แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น : กรณีศึกษา ชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Issued Date
2567
Copyright Date
2564
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฑ, 192 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564
Suggested Citation
สาวิณี นาคขวัญ แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น : กรณีศึกษา ชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99519
Title
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น : กรณีศึกษา ชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Alternative Title(s)
Ecotourism management approach by local community potential : a case study of Kiriwong community, Kamlon sub-district, Lan Saka district, Nakhon Si Thammarat province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับศักยภาพของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างตัวแทนครัวเรือน 303 ครัวเรือน และกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญ 5 คนที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนคีรีวงจำนวน 6 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างกลุ่มตัวแปรอิสระและตัวแปรตามใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง (SWOT Analysis) และการวิเคราะห์กำหนดกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง (TOWS Matrix) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพของประชาชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพบว่า ปัจจัยการได้รับประโยชน์จากกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวนปีการศึกษา การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การเป็นสมาชิกกลุ่มที่มีการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม จำนวนปีที่อยู่อาศัย และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน สามารถร่วมกันพยากรณ์คะแนนศักยภาพของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวงพบว่า แนวทางการดำเนินงานที่ควรปฏิบัติประกอบด้วย 1.โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2.โครงการการส่งเสริมความยั่งยืนของการประกอบอาชีพในชุมชน 3.โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในชุมชนและการปลูกฝังจิตสำนึก 4.โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนักท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ
This research has its objectives to study the potential level of people in Kiriwong Community in ecotourism management, factors affecting people's potential in managing ecotourism, and approach in ecotourism management of the community. Data collection employed surveying sampled 303 household representatives and 5 staff from Special Area Development Management Organization for Sustainable Tourism (Public Organization) together with in-depth interviewing 6 key informants who live in the community. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics - such as frequency distribution, percentage, means, standard deviation, maximum and minimum - and inferential statistics, such as regression analysis to analyze the linear relationship between dependent and independent variables. Qualitative data from the in-depth interview were analyzed using Strength-Weakness-Opportunity-Threat Analysis (SWOT Analysis) and Threat-Opportunity-Weakness-Strength Matrix (TOWS Matrix) to set up an ecotourism management approach for the community. The research found that the studied sample had its potential in managing ecotourism at a moderate level. Factors affecting the potential of people in ecotourism management included benefit gain from ecotourism activities, education years, access to ecotourism-related information, environmental group membership, settlement years, and average monthly income. These factors could predict the potential of people in ecotourism management with statistical significance at 0.05 level. The study of the ecotourism management approach for the community found that the operational guidelines that should be followed included 1. ecotourism enhancement project, 2. project to promote the sustainability of occupation in the community, 3. a project to promote personnel potential in the community and cultivate consciousness, and 4. responsible tourist awareness program.
This research has its objectives to study the potential level of people in Kiriwong Community in ecotourism management, factors affecting people's potential in managing ecotourism, and approach in ecotourism management of the community. Data collection employed surveying sampled 303 household representatives and 5 staff from Special Area Development Management Organization for Sustainable Tourism (Public Organization) together with in-depth interviewing 6 key informants who live in the community. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics - such as frequency distribution, percentage, means, standard deviation, maximum and minimum - and inferential statistics, such as regression analysis to analyze the linear relationship between dependent and independent variables. Qualitative data from the in-depth interview were analyzed using Strength-Weakness-Opportunity-Threat Analysis (SWOT Analysis) and Threat-Opportunity-Weakness-Strength Matrix (TOWS Matrix) to set up an ecotourism management approach for the community. The research found that the studied sample had its potential in managing ecotourism at a moderate level. Factors affecting the potential of people in ecotourism management included benefit gain from ecotourism activities, education years, access to ecotourism-related information, environmental group membership, settlement years, and average monthly income. These factors could predict the potential of people in ecotourism management with statistical significance at 0.05 level. The study of the ecotourism management approach for the community found that the operational guidelines that should be followed included 1. ecotourism enhancement project, 2. project to promote the sustainability of occupation in the community, 3. a project to promote personnel potential in the community and cultivate consciousness, and 4. responsible tourist awareness program.
Description
เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2564)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
Degree Discipline
เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล