหวะการบรรเลงของกลองตุ้มในเขตพื้นที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมกลองตุ้ม เป็นนามที่ชาวในเขตอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ใช้เรียกวงดนตรีประโคมชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ประโคมในขบวนแห่ต่าง ๆ อันเป็นประเพณีที่สำคัญเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมของชุมชน โดยเฉพาะในช่วงฤดูเดือน 6 ถึงเดือน 7 ซึ่งในท้องถิ่นมีการจัดงานบุญพระเวสสันดรหรือบุญมหาชาติและบุญบั้งไฟ จะมีการประโคมกลองตุ้มฟ้อนรำไปรอบหมู่บ้าน จนถือได้ว่ากลองตุ้มเป็นสัญญาณและสัญลักษณ์ของงานบุญประเพณีนี้ การประโคมกลองตุ้มแทรกอยู่ในทุกพิธีกรรมในงานบุญที่มีการแห่ เช่น การแห่พระอุปคุต การแห่กองบุญต่าง ๆ แห่พระกัณฑ์จอบกัณฑ์หลอน แห่พราหมณ์ แห่พระเวสสันดรเข้าเมือง เป็นต้น โดยเฉพาะในเทศกาลบุญเดือนหก นอกจากจะเป็นสัญญาณยังเป็นสัญลักษณ์อันแสดงถึงเกียรติยศ และกลองตุ้มยังเป็นวงดนตรีประโคมเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เพื่อความอุดมสมบูรณ์ที่ยังคงอยู่ในคติความเชื่อของชาวอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม สามารถเชื่อมโยงไปถึงคติเก่าแก่ของคนในภูมิภาคอุษาคเนย์ในวัฒนธรรมกลองทอง (มโหระทึก) ที่มีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3,000 ปี รูปแบบการผสมวงของกลองตุ้ม เป็นวงดนตรีประโคมที่ประกอบด้วยฆ้องและกลองเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยผ่างฮาด (ฆ้องไม่มีปุ่ม) และกลองตุ้ม ซึ่งเป็นกลองไม้สองหน้าขนาดใหญ่หุ้มด้วยหนังควายหรือหนังวัวมีเส้น ผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร สอดด้วยไม้คานหามเพื่อให้ง่ายต่อการบรรเลงขณะเคลื่อนที่ไปตามขบวน โดยเครื่องทั้ง 2 เป็นเครื่องดนตรีประโคมหลัก นอกจากนี้อาจจะมีเครื่องดนตรีอื่น ๆ เข้ามาประกอบ เช่น กลองหาง สิ่ง แส่ง ฆ้อง สะไน กั้บแก้บ กระจับปี่ พิณ แคน ปี่บรรเลงร่วมไปกับขบวนกลองตุ้มแต่ไม่เน้นเป็นรูปแบบตายตัวขึ้นอยู่กับโอกาสของ ชาวบ้านที่จะเอื้ออำนวยดุริยลักษณ์ของการบรรเลงกลองตุ้มในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม แบ่งเป็น 2 กลุ่มจังหวะ คือ "จังหวะเดิน" และ "จังหวะฮ่ำ" ในระหว่างการบรรเลงจะมีการบรรเลงจังหวะย่อยเชื่อมต่อระหว่างจังหวะทั้ง 2 ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีรายละเอียดและรูปแบบของดุริยลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปในรายละเอียดแต่โครงสร้างชุดจังหวะการบรรเลงการบรรเลงมีรูปแบบที่เหมือนกัน
dc.description.abstractThe objective of this study was to delineate the historical aspects, development, functionas and performance of klong Toum dram music including mixing patterns and rhythms the people Renu Nakhon district of Nakhon Phanom province. The study took a qualitative approach in conducting research and presenting data. The results of this study revealed that Klong Toum is a popular traditional fanfare band music in Renu Nakhon area a in procession traditionally associated with important religious and cultural beliefs of the community, especially in the six-month Festival local events or which the music is played include Boun Phravessandorn or Boun Mahachart and Boum Bung-fai. These will events are accompanied by fanfare and dance around the village carrying. signs and symbols of merit. Fanfare and drum are in all the rites in merits and rituals such as the Upakut parade, Kanchob-Kanlon parade, Brahman parade, Pravetssandorn immigration parade etc., In the six-month Festival. Such as Klong Toun fanfare in the holy parade, signs representing a symbol of honor and associated with fertility rites remain in the beliefs of Renu Nakhon people. Apart from this, it is also linked to the 3,000 years old culture values of the people of Southeast Asia. Also known as the great bronze drum (Mahorathouk). The format of the Klong Toum band mixing consists of gong and drum it is primarily composed of surgery Phang-haad (flat gong) and drums, two large front wooden drums, covered with buffalo leather or calfskin, with a diameter of approximately 50 cm. In addition, there are other instruments such as drums with the tail assemble, Sing Seang, Sanai Kub Kaeb, Kachabpi, Kaen and Pi (pipe) all when are carried in procession but do not focus on a fixed style depending on the permitting occasion. The musical signature of Klong Toum in Renu Nakhon is divided into two categories; the rhythm is the "rhythm" and "ham" rhythms performance during instrumental tempo connected between the two subsidiaries. In any local area, there are different details and formats of musical performance evarying with the occasions, but the instrumental rhythm structure of the music has the same format.
dc.format.extentก-ณ, 303 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92786
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectดนตรี -- พิธีกรรม
dc.subjectกลองตุ้ม
dc.subjectเครื่องดนตรีไทย
dc.subjectเครื่องดนตรี -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.subjectดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.titleดุริยลักษณ์กลองตุ้มในพิธีกรรมของชาวอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
dc.title.alternativeKlongtoum : form of music in ritual of people in Renunakhon district, Nakhonphanom province, Thailand
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd522/5438086.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
thesis.degree.disciplineดนตรี
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files