An assessment of existing and potential ecotourism boat routes at Bueng Borapet, Nakhon Sawan province, Thailand
Issued Date
2016
Copyright Date
2016
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 230 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Noppamast Sae-Tang An assessment of existing and potential ecotourism boat routes at Bueng Borapet, Nakhon Sawan province, Thailand. Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93306
Title
An assessment of existing and potential ecotourism boat routes at Bueng Borapet, Nakhon Sawan province, Thailand
Alternative Title(s)
การประเมินเส้นทางเดินเรืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This study aimed to identify and evaluate suitable ecotourism boat routes at Bueng Borapet by applying water-based ecotourism criteria. Research methodology included in-depth interviews with 22 key informants including local officers, boat service providers, academicians, and local people, and interviews and preference assessment with 128 domestic visitors and 40 international visitors at Bueng Borapet. Data collection started from August, 2014 to April, 2015. SPSS was used for data analysis including percentage, frequency, mean, standard deviation, Pearson Correlation Analysis, and Tukey Multiple-comparison Post-hoc Test. This research focused on 3 boat routes in Bueng Borapet: 2 existing and 1 new potential boat routes. All boat routes were evaluated based on water-based ecotourism criteria including attraction, service and facilities, environmental education, community participation, and conservation. The results showed that all boat routes were suitable for ecotourism with different levels of suitability ranging from moderately suitable to suitable. For domestic and international visitors, they felt quite highly satisfied to visit each boat route by looking at photographs. Boat route number 1 and new potential route had similar attractions such as flora and fauna and local culture but the potential boat route had higher density of flora and fauna. Meanwhile, boat route number 2 presented less flora but had special migratory bird; osprey, during migration season. For boat route assessment, indicators affecting visitors' satisfaction included beautiful scenery, variety of ecotourism activities, suitable timing for boat trips and environmental education. Upon comparison of 3 boat routes, it was found that indicators differentiating the boat routes were scenic beauty, biodiversity, local culture and lifestyle, variety of ecotourism activities, quality and safety of tourist boat and pier and the need for natural resource conservation with statistical significance at a level of 0.05. Results of boat route assessment and comparing differences of ecotourism boat routes were useful. It could be used for ecotourism development and maintain quality of those indicators at Bueng Borapet in order to attract target visitors. The new potential boat route is an alternative to support tourism demand in the future and the local community will have opportunities to learn and develop skills in tourism service, and gain income from boat-based ecotourism.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุและประเมินความเหมาะสมของเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในบึงบอระเพ็ดโดยใช้เกณฑ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการเรือท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่ และนักวิชาการ รวม 22 คน จากนั้นทำการสัมภาษณ์และประเมินความพึงพอใจเส้นทางเดินเรือจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย 128 ราย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 40 ราย ที่มาท่องเที่ยวที่บึงบอระเพ็ด การเก็บข้อมูลทั้งหมดอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึงเมษายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS นำเสนอค่าสถิติ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน ผลการศึกษาเส้นทางเดินเรือที่ทำการศึกษา 3 เส้นทาง เป็นเส้นทางที่ใช้ในปัจจุบัน 2 เส้นทาง และเส้นทางใหม่ที่มีศักยภาพ 1 เส้นทาง เมื่อประเมินตามเกณฑ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยว การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชน และการอนุรักษ์ จากผลการศึกษาพบว่าทั้ง 3 เส้นทางมีความเหมาะสมต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีระดับความเหมาะสมที่แตกต่างกัน อยู่ในช่วงมีความเหมาะสมปานกลางถึงเหมาะสม นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมีความพึงพอใจค่อนข้างมากต่อเส้นทางเดินเรือที่ทำการศึกษา เส้นทางที่ 1 และเส้นทางใหม่มีทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวที่คล้ายคลึงกัน เช่น พืชพรรณสัตว์ป่าและวิถีชีวิต อย่างไรก็ตามเส้นทางใหม่มีปริมาณพืชพรรณและสัตว์ป่าหนาแน่นมากกว่าเส้นทางที่ 1 ในขณะที่เส้นทางที่ 2 พบพืชน้ำ ที่มีสีสันสวยงาม เช่น บัวสายค่อนข้างน้อย แต่สามารถพบเหยี่ยวออสเปรย์ในช่วงฤดูกาลนกอพยพ ในการประเมินเส้นทางเดินเรือ ความสวยงามของ ทัศนียภาพ ความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพและความปลอดภัยของเรือและ ท่าเรือเป็นตัวชี้วัดที่มีความสำคัญต่อการเลือกเส้นทางเพื่อล่องเรือท่องเที่ยวในบึงบอระเพ็ด ผลการเปรียบเทียบเส้นทางเดินเรือทั้ง 3 เส้นทางพบว่า แต่ละเส้นทางมีตัวชี้วัดที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้แก่ ความสวยงามของทัศนียภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คุณภาพเรือ และท่าเรือ และความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ ผลการประเมินเส้นทางเดินเรือและการเปรียบเทียบความแตกต่างของเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาและรักษาคุณภาพของตัวชี้วัดของแหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย เส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวเส้นทางใหม่เป็นทางเลือกหนึ่งในการรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต และชุมชนในพื้นที่มีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางเรือ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุและประเมินความเหมาะสมของเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในบึงบอระเพ็ดโดยใช้เกณฑ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการเรือท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่ และนักวิชาการ รวม 22 คน จากนั้นทำการสัมภาษณ์และประเมินความพึงพอใจเส้นทางเดินเรือจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย 128 ราย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 40 ราย ที่มาท่องเที่ยวที่บึงบอระเพ็ด การเก็บข้อมูลทั้งหมดอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึงเมษายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS นำเสนอค่าสถิติ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน ผลการศึกษาเส้นทางเดินเรือที่ทำการศึกษา 3 เส้นทาง เป็นเส้นทางที่ใช้ในปัจจุบัน 2 เส้นทาง และเส้นทางใหม่ที่มีศักยภาพ 1 เส้นทาง เมื่อประเมินตามเกณฑ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยว การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชน และการอนุรักษ์ จากผลการศึกษาพบว่าทั้ง 3 เส้นทางมีความเหมาะสมต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีระดับความเหมาะสมที่แตกต่างกัน อยู่ในช่วงมีความเหมาะสมปานกลางถึงเหมาะสม นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมีความพึงพอใจค่อนข้างมากต่อเส้นทางเดินเรือที่ทำการศึกษา เส้นทางที่ 1 และเส้นทางใหม่มีทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวที่คล้ายคลึงกัน เช่น พืชพรรณสัตว์ป่าและวิถีชีวิต อย่างไรก็ตามเส้นทางใหม่มีปริมาณพืชพรรณและสัตว์ป่าหนาแน่นมากกว่าเส้นทางที่ 1 ในขณะที่เส้นทางที่ 2 พบพืชน้ำ ที่มีสีสันสวยงาม เช่น บัวสายค่อนข้างน้อย แต่สามารถพบเหยี่ยวออสเปรย์ในช่วงฤดูกาลนกอพยพ ในการประเมินเส้นทางเดินเรือ ความสวยงามของ ทัศนียภาพ ความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพและความปลอดภัยของเรือและ ท่าเรือเป็นตัวชี้วัดที่มีความสำคัญต่อการเลือกเส้นทางเพื่อล่องเรือท่องเที่ยวในบึงบอระเพ็ด ผลการเปรียบเทียบเส้นทางเดินเรือทั้ง 3 เส้นทางพบว่า แต่ละเส้นทางมีตัวชี้วัดที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้แก่ ความสวยงามของทัศนียภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คุณภาพเรือ และท่าเรือ และความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ ผลการประเมินเส้นทางเดินเรือและการเปรียบเทียบความแตกต่างของเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาและรักษาคุณภาพของตัวชี้วัดของแหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย เส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวเส้นทางใหม่เป็นทางเลือกหนึ่งในการรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต และชุมชนในพื้นที่มีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางเรือ
Description
Technology of Environmental Management (Mahidol University 2016)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Technology of Environmental Management
Degree Grantor(s)
Mahidol University