การสอนขับร้องประสารเสียงบทเพลงไทยร่วมสมัยของคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลูสู่เวทีการแข่งขัน เวิลด์ไควร์เกมส์ 2008
Issued Date
2554
Copyright Date
2554
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 117 แผ่น : ภาพประกอบ (สีบางภาพ)
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554
Suggested Citation
ชาลิสา รัศมี การสอนขับร้องประสารเสียงบทเพลงไทยร่วมสมัยของคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลูสู่เวทีการแข่งขัน เวิลด์ไควร์เกมส์ 2008. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93743
Title
การสอนขับร้องประสารเสียงบทเพลงไทยร่วมสมัยของคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลูสู่เวทีการแข่งขัน เวิลด์ไควร์เกมส์ 2008
Alternative Title(s)
Choral education technique : a case study of Suanplu Chorus' (Bangkok, Thailand) contemporary music preparation for participation in the World Choir Games 2008
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการสอนขับร้องประสานเสียงบทเพลงไทย ร่วมสมัยของคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลูสู่เวทีการแข่งขัน เวิลด์ ไควร์ เกมส์ 2008 (2) เพื่อศึกษาแนวคิดใน การประพันธ์บทเพลงไทยร่วมสมัยที่ใช้ในการแข่งขัน เวิลด์ ไควร์ เกมส์ 2008 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษา จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขับร้อง ผู้ประพันธ์เพลงไทย และเพลงไทยร่วมสมัย รวมถึงการตอบ แบบสอบถามของสมาชิกคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลูที่เข้าร่วมการแข่งขันเวิลด์ ไควร์ เกมส์ในปี 2008 จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านกระบวนการสอน นายไกวัล กุลวัฒโนทัย พบปัญหาการออกเสียงในภาษาไทยของสมาชิก ในคณะ ขัดกับโครงสร้างของเพลงที่ต้องการให้เสียงออกมาเป็นแบบคลาสสิก การทำสมาธิของคณะนักร้อง และ การให้คิวในเพลงแต่ละเพลง ส่วนนายบรูซ แกสตัน พบปัญหาในการทำความเข้าใจและตีความของสมาชิกต่อ บทเพลงร่วมสมัยที่ใช้ในการแข่งขัน 2. ด้านแนวคิดในการประพันธ์เพลง พบว่า นายไกวัล กุลวัฒโนทัย และนายบรูซ แกสตัน สร้างสรรค์บทเพลงไทยร่วมสมัยที่ใช้ในการแข่งขันโดยการต่อยอดจากความคิดที่จะนำเพลงไทยเดิมมาผสมผสาน นำความรู้ทางทฤษฎีดนตรีผนวกกับการเล่าเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และในโลกปัจจุบัน 3. ด้านความคิดเห็น สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู ให้ความคิดเห็นว่า บทเพลงร่วมสมัย เพลงไหว้ครู (Guru Namaskar), เพลงน้ำ (Water) และเพลงสิบสำนวนชวนลิ้นพันกัน (Ten Thai Tongue Twisters) มีความยากในการขับร้องส่วนเพลง นกขมิ้น อยู่ในระดับปานกลาง คือไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2554)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล