Promoting inquiry-based teaching practices through an aquatic toxicology laboratory
dc.contributor.advisor | Bhinyo Panijpan | |
dc.contributor.advisor | Pintip Ruenwongsa | |
dc.contributor.advisor | Watcharee Ketpichainarong | |
dc.contributor.author | Bunlung Nuangsaeng | |
dc.date.accessioned | 2023-09-06T01:58:49Z | |
dc.date.available | 2023-09-06T01:58:49Z | |
dc.date.copyright | 2010 | |
dc.date.created | 2010 | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นแผนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้บทปฏิบัติการด้านมลพิษทางน้ำ ที่ได้พัฒนาร่วมกับครูผู้สอนในวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการศึกษา ผลของฮอร์โมนเพศจำนวน 6 ชนิด ต่อการพัฒนาตัวอ่อนของปลา zebrafish (Danio rerio) จากตัวอ่อนอายุ 6-8 ชั่วโมงหลังจากการปฏิสนธิจนถึงระยะที่ลูกปลาฟักออกจากไข่ โดยจะสิ้นสุดการทดลองที่ 96 ชั่วโมงหลังจากไข่ ได้รับการปฏิสนธิ ผลการศึกษาพบว่า ฮอร์โมนเพศมีผลต่อการพัฒนาตัวอ่อนจากระดับที่ทำให้การพัฒนาตัวอ่อน ผิดปกติเล็กน้อยจนถึงระดับที่ทำให้ตัวอ่อนของปลาตายได้ แม้ว่าตัวอ่อนของปลา zebrafish จะมีอัตราการตายต่ำ แต่ฮอร์โมนที่ระดับความเข้มข้นของ 5-500 ng/mL มีผลทำให้ตัวอ่อนมีพัฒนาการช้าลง ลักษณะการพัฒนาที่ ผิดปกติของตัวอ่อนทำให้ตัวอ่อนมีรูปร่างของถุงไข่แดงและลำตัวเปลี่ยนแปลงไป และอาจพบหัวใจและส่วนของ ช่องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นคล้ายอาการบวมน้ำ ผลงานทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นบทปฏิบัติการทดลองแบบสืบเสาะหาความรู้ ในหน่วยการเรียนที่มี 7 บทเรียน โดยครูผู้สอนได้รับการฝึกอบรมทักษะการดำเนินกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ด้าน มลพิษทางน้ำก่อนทำการสอน เครื่องมือที่ใช้สำหรับประเมินผลสัมฤทธิ์ของครูและนักเรียน ได้แก่ โครงงาน วิทยาศาสตร์ของนักเรียน และการนำเสนอผลงาน ผลสะท้อนจากนักเรียนและครู การสัมภาษณ์ครูผู้สอน และการ สังเกตกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของหน่วยการเรียนแบบ สืบเสาะหาความรู้ต่อผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนของนักเรียนเมื่อเปรียบเทียบการสอนแบบปกติ ผมสัมฤทธิ์ต่อการ เรียนทั้งด้านความรู้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติ ทักษะการเรียนแบบการสืบเสาะหาความรู้ และทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ นอกจากนี้นักเรียนมี ทักษะการสื่อสารมากขึ้นจากการทำงานเป็นกลุ่ม จากการสัมภาษณ์และผลสะท้อนจากครูผู้สอนพบว่ารูปแบบ แผนการสอนมีการปรับเปลี่ยนตลอดช่วงเวลาทำการศึกษา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าครูผู้สอนมี ความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้นในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้บทปฏิบัติการทดลอง และครูมีความมั่นใจสูงขึ้น ในการตอบคำถามต่อข้อสงสัยของนักเรียน | |
dc.format.extent | xiv, 114 leaves : ill. (some col.) | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (Ph.D. (Science and Technology Education))--Mahidol University, 2010 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89402 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Water -- Pollution -- Toxicology -- Study and teaching | |
dc.subject | Science -- -- Study and teaching | |
dc.subject | Teachers -- Training of -- Thailand | |
dc.subject | Toxicology -- Animal models -- Study and teaching | |
dc.title | Promoting inquiry-based teaching practices through an aquatic toxicology laboratory | |
dc.title.alternative | การเสริมสร้างแบบการสอนโดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ด้วยบทปฏิบัติการมลพิษทางน้ำ | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd446.1/4838743.pdf | |
thesis.degree.department | Institute for Innovative Learning | |
thesis.degree.discipline | Science and Technology Education | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Doctoral Degree | |
thesis.degree.name | Doctor of Philosophy |