ความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Issued Date
2555
Copyright Date
2555
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 131 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประชากรศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
Suggested Citation
วรรณี หุตะแพทย์ ความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประชากรศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93693
Title
ความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Alternative Title(s)
The well-being of the elderly's caregivers in Tamaka district, Kanchanaburi province
Author(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความผาสุกของผู้ดูแลในด้านความผาสุกทางกาย ความผาสุกทางใจ ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และความผาสุกทางสังคม 2) ศึกษาความแตกต่างของความผาสุกของผู้ดูแล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยครัวเรือน และปัจจัยชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 304 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Multiple comparison) ด้วย Scheffe Test ผลการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลมีความผาสุกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.09) โดยที่ความผาสุกทางกาย และความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.70 และ xˉ= 3.32 ตามลำดับ) ความผาสุกทางใจ และความผาสุกทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 2.86 และ xˉ = 2.47 ตามลำดับ) และพบว่าผู้ดูแลที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันจะมีความผาสุกแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ดูแลที่เป็นบุตรจะมีความผาสุกทางกายและจิตวิญญาณมากกว่าผู้ดูแลที่เป็นหลานและคู่สมรส ผู้ดูแลที่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ผู้ดูแลที่รับรู้ว่าผู้สูงอายุไม่เป็นภาระในการดูแลจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่รับรู้ว่าผู้สูงอายุเป็นภาระในการดูแล ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาระดับน้อยจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาระดับมาก ผู้ดูแลที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระดับมากจะมีความผาสุกทางใจ ทางจิตวิญญาณ และทางสังคมมากกว่าผู้ดูแลที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระดับน้อย ด้านปัจจัยครัวเรือน พบว่า ผู้ดูแลที่มีรายได้ครัวเรือนตั้งแต่ 5,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ผู้ดูแลที่มีสัมพันธภาพในครัวเรือนระดับมากจะมีความผาสุกทางใจ ทางจิตวิญญาณและทางสังคมมากกว่าผู้ดูแลที่มีสัมพันธภาพในครัวเรือนระดับปานกลางและระดับน้อย ผู้ดูแลที่มีผู้ช่วยดูแลในครัวเรือนจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่ไม่มีผู้ช่วยดูแลในครัวเรือน สำหรับด้านปัจจัยชุมชน ผู้ดูแลที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับมากจะมีความผาสุกทางใจทางจิตวิญญาณ และทางสังคมมากกว่าผู้ดูแลที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลางและระดับน้อย ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษานี้นำไปสู่ข้อเสนอะแนะที่ว่า ทุกภาคส่วนที่อยู่ในเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุควรให้การสนับสนุนทั้งในด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สุงอายุ การสนับสนุนทางสังคม และการส่งเสริมสัมพันธภาพในครัวเรือน
Description
ประชากรศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
ประชากรศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล