การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาศาลเจ้าพ่อขุนศรัทธาบ้านท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 110 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
พงศ์อินทร์ นันทวงศ์ การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาศาลเจ้าพ่อขุนศรัทธาบ้านท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91915
Title
การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาศาลเจ้าพ่อขุนศรัทธาบ้านท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
Alternative Title(s)
Cultural heritage management : a case study of Khun Sattha shrine at Ban Thakhae, Thakhae sub-district, Muang district, Phatthalung province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาลพ่อขุนศรัทธาบ้านท่าแคของชุมชนบ้านท่าแค โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นสำคัญคือการเก็บข้อมูลภาคสนามแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในช่วงงานพิธีกรรมโนราโรงครูท่าแควันที่ 3-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 การสัมภาษณ์เชิงลึกอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกับการเสวนากลุ่มกับชาวบ้านผู้มีส่วนสำคัญในการจัดการดูแลศาลพ่อขุนศรัทธาและพิธีกรรมโนราโรงครูท่าแค ผลการศึกษาพบว่า การประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูท่าแคที่จัดขึ้นบริเวณศาลพ่อขุนศรัทธานั้นเป็นไปเพื่อสถาปนาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ให้กับชุมชนบ้านท่าแคจากความเชื่อเรื่องขุนศรัทธาที่มีมาแต่อดีตให้ยังคงดำรงอยู่คู่กับชาวบ้านท่าแคพร้อมกับการแสดงถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่และความเชื่อโดยผ่านพิธีกรรมโนราโรงครูที่เชื่อมโยงไปถึงการมีตัวตนของขุนศรัทธากับบ้านท่าแคแห่งนี้จนนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมีพิธีกรรมโนราโรงครูท่าแคเป็นงานประจำปีของจังหวัดพัทลุงด้วยตามนโยบายส่งเสริม การท่องเที่ยวของจังหวัด จึงช่วยยกระดับชื่อเสียงพร้อมการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้มีความสำคัญมากขึ้นบนพื้นฐานการบริหารจัดการของชาวบ้านท่าแคเป็นแกนหลัก เพื่อปกป้องคุณค่าของความเชื่อเกี่ยวกับขุนศรัทธากับพิธีกรรมโนราโรงครูประจำปีที่ศาลพ่อขุนศรัทธาให้เป็นตัวประสานเชื่อมโยงจิตใจของคนในชุมชนเป็นหนึ่งเดียวกัน บำรุงรักษาสายใยความผูกพันที่เคยมีร่วมกันมาแต่อดีตให้คงอยู่ นอกจากนี้แล้วยังทำให้ศาลพ่อขุนศรัทธาเป็นที่เชิดชูของทั้งคนภายในชุมชนและประชาชนทั่วไปจากเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ให้เล่าขานสืบไป
The purpose of this research to study the model of cultural heritage management in beliefs and rituals which are focused on the Shrine Khun Sattha Ban Thakhae, Thakhae Village. The qualitative research collected all data in the field using participated action and non-participated action in ritual, formal and informal deep interviews, and focused group discussions with key informants from May 3-6, 2017. It was discovered that there were some rituals which occurred at the shrine area to establish a sacred space of the village that are related to Khun Sattha's belief, and the villagers can announce the possession of the belief and rituals through annual Rong Khru ritual too. At present, Phatthalung provincial authority supports in developing the shrine as a cultural tourist attraction, Rong Khru ritual is an annual tourist worship in the province as mandated from the local tourism development policy of the government. However, Thakhae villagers are also the core leaders for managing the activities and protecting the value of spiritual beliefs and holy rituals in this area, including preserving the relationship among all villagers and keeping them united. Thus, the shrine will be respected by inner villagers and tourists through time
The purpose of this research to study the model of cultural heritage management in beliefs and rituals which are focused on the Shrine Khun Sattha Ban Thakhae, Thakhae Village. The qualitative research collected all data in the field using participated action and non-participated action in ritual, formal and informal deep interviews, and focused group discussions with key informants from May 3-6, 2017. It was discovered that there were some rituals which occurred at the shrine area to establish a sacred space of the village that are related to Khun Sattha's belief, and the villagers can announce the possession of the belief and rituals through annual Rong Khru ritual too. At present, Phatthalung provincial authority supports in developing the shrine as a cultural tourist attraction, Rong Khru ritual is an annual tourist worship in the province as mandated from the local tourism development policy of the government. However, Thakhae villagers are also the core leaders for managing the activities and protecting the value of spiritual beliefs and holy rituals in this area, including preserving the relationship among all villagers and keeping them united. Thus, the shrine will be respected by inner villagers and tourists through time
Description
วัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล