ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับพลวัตการพัฒนาท้องถิ่นบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

dc.contributor.advisorชิตชยางค์ ยมาภัย
dc.contributor.authorภัทรา ทิพย์ภาระ
dc.date.accessioned2024-01-23T06:22:40Z
dc.date.available2024-01-23T06:22:40Z
dc.date.copyright2555
dc.date.created2567
dc.date.issued2555
dc.descriptionพัฒนาชนบทศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และศึกษาพลวัตการพัฒนาในท้องถิ่น ขอบเขตในการวิจัยมุ่งศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นครอบคลุม ความสัมพันธ์ของคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์มุขปาฐะ พื้นที่วิจัยคือ ท้องถิ่นบางขุนไทรตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาพบว่าพลวัตการพัฒนาท้องถิ่นบางขุนไทรแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเริ่มต้นของการก่อร่างสร้างตัวของชุมชนซึ่งมีกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบด้วย ชาวจีน ชาวลาว คนในท้องถิ่น และคนมุสลิม อันเป็นความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติศาสนา และบางขุนไทรยังมีความหลากหลายทางระบบนิเวศน์ที่สำคัญ ทำให้เป็นชุมชนที่พึ่งตนเองในทุกๆด้าน ช่วงที่สองคือช่วงประมาณปี 2511-2515 บางขุนไทรได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น มีการขุดคลองชลประทาน การสร้างเขื่อนเพชรบุรี การสร้างถนนคันกั้นน้ำเค็ม ทำให้ความเจริญทางวัตถุ ในท้องถิ่น ช่วงที่ 3 คือช่วงปี 2534-2536 เป็นช่วงที่ คนนอกท้องถิ่นเข้ามาใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างเข้มข้น สร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในชุมชนหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญคือ การรวมตัวของชาวบ้าน เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของชุมชน จนเป็นที่ยอมรับของสังคม ช่วงที่ 4 คือ ช่วงปี 2544-2548 เป็นช่วงที่ชุมชนได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติเขียวเกิดภาระหนี้สิน แต่ชุมชนสามารถแก้วิกฤติจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านในการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นที่รู้จักและเป็นแบบอย่างของชุมชนอื่น จึงสรุปได้ว่า ชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะสามารถแบ่งปันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน มีการพึ่งพาอาศัยแลกเปลี่ยนทรัพยากรสำหรับการดำรงชีวิตอย่างสมดุล และมีความทรงจำร่วมในเรื่องสำนึกรักในท้องถิ่น การพัฒนาท้องถิ่นให้ชาวชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้น กลุ่มคนต่างๆ จำต้องมีการรับรู้อดีตร่วมกัน เพื่อเข้าใจ ชื่นชม ยินดีกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นพลวัตในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ต่อไป
dc.format.extentก-ซ, 111 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93616
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectความหลากหลายทางวัฒนธรรม
dc.subjectประวัติศาสตร์ท้องถิ่น -- ไทย -- เพชรบุรี
dc.titleความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับพลวัตการพัฒนาท้องถิ่นบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
dc.title.alternativeThe diversity of culture and dynamics of development : a case study of Bang Khun Sai Ban-Laem district Phetchaburi province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd467/5037458.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineพัฒนาชนบทศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files