รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพัน: มุมมองผู้เรียนหรือลูกค้าที่มีต่อหลักสูตรสังคมศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.contributor.author | รุ่งอรุณ สิงคลีประภา | en_US |
dc.contributor.author | เบญจมาส เจริญสุขพลอยผล | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-10-14T11:38:41Z | |
dc.date.available | 2022-10-14T11:38:41Z | |
dc.date.created | 2565-10-14 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | 121 หน้า, Full Text (Intranet only) ทุนสนับสนุนจากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพันในมุมมองของผู้เรียนหรือลูกค้าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่มีต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลช่วงปีการศึกษา 2557 ประชากรทั้งหมดที่เป็นผู้เรียนจาก 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้เรียนในอดีตที่สำเร็จการศึกษาย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2554-2556) 2) ผู้เรียนปัจจุบันชั้นปีที่ 1-3 (รหัสปี 2555-2557) และ 3) ผู้เรียนหรือลูกค้าอนาคตที่คาดหวัง เป็นนักศึกษาหลักสูตรอื่นชั้นปีที่ 1 รวมทั้งสิ้น 12 หลักสูตร จานวน 276 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามขณะที่นักศึกษามาเรียน และส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมล์ถึงผู้เรียนในอดีตที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับแบบสอบถามคืนมาจำนวน 236 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการตลาด ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของหลักสูตร พบว่า ผู้เรียนหรือลูกค้าอนาคต มีความเห็นด้วยระดับมากสูงสุด ได้แก่ 1) ความมีชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในและต่างประเทศ 2) มหาวิทยาลัยมีหอประชุมห้องเรียนที่เหมาะสมเพียงพอ สะอาดและทันสมัย 3) อาจารย์ผู้สอนมีความรู้มีคุณธรรมและจริยธรรมเหมาะสมกับวิชาชีพ 2. ปัจจัยการจัดการศึกษาของหลักสูตร พบว่า ผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน มีความเห็นด้วยระดับมากสูงสุด ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสังคมทั้งในและต่างประเทศ 2) ให้อิสระในการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาหลักเพื่อความเหมาะสม 3. ปัจจัยความผูกพัน พบว่า ผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน มีความผูกพันสูงระดับมากที่สุด ได้แก่ 1) รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทั้งยินดีในอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่ว่าให้ ‘มุ่งผลเพื่อผู้อื่น’ 2) รู้สึกดีใจและภูมิใจได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ในหลักสูตร และ 3) รู้สึกพอใจได้พูดคุยและมีมิตรภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ สมการพยากรณ์ปัจจัยการจัดการศึกษาหลักสูตร ได้แก่ ทัศนคติต่อสถาบัน และความสัมพันธ์มิติทางสังคม ส่งผลทางบวกต่อความผูกพันของผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน ทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกันอธิบายความผูกพันของผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 และอธิบายความแปรปรวนได้ 51.1% โดยตัวแปรความสัมพันธ์มิติทางสังคมมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือ ทัศนคติต่อสถาบัน ตามลำดับ | en_US |
dc.description.abstract | The survey research was collected during the 2014 academic year, and population groups included 3 groups: 1) the past learners who graduated in last 3 years (2011-2013 B.E.), 2) the current learners who were studying at 1-3 years (2012-2014 B.E.) and 3) future learners/customers another who were first year studying from other programs, a total of 12 programs. 276 questionnaires were distributed to the current learners and E-mailed to the past learners. 236 sets of questionnaires were returned, representing 85 percent of the total population. Data were analyzed by fundamental statistics and multiple regression analysis. The results showed 1.Marketing factors, it is found that future customers/ learners agreed at the very highest level in 1) the University is well known and socially acceptable in both domestic and international. 2) University Hall and adequate, clean and modern classrooms. 3) Knowledge of the instructors, morality and ethics of the academic profession. 2. Educational management factor, it is found that past and present customers or learners agreed at the very highest level in 1) University reputation in both domestic and international. 2) Freedom to choose major advisor and 6) University community is safe with security guards. 3.Engagement factor, it is found that past and present customers agreed at the very highest level in 1) being proud of a part of this university, delighted in graduated identity as ‘Aim for the others (Altruism)' 2) being proud to be a student of the teacher in the program and 3) Pleasant for a great friendship with a fellow student in the university. Predictive factors of educational management for the attachment of the programs, included attitudes toward institution and social relations which contribute positively to the attachment of the students, and could explain the engagement of past present students at the level of statistical significance. 000 and the variance was 51.1%. | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79913 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ลูกค้า | en_US |
dc.subject | การตลาด | en_US |
dc.subject | การจัดการศึกษา | en_US |
dc.subject | ความผูกพัน | en_US |
dc.subject | สังคมศาสตร์และสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ผลงานบุคลากรสายสนับสนุน | |
dc.subject | ผลงานการขอเลื่อนตำแหน่ง | |
dc.subject | นักวิชาการศึกษา | |
dc.title | รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพัน: มุมมองผู้เรียนหรือลูกค้าที่มีต่อหลักสูตรสังคมศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.title.alternative | Marketing Factors, Educational Management and Engagement: Point of view Learners or Customers in Social Sciences and Health Program, Mahidol University | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
mu.link.internalLink | https://tinyurl.com/SH-Rungarun5 |