กระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาสำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 132 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
สุธิมา อารมย์เกลี้ยง กระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาสำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92895
Title
กระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาสำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี
Alternative Title(s)
Registration process of migrant workers : case study of Pathumthani Employment Office
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อความเหมาะสมของกระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ สำนักงานจัดหางาน จังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า และกระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ที่มีต่อผลลัพธ์ของการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ สำนักงานจัดหางาน จังหวัดปทุมธานี (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาของกระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติต่อสำนักงานจัดหางาน จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของกระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ แบ่งออกป็น 2 ส่วน 1)ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ สถานที่ ค่าใช้จ่าย การประชาสัมพันธ์ และ เจ้าหน้าที่ในภาพรวมมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่านโยบาย กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติมีความชัดเจนจึงทำให้ผู้รับบริการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ มีความนิยมชมชอบและมีความคิดเห็นที่ดีต่อแนวทางของกระบวนการดำเนินการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ สถานที่กว้างขวาง สะดวก จึงทำให้ผู้รับบริการมีความอยากมาจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ในส่วนของเจ้าหน้าที่พบว่ามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด บ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการด้านการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ 2)กระบวนการ ได้แก่ การให้บริการ ขั้นตอน และระยะเวลาในการดำเนินการตามภาพรวมมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) มีความเหมาะสมอย่างมากในด้านกระบวนการให้บริการแต่เมื่อจัดลำดับความสำคัญพบว่าน้อยที่สุด แสดงว่าการให้บริการยังไม่ตอบสนองต่อผู้รับบริการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าและผลผลิต ในการดำเนินงานของกระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ สำนักงานจัดหางาน จังหวัดปทุมธานีในภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด แสดงว่าการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) มีความเหมาะสมเนื่องจากลดภาระขั้นตอนยุ่งยาก ลดการใช้ระยะเวลาในการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ
This research aims (1) to study the opinions of entrepreneurs on the appropriateness of the registration of migrant workers. Employment Office Pathum Thani (2) to study the relationship between inputs. And migrant registration process With the outcome of the migrant registration. Employment Office Pathum Thani (3) to recommend the issue of migrant registration process. The Employment Office Pathumthani The results showed that The opinions on the appropriateness of the migrant registration process is divided as two parts: 1) inputs, including policies, laws, rules and regulations at the expense of public relations. And the officer in overall opinion on the most appropriate level. That policies, laws, regulations It is unclear who registered migrants. The popularity and good feedback on the process of the registration of migrant workers. Spacious place to ensure patients are not registered migrants. The officer found that the average minimum. Indicates that the authorities are not sufficient to serve the migrant registration 2) the process is to provide the process and timing of the implementation of the overall opinion on the most appropriate level. That the registration of migrant workers in total (One Stop Service) are appropriate in the field service processes, but when priorities were minimal. Indicates that the service is not responding to clients. The relationship between input and output. In the process of registering migrants. Employment Office Pathum Thani province as a whole is most appropriate. That the registration of migrant workers in total (One Stop Service) is appropriate because the burden cumbersome process. Reducing the duration of the registration of migrant workers.
This research aims (1) to study the opinions of entrepreneurs on the appropriateness of the registration of migrant workers. Employment Office Pathum Thani (2) to study the relationship between inputs. And migrant registration process With the outcome of the migrant registration. Employment Office Pathum Thani (3) to recommend the issue of migrant registration process. The Employment Office Pathumthani The results showed that The opinions on the appropriateness of the migrant registration process is divided as two parts: 1) inputs, including policies, laws, rules and regulations at the expense of public relations. And the officer in overall opinion on the most appropriate level. That policies, laws, regulations It is unclear who registered migrants. The popularity and good feedback on the process of the registration of migrant workers. Spacious place to ensure patients are not registered migrants. The officer found that the average minimum. Indicates that the authorities are not sufficient to serve the migrant registration 2) the process is to provide the process and timing of the implementation of the overall opinion on the most appropriate level. That the registration of migrant workers in total (One Stop Service) are appropriate in the field service processes, but when priorities were minimal. Indicates that the service is not responding to clients. The relationship between input and output. In the process of registering migrants. Employment Office Pathum Thani province as a whole is most appropriate. That the registration of migrant workers in total (One Stop Service) is appropriate because the burden cumbersome process. Reducing the duration of the registration of migrant workers.
Description
รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
รัฐประศาสนศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล