การเปลี่ยนผ่านในระบบการศึกษาจากระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสู่ระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
(ก-ซ), 104 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
วิปณา จันทร์วัฒนเดชากุล การเปลี่ยนผ่านในระบบการศึกษาจากระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสู่ระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93504
Title
การเปลี่ยนผ่านในระบบการศึกษาจากระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสู่ระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Transition in educational system from high school to university for students with visual impairment in Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยน ผ่านจากการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสู่ระดับอุดมศึกษา สภาพปัญหาในการศึกษา ระดับอุดมศึกษาและการบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย จำนวน 22 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบไปด้วยนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น บุคลากร และผู้อำนวยการศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาเพื่อคำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ในเชิงคุณภาพใช้วิธีการนำข้อมูลมาจัดกลุ่ม ถอดรหัสแล้วอธิบายความ ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น ร้อยละ 59.1 ได้รับการเตรียมความ พร้อมก่อนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 40.9 ไม่ได้รับ กลุ่มที่ได้รับการเตรียมความพร้อมกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมพบปัญหาในการศึกษาระดับอุดมศึกษาแตกต่างกันคือกลุ่มที่ได้รับการเตรียมความพร้อมพบปัญหาในการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2 ด้าน คือด้านการเข้าถึงสภาพแวดล้อมและด้านสังคม ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมพบปัญหาในการศึกษาระดับอุดมศึกษา 3 ด้านคือด้านการเข้าถึงสภาพแวดล้อม ด้านวิชาการและด้านสังคม ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาให้บริการแก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น 4 ด้าน คือ 1. บริการเสริมทักษะการใช้ชีวิตในสถาบันอุดมศึกษา 2. บริการจัดหาสื่อการเรียน การสอน 3. บริการจัดหาเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก 4. บริการช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาพบว่านักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น ร้อยละ 36.4 เคย ได้รับบริการ ร้อยละ 63.6 ไม่เคยได้รับบริการ
This quasi-quantitative and qualitative research is aimed at studying the transition of visually impaired students from high school level to university level, problems regarding studying in a university setting, and Disability Support Services (DSS) for 22 visually impaired students in Thailand. The sample group comprised visually impaired students, personnel and directors of Disability Support Service centers. The analysis was based on questionnaires and interviews. Descriptive statistics were applied to the study on the quantitative part. Methods of data categorization, decoding, and explanation were utilized on the qualitative part. The results showed that 59.1 percent of the students had taken pre-college preparatory programs while the rest, 40.9 percent, had not. Both groups were found to have different problems. Students who took pre-college preparatory programs had difficulty in two areas: accessing the environment and social adjustment. Those who did not take pre-college preparatory programs had difficulty in 3 areas: accessing the environment, academic support, and social adjustment. Disability Support centers offered four types of services to visually impaired students namely, 1.Training on additional skills concerning adaptation to college life, 2. Providing educational materials, 3. Equipment/assistive Technology services and 4. Other academic services. Out of all students involved in the study, 36.4 percent had received services from the support service centers of their institutions while the remaining 63.6 percent had not.
This quasi-quantitative and qualitative research is aimed at studying the transition of visually impaired students from high school level to university level, problems regarding studying in a university setting, and Disability Support Services (DSS) for 22 visually impaired students in Thailand. The sample group comprised visually impaired students, personnel and directors of Disability Support Service centers. The analysis was based on questionnaires and interviews. Descriptive statistics were applied to the study on the quantitative part. Methods of data categorization, decoding, and explanation were utilized on the qualitative part. The results showed that 59.1 percent of the students had taken pre-college preparatory programs while the rest, 40.9 percent, had not. Both groups were found to have different problems. Students who took pre-college preparatory programs had difficulty in two areas: accessing the environment and social adjustment. Those who did not take pre-college preparatory programs had difficulty in 3 areas: accessing the environment, academic support, and social adjustment. Disability Support centers offered four types of services to visually impaired students namely, 1.Training on additional skills concerning adaptation to college life, 2. Providing educational materials, 3. Equipment/assistive Technology services and 4. Other academic services. Out of all students involved in the study, 36.4 percent had received services from the support service centers of their institutions while the remaining 63.6 percent had not.
Description
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล