การบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นผ่านกระบวนการละครภาพ
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย | |
dc.contributor.advisor | จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร | |
dc.contributor.author | ปัทฐมิกา ปิ่นเงิน | |
dc.date.accessioned | 2024-07-09T02:07:26Z | |
dc.date.available | 2024-07-09T02:07:26Z | |
dc.date.copyright | 2563 | |
dc.date.created | 2563 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | จิตตปัญญาศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563) | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงมิติภายในของเยาวชนเรื่องความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นผ่านการใช้กระบวนการละครภาพ และ 2. ศึกษาคุณลักษณะของกระบวนการละครภาพที่มีความเหมาะสมต่อการบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นในเยาวชนช่วงอายุ 13 - 16 ปี ของโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัยมาบเอื้อง โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยคือ เด็กและเยาวชนช่วงอายุ 13 - 16 ปี ของโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัยฯ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ กระบวนการละครภาพบูรณาการกับกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา โดยเก็บข้อมูลผ่านการเขียนสะท้อน การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และบันทึกข้อมูลผ่านสมุดบันทึก ภาพถ่าย คลิปเสียง และคลิปวีดิโอ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ผู้เข้าร่วมวิจัยมีความเข้าอกใจเข้าผู้อื่นเพิ่มมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างกันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีการเปิดใจรับฟังกันมากขึ้น สามารถยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างกันลดลง เกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น 2. กระบวนการละครภาพที่มีความเหมาะสมต่อการบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นของผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มนี้ คือ กระบวนการที่สร้างการเรียนรู้จาก (1)การเป็นตัวละคร (2)การฟังอย่างลึกซึ้ง (3)การทำงานร่วมกัน และ(4)การภาวนาเป็นคุณลักษณะหลัก 4 ประการที่ผู้เข้าร่วมวิจัยสะท้อนว่าก่อให้เกิดการบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น อีกทั้งกระบวนการต้องมี (5)บรรยากาศสนุกสนาน (6)เนื้อหาเหมาะสมกับช่วงอายุและบริบทของกลุ่ม รวมทั้ง (7)การจัดกระบวนการที่ยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยคุณลักษณะหลักทั้ง 4 ประการของกระบวนการ บ่มเพาะคุณสมบัติในตัวผู้เข้าร่วม 6 ประการ คือ 1)การตระหนักรู้ในตนเอง 2)ความเชื่อใจและการเปิดใจ 3)การปรับตัว 4)ความเข้าใจ 5) การยอมรับและการเคารพ 6)ความสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 6 ประการนี้เป็นองค์ประกอบของการเกิดความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น | |
dc.description.abstract | The purpose of this research is to study the inner change of youth about growing empathy through Image Theatre process and to study the characteristics of the Image Theatre process that are suitable for growing empathy in youth aged between 13- 16 years of Putalay Maha Witchalai Mab Aung School. This is a qualitative research using research method in the form of action research. The research participants are 15 students of Putalay Maha Witchalai Mab Aung School, aged between 13 - 16 years. The tools used in this research are the process of Image Theatre integrated with Contemplative Education. The data were collected by written reflections, in- depth interviews, observations, and recorded data through notebooks, photos, audio clips, and video clips. The results found that the participants were more empathic to each other in which their relationships have been changed in a better way. Moreover, they listened open-mindedly and were able to accept and respect differences among each other and, as a consequence, the conflicts in relationship have been resolved and unity became stronger. The Image theatre processes that were suitable for this group of participants consisted of characterization, deep listening, collaboration and contemplation. These are 4 main factors for growing empathy that the participants had reflected. In addition, another supporting factors are: the processes must be fun, the activities and stories must be suitable for the age as well as context of the group and, finally, the process should be adjusted to be as flexible as possible to be appropriate for the teaching and learning schedule of the school. The results also showed that those 4 main factors could help growing 6 inner qualities of the participants namely self- awareness, trust and open-mindedness, self- adjustment, understanding, acceptance- and- respect, and connection- and- unity. These are essential qualities that lead to empathy. | |
dc.format.extent | ก-ต, 276 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99538 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | จิตตปัญญาศึกษา | |
dc.subject | การร่วมรู้สึก | |
dc.title | การบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นผ่านกระบวนการละครภาพ | |
dc.title.alternative | Growing empathy through image theatre | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2563/562/5838323.pdf | |
thesis.degree.department | ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา | |
thesis.degree.discipline | จิตตปัญญาศึกษา | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |