โครงสร้างบทสนทนาภาษามือไทย : กรณีศึกษาบทสนทนาในชั้นเรียน
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ฒ, 229 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ศศิวิมล คงสุวรรณ โครงสร้างบทสนทนาภาษามือไทย : กรณีศึกษาบทสนทนาในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92667
Title
โครงสร้างบทสนทนาภาษามือไทย : กรณีศึกษาบทสนทนาในชั้นเรียน
Alternative Title(s)
Thai sign language conversational structure : a case of classroom setting
Author(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างบทสนทนาภาษามือไทยระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนหูหนวกศึกษา วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บข้อมูลช่วงชั้นปี ที่ 1 และช่วง ชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2557 ทั้งสิ้น 3 รายวิชา เป็นระยะเวลา 102 ชั่วโมง โดยใช้กรอบแนวคิดการวิเคราะห์บทสนทนาของ Sacks, Schegloff and Jefferson ผลการศึกษาพบว่า บทสนทนาภาษามือไทยภายในชั้นเรียนหูหนวกศึกษาระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมีโครงสร้าง (Conversation structure) กฎการครองผลัด (Turn - taking System) กล่าวคือ มีโครงสร้างของบทสนทนาเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ แต่ขั้นตอนการเปิดหรือปิดการสนทนามีรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ต่างจากที่ Levinson (1983) เสนอไว้ ในส่วนของกฎการครองผลัดพบว่า ผู้สอนมีอำนาจในการควบคุมการจัดสรรผลัดในชั้นเรียนโดยใช้กฎการเลือกผู้อื่น (ผู้เรียน) เป็นผู้พูดคนถัดไปมากที่สุด เนื่องจากผู้สอนต้องการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนแบบเจาะจงและเลือกแบบไม่เจาะจงเพื่อไม่ให้ชั้นเรียนเกิดความวุ่นวาย นอกจากนี้การสนทนาในชั้นเรียนยังมีลักษณะสำคัญ ๆ อื่นที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎพื้นฐานของการสนทนาทั่วไป ลักษณะแรกคือการปรับแก้ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด ตอบไม่ชัดเจน หรือเกิดความเข้าใจผิดเนื่องจากความไม่รู้และทักษะการใช้ภาษามือไทยและภาษาไทยของผู้เรียนที่ยังไม่แข็งแรง จึงทำให้พบการปรับแก้ปัจจัยผู้อื่น (ผู้สอนและผู้เรียนคนอื่น ๆ ) เป็นผู้เริ่มการพูด (other initiate) และปัจจัยผู้เรียนเจ้าของแหล่ง ปัญหาเป็นผู้ปรับแก้ (Self-repair) เป็นปัจจัยที่พบได้มากที่สุด ในส่วนของการพูดซ้อนเหลื่อมระหว่างผู้สอนและ ผู้เรียน เมื่อมีการพูดซ้อนเกิดขึ้นก็จะมีการแก้ไข้การพูดซ้อนโดยอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากการพูดซ้อนเหลื่อมระหว่างผู้เรียนด้วยกันที่มีการชิงผลัดการพูดเกิดขึ้นมากกว่าการสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เนื่องจากอำนาจในการสื่อสารที่ไม่เท่าเทียมกัน และลักษณะการแสดงว่ารับฟังอยู่นอกจากการพยักหน้าที่พบได้มากที่สุดเนื่องจากเป็น การสื่อสารแบบเห็นหน้าคู่สนทนาแล้ว ยังมีการใช้ถ้อยคำสั้น ๆ แสดงการรับรองที่พบได้มากที่สุดรองจากการพยักหน้า นอกจากนี้การใช้การซ้ำคำเพื่อแสดงว่ารับฟังอยู่ในภาษามือยังบอกลักษณะการสื่สารภายในตัวเองของผู้เรียนที่มักใช้เพื่อแสดงถึงการทบทวน คิดตามสิ่งที่ผู้สอนกำลังพูดอยู่อีกด้วย
The aim of this study was to analyze the conversational structure of the Thai Sign Language between teachers and the students in the class for the Deaf Studies in Ratchasuda College of Mahidol University. Data were collected from first and fourth-year students' undertaking classes from three courses, totaling 102 hours. This study was based on the framework of Sacks, Schegloff and Jefferson. The findings revealed that the conversation structure and turn-taking system of the Thai Sign Language between the teachers and the students were similar to those of other languages. There were three components of the conversation, which may differ in details from Levinson's work. In the turn-taking system, which was the core of conversation, the teacher controlled turn allocation, by selecting the student to speak, answer, or give a comment. There were other aspects which did not follow the A-B-A-B pattern of turn - taking in which only one spoke at a time. Repair was employed the first aspect when the student's answer was incorrect, unclear, or when the task was misunderstands. The repair processes were most commonly found in the classroom were other-initiated and self-repair, the second aspect was overlapping, which occurred in teacher-students and student-student conversation. If it appeared in the teacher-students conversation, it would be solved automatically. But the in the student - student conversation was different. The last aspect was the backchannel, besides the nod, the most frequently used backchannel response was the short verbalization, where the repetition of previous utterances by an interlocutor was a part of backchanneling which presents the inner speech of students
The aim of this study was to analyze the conversational structure of the Thai Sign Language between teachers and the students in the class for the Deaf Studies in Ratchasuda College of Mahidol University. Data were collected from first and fourth-year students' undertaking classes from three courses, totaling 102 hours. This study was based on the framework of Sacks, Schegloff and Jefferson. The findings revealed that the conversation structure and turn-taking system of the Thai Sign Language between the teachers and the students were similar to those of other languages. There were three components of the conversation, which may differ in details from Levinson's work. In the turn-taking system, which was the core of conversation, the teacher controlled turn allocation, by selecting the student to speak, answer, or give a comment. There were other aspects which did not follow the A-B-A-B pattern of turn - taking in which only one spoke at a time. Repair was employed the first aspect when the student's answer was incorrect, unclear, or when the task was misunderstands. The repair processes were most commonly found in the classroom were other-initiated and self-repair, the second aspect was overlapping, which occurred in teacher-students and student-student conversation. If it appeared in the teacher-students conversation, it would be solved automatically. But the in the student - student conversation was different. The last aspect was the backchannel, besides the nod, the most frequently used backchannel response was the short verbalization, where the repetition of previous utterances by an interlocutor was a part of backchanneling which presents the inner speech of students
Description
ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล