The parental adaptation's model : influencing factors toward raising children with ASD
Issued Date
2023
Copyright Date
2012
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xv, 206 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Dr.P.H. (Health Education and Behavioral Sciences))--Mahidol University, 2012
Suggested Citation
Manika Wisessathorn The parental adaptation's model : influencing factors toward raising children with ASD. Thesis (Dr.P.H. (Health Education and Behavioral Sciences))--Mahidol University, 2012. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89977
Title
The parental adaptation's model : influencing factors toward raising children with ASD
Alternative Title(s)
โมเดลการปรับตัวของพ่อแม่ : ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลี้ยงดูบุตร ASD
Author(s)
Abstract
The study aimed to gain knowledge on the parental adaptation process in raising children with ASD by developing the parental adaptation model which demonstrated the associations among influencing factors to parental adaptation outcomes. The study was divided into two phases. In the first phase, in-depth interviews with 13 parents and 5 professionals were employed for identifying the influencing factors and adaptation outcomes in parents raising ASD children, and associations were drawn as the hypothesized model. In the second phase, data were collected from 303 parents for testing the significance of the model pathways and testing the level of model fit. The results revealed two stages of parental adaptation, including a pre-diagnosis stage and a post-diagnosis stage. Therefore, two models were tested with significant results. In the pre-diagnosis stage, it started with an observation of unusual behavior and/or delayed development of a child, and parents applied personal coping strategies to solve the ASD related problems, sought additional information on unusual child behaviors and normal development, and sought support from someone within and outside their network. The successfully adapted parents then decided to take their child to see the doctor and get a confirmation of the child's diagnosis. The pre-diagnosis model was proved to have a good model fit with chi-square test (x2= 3.001, p-value >.05), GFI= .996, CFI=.992, RMSEA =.041, RMR =.042, and NFI =.977. The post-diagnosis model started after parents learnt from the professionals of their child's diagnosis, then the confirmed diagnosis increased the level of stress in the parents. Parents should then put effort into accepting their child's diagnosis even though it was difficult; they redefined meaning and found positive aspects from the ASD related situation, used religion or spiritual principles, sought information related to the disorder and treatment, and sought social support. Finally, successfully adapted parents were able to continue taking their child to receive treatment and/or enroll him/her in a specialized education program for ASD, were able to practice skills with the child at home, were able to share information with other parents who are facing the same condition, have higher levels of self-efficacy for parenting an ASD child, and have good quality-of-life. The post-diagnosis model was proved as a good model fit with chi-square test (x2= 114.496, p-value < .05), GFI= .947, CFI=.950, RMSEA =.109, RMR =.705, and NFI =.939. The findings on the two stages of the parental adaptation model reflect a holistic adaptation process of parents for raising children with ASD and it gives suggestions to practitioners on how to support these parents so far.
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ในการดูแลบุตร ASD โดยการพัฒนาโมเดลการปรับตัวของพ่อแม่ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อผลลัพธ์ด้านการปรับตัวของพ่อแม่ ในการศึกษาครั้งนี้ จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพ่อแม่ที่มีบุตร ASD จำนวน 13 คน และผู้เชี่ยวชาญด้าน ASD จำนวน 5 คน เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของพ่อแม่และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในพ่อแม่ที่ปรับตัวได้จนสำเร็จ จากนั้นนำเสนอความสัมพันธ์ของปัจจัยและผลลัพธ์ที่พบในลักษณะของโมเดลต้นแบบ ในระยะที่สอง เป็นการเก็บข้อมูลด้วยแบบรายงานตนเองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพ่อแม่ที่มีบุตรเป็น ASD จำนวน 303 คน เพื่อทดสอบความถูกต้องของโมเดลต้นแบบด้วยสถิติผลจากการวิจัย พบว่า กระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรกเป็นกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ช่วงก่อนรับทราบผลวินิจฉัยของบุตร ในช่วงนี้ การปรับตัวจะเริ่มตั้งแต่การสังเกตเห็นความผิดปกติด้านพฤติกรรมและพัฒนาการที่ล่าช้าของบุตร พ่อแม่ที่ปรับตัวได้จะใช้กลวิธีในการจัดการปัญหาของบุตร ASD โดยวิธีเผชิญกับปัญหา ค้นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการที่เหมาะสมกับบุตร ค้นหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม ซึ่งผลลัพธ์ที่แสดงว่าพ่อแม่ปรับได้เป็นผลสำเร็จในขั้นนี้ คือการตัดสินใจพาบุตรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว สำหรับโมเดลการปรับตัวของพ่อแม่ในช่วงก่อนรับทราบผลวินิจฉัยของบุตรนี้ ได้รับการทดสอบทางสถิติว่าเป็นโมเดลที่มีความถูกต้องเป็นอย่างดี มีค่าไคร์-สแควร์ เป็น 3.001 (p-value >.05), GFI เป็น .996, CFI เป็น .992, RMSEA เป็น .041, RMR เป็น .042 และ NFI เป็น .977 สำหรับขั้นตอนที่สอง เป็นกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่หลังรับทราบผลการวินิจฉัยของบุตรจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผลการวินิจฉัยนี้จะทำให้พ่อแม่มีความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับบุตรเพิ่มขึ้นอย่างมาก พ่อแม่ที่ปรับตัวได้จะพยายามทำใจให้ยอมรับกับผลการวินิจฉัย แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ยาก พยายามหาข้อดีหรือมุมมองทางบวก ใช้หลักทางศาสนา ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคและการรักษา ตลอดจนการแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม ในขั้นตอนนี้ พ่อแม่ที่สามารถปรับตัวได้สำเร็จ คือพ่อแม่ที่สามารถพาบุตรเข้ารับการรักษาได้อย่าง่ต่อเนื่อง บางคนอาจนำบุตรเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาเฉพาะทางด้าน ASD มีการนำผลการฝึกฝนจากที่โรงเรียนหรือที่โรงพยาบาลมาฝึกทักษะและ พัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่องที่บ้าน สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพ่อแม่คนอื่นที่มีบุตรเป็นเด็กพิเศษเหมือนกัน มีศักยภาพในการดูแลเด็กที่เป็น ASD ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยโมเดลการปรับตัวของพ่อแม่ในช่วงหลังรับทราบผลการวินิจฉัยของบุตรนี้ ได้รับการทดสอบทางสถิติว่าเป็นโมเดลที่มีความถูกต้องเป็นอย่างดีพอสมควร มีค่าไคร์-สแควร์ เป็น 114.496 (p-value < .05), GFI เป็น .947, CFI เป็น .950, RMSEA เป็น .109, RMR เป็น .705 แบะ NFI เป็น .939 ผลการศึกษาทั้งสองขั้นตอนนี้ สะท้อนกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ในการดูแลบุตร ASD ในภาพรวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้สนับสนุนและ ส่งเสริมความสามารถของพ่อแม่ในการดูแลบุตรกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ในการดูแลบุตร ASD โดยการพัฒนาโมเดลการปรับตัวของพ่อแม่ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อผลลัพธ์ด้านการปรับตัวของพ่อแม่ ในการศึกษาครั้งนี้ จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพ่อแม่ที่มีบุตร ASD จำนวน 13 คน และผู้เชี่ยวชาญด้าน ASD จำนวน 5 คน เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของพ่อแม่และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในพ่อแม่ที่ปรับตัวได้จนสำเร็จ จากนั้นนำเสนอความสัมพันธ์ของปัจจัยและผลลัพธ์ที่พบในลักษณะของโมเดลต้นแบบ ในระยะที่สอง เป็นการเก็บข้อมูลด้วยแบบรายงานตนเองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพ่อแม่ที่มีบุตรเป็น ASD จำนวน 303 คน เพื่อทดสอบความถูกต้องของโมเดลต้นแบบด้วยสถิติผลจากการวิจัย พบว่า กระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรกเป็นกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ช่วงก่อนรับทราบผลวินิจฉัยของบุตร ในช่วงนี้ การปรับตัวจะเริ่มตั้งแต่การสังเกตเห็นความผิดปกติด้านพฤติกรรมและพัฒนาการที่ล่าช้าของบุตร พ่อแม่ที่ปรับตัวได้จะใช้กลวิธีในการจัดการปัญหาของบุตร ASD โดยวิธีเผชิญกับปัญหา ค้นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการที่เหมาะสมกับบุตร ค้นหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม ซึ่งผลลัพธ์ที่แสดงว่าพ่อแม่ปรับได้เป็นผลสำเร็จในขั้นนี้ คือการตัดสินใจพาบุตรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว สำหรับโมเดลการปรับตัวของพ่อแม่ในช่วงก่อนรับทราบผลวินิจฉัยของบุตรนี้ ได้รับการทดสอบทางสถิติว่าเป็นโมเดลที่มีความถูกต้องเป็นอย่างดี มีค่าไคร์-สแควร์ เป็น 3.001 (p-value >.05), GFI เป็น .996, CFI เป็น .992, RMSEA เป็น .041, RMR เป็น .042 และ NFI เป็น .977 สำหรับขั้นตอนที่สอง เป็นกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่หลังรับทราบผลการวินิจฉัยของบุตรจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผลการวินิจฉัยนี้จะทำให้พ่อแม่มีความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับบุตรเพิ่มขึ้นอย่างมาก พ่อแม่ที่ปรับตัวได้จะพยายามทำใจให้ยอมรับกับผลการวินิจฉัย แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ยาก พยายามหาข้อดีหรือมุมมองทางบวก ใช้หลักทางศาสนา ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคและการรักษา ตลอดจนการแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม ในขั้นตอนนี้ พ่อแม่ที่สามารถปรับตัวได้สำเร็จ คือพ่อแม่ที่สามารถพาบุตรเข้ารับการรักษาได้อย่าง่ต่อเนื่อง บางคนอาจนำบุตรเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาเฉพาะทางด้าน ASD มีการนำผลการฝึกฝนจากที่โรงเรียนหรือที่โรงพยาบาลมาฝึกทักษะและ พัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่องที่บ้าน สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพ่อแม่คนอื่นที่มีบุตรเป็นเด็กพิเศษเหมือนกัน มีศักยภาพในการดูแลเด็กที่เป็น ASD ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยโมเดลการปรับตัวของพ่อแม่ในช่วงหลังรับทราบผลการวินิจฉัยของบุตรนี้ ได้รับการทดสอบทางสถิติว่าเป็นโมเดลที่มีความถูกต้องเป็นอย่างดีพอสมควร มีค่าไคร์-สแควร์ เป็น 114.496 (p-value < .05), GFI เป็น .947, CFI เป็น .950, RMSEA เป็น .109, RMR เป็น .705 แบะ NFI เป็น .939 ผลการศึกษาทั้งสองขั้นตอนนี้ สะท้อนกระบวนการปรับตัวของพ่อแม่ในการดูแลบุตร ASD ในภาพรวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้สนับสนุนและ ส่งเสริมความสามารถของพ่อแม่ในการดูแลบุตรกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Degree Name
Doctor of Public Health
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Health Education and Behavioral Sciences
Degree Grantor(s)
Mahidol University