ศึกษาการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรร่วมเพื่อการเพาะปลูกข้าวในหมู่ที่ 11 บ้านคลองเปรง ตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 223 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
วีระวัชร์ ธงเกียรติเจริญ (2567). ศึกษาการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรร่วมเพื่อการเพาะปลูกข้าวในหมู่ที่ 11 บ้านคลองเปรง ตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91600
Title
ศึกษาการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรร่วมเพื่อการเพาะปลูกข้าวในหมู่ที่ 11 บ้านคลองเปรง ตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
Alternative Title(s)
Utilization of common water resources for rice plantation in Moo 11 Bankhlongpreng, Khlongpreng sub-district, Muang Chachoengsao district, Chachoengsao province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรร่วมเพื่อการเพาะปลูกข้าวในหมู่ที่ 11 บ้านคลองเปรง ตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ แนวทางการใช้ประโยชน์ และแนวทางการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรร่วมเพื่อการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่หมู่ที่ 11 ซึ่งผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์กลุ่มเป็นเครื่องมือในการศึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ทั้ง 6 กลุ่ม จำนวน 48 ราย ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่ท้าการศึกษาหมู่ที่ 11 เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าวสูง เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศที่เหมาะสม และมีคลองเปรงที่เป็นคลองส่งน้ำสำคัญไหลผ่าน โดยรับน้ำจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต ซึ่งน้ำใน คลองเปรงถือเป็นทรัพยากรร่วมที่สำคัญและถูกใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกข้าวเป็นหลักตลอดทั้งปี รูปแบบในการใช้ประโยชน์จากคลองเปรง มีทั้งการสูบน้ำเข้าสู่แปลงโดยตรงและสูบเข้าสู่หลอดน้ำที่ขุดเชื่อมไปยังแปลงเพาะปลูกข้าว และมีช่วงเวลาใช้น้ำช่วงเดียวกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากคลองเปรงเพื่อการเพาะปลูกข้าวมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีปัจจัยภายใน ได้แก่ ขนาดและจำนวนพื้นที่เพาะปลูกข้าว วิธีการเพาะปลูก ระยะห่างระหว่างแหล่งน้ำกับพื้นที่เพาะปลูกข้าว ความพร้อมของเทคโนโลยีด้านการเกษตร การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัย จำนวนแรงงานที่ทำการเพาะปลูกข้าว และการประกอบอาชีพที่มีความต้องการใช้น้ำสูง และปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาทางธรรมชาติ ความต้องการข้าวของตลาด และปัญหาเน่าเสียของแหล่งน้ำ เมื่อทำการศึกษาปัญหาอุปสรรคที่เป็นประเด็นสำคัญและส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรร่วมเพื่อการเพาะปลูกข้าว ได้แก่ ฤดูกาล น้ำทะเลที่หนุนเข้ามาในพื้นที่ วัชพืชและความเน่าเสีย นโยบายของภาครัฐ และอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณมาก และ ในส่วนของข้อเสนอแนะที่มีต่อแนวทางการใช้ประโยชน์ผู้วิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ ควรทำการเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ควรรวบรวมปริมาณเนื้อที่และสำรวจช่วงเวลาการเพาะปลูกข้าว ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้น้ำหรือตรวจสอบความต้องการน้ำจากผู้ที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าว ควรให้ผู้น้ำในพื้นที่เป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งกลุ่มการบริหารจัดการน้ำฯ ขึ้น ควรพิจารณาทบทวนกฎกติกาการใช้ประโยชน์เป็นประจำ ควรมีการสรุปผลการดำเนินงานเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบและพัฒนาการดำเนินงาน ควรช่วยกันดูแลรักษาคลอง เปรงให้มีความสะอาดเพื่อให้สามารถน้ำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาชี้แจงรายละเอียดหรือให้ความรู้แก่ ประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งปรึกษาหารือร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดแผนการใช้น้ำ รวมถึงเข้ามามีส่วน ร่วมในการพัฒนาและบริหารจัดการด้วย ในส่วนของผลการศึกษาเรื่องการเสนอแนวทางการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำที่เป็นทรัพยากรร่วม จากผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ควรดำเนินการด้วยชุมชน กล่าวคือ ควรให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการด้วยชุมชนเอง โดยเน้นเรื่อง ความชัดเจนของขอบเขตการจัดการ การกำหนดกฎกติกาในการใช้ประโยชน์ การสอดส่องดูแล การกำหนดบทลงโทษอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีกลไกการจัดการความขัดแย้ง รวมถึงการจัดการทรัพยากรที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับระบบที่ใหญ่กว่าที่เชื่อมโยงกับพื้นที่หรือทรัพยากรส่วนอื่นๆ และการประสานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย
The propose of the utilization of common water resource for rice plantation is to study patterns of utilization, related factors, problems, obstacles, suggestions, and ways of common water resource utilization management for rice plantation in Moo 11. A qualitative research method was employed through observation, in-depth interview, and group interview with the 48 stakeholders divided equally into 6 groups. The results revealed that the studied area Moo 11 got high rate of rice plantation due to proper landscape, weather, and Preng Canal, delivery canal, and flowing through. Preng Canal receives water from Water Delivery and Maintenance Project of Phra Ong Chaiyanuchit. It is used as important common resource for rice plantation throughout the year. Patterns of Preng Canal utilization includes directly pumping to paddy and pumping to water delivery route which happen at the same time. Factors affecting Preng Canal utilization for rice plantation were both internal and external. Internal factors were size and quantity of paddy, rice growing method, distance between water and paddy, agricultural technology prompt, land ownership possession, location of residence, number of workers in rice plantation, and work tasks that need much water. External factors covered government policy, economic change, natural problems, rice demand in market, and polluted water. Community leaders should create water management group, often revise rules and principles of water utilization, and summarize work processes for checking and development. Besides, they should always keep Preng Canal clean and cooperate with relevant sectors to give people necessary information that they can together discuss, exchange opinions, plan water usage, and participate in development and management. It is suggested that the common pool resource utilization should be launched by the community. The community should manage itself by focusing on the clarity of management's range, making rules for utilization, monitoring, gradually appointing punishment, having conflict resolution mechanisms, managing resource regarding to Nested Enterprises that links to area or other resources, and cooperating with relevant external sectors.
The propose of the utilization of common water resource for rice plantation is to study patterns of utilization, related factors, problems, obstacles, suggestions, and ways of common water resource utilization management for rice plantation in Moo 11. A qualitative research method was employed through observation, in-depth interview, and group interview with the 48 stakeholders divided equally into 6 groups. The results revealed that the studied area Moo 11 got high rate of rice plantation due to proper landscape, weather, and Preng Canal, delivery canal, and flowing through. Preng Canal receives water from Water Delivery and Maintenance Project of Phra Ong Chaiyanuchit. It is used as important common resource for rice plantation throughout the year. Patterns of Preng Canal utilization includes directly pumping to paddy and pumping to water delivery route which happen at the same time. Factors affecting Preng Canal utilization for rice plantation were both internal and external. Internal factors were size and quantity of paddy, rice growing method, distance between water and paddy, agricultural technology prompt, land ownership possession, location of residence, number of workers in rice plantation, and work tasks that need much water. External factors covered government policy, economic change, natural problems, rice demand in market, and polluted water. Community leaders should create water management group, often revise rules and principles of water utilization, and summarize work processes for checking and development. Besides, they should always keep Preng Canal clean and cooperate with relevant sectors to give people necessary information that they can together discuss, exchange opinions, plan water usage, and participate in development and management. It is suggested that the common pool resource utilization should be launched by the community. The community should manage itself by focusing on the clarity of management's range, making rules for utilization, monitoring, gradually appointing punishment, having conflict resolution mechanisms, managing resource regarding to Nested Enterprises that links to area or other resources, and cooperating with relevant external sectors.
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล