การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การตีทับลิมนต์ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

dc.contributor.advisorณัฐชยา นัจจนาวากุล
dc.contributor.advisorอนรรฆ จรัณยานนท์
dc.contributor.authorดลธร เตชะสุขิตกุล
dc.date.accessioned2024-01-15T01:45:35Z
dc.date.available2024-01-15T01:45:35Z
dc.date.copyright2561
dc.date.created2567
dc.date.issued2561
dc.descriptionดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้การตีทับลิมนต์ตามแนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งศึกษากระบวนการถ่ายทอดเพื่อการอนุรักษ์และการเรียนรู้การตีทับลิมนต์ ซึ่งเป็นพิธีกรรมท้องถิ่นในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เพื่อใช้กับการศึกษาในระบบและผู้ที่สนใจทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า ลิมนต์ เป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมรักษาโรคภัยไข้เจ็บและสอนสั่งผู้คนไปในคราวเดียวกัน โดยใช้การตีทับขับบทประกอบไปจนเสร็จพิธี ปัจจุบันนี้ความเชื่อดังกล่าวยังปรากฏทั่วไปในภาคใต้ แต่ไม่ได้รับความนิยมดังเดิมเนื่องด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ผู้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงได้ง่าย ส่งผลให้พิธีกรรมและความเชื่อดังกล่าวจึงถูกลดบทบาทไป คงเหลือเพียงคณะลิมนต์รุ่นเก่าที่อายุมากขึ้น และใกล้สูญหายไปในไม่ช้า ลิมนต์เป็นการตีทับ ขับบท มีนายมนต์ทำหน้าที่ตีทับและขับบทร้องนำ ลูกคู่ร้องรับบทเพลงควบคู่กันไปโดยตลอดจนเสร็จพิธี มีรูปแบบหน้าทับที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้ทับในการตีจำนวน 5 ใบ เสียงของทับมี 3 เสียงด้วยกัน คือ บลึง โปร๊ะ และโจง มีการตีรูปแบบจังหวะหลากหลาย เช่น การตีจังหวะตก จังหวะยก การตีขัด และตีรัว กระบวนการเรียนรู้การตีทับลิมนต์ ในตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาองค์ความรู้เรื่องลิมนต์ผ่าน ประสบการณ์ภาคสนาม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงพื้นที่ในชุมชน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ เรียบเรียงองค์ความรู้และสะท้อนสภาพปัญหาผ่านการนำเสนอในกลุ่มเรียน ส่วนที่ 2 เป็นการฝึกทักษะปฏิบัติการตีทับลิมนต์ผ่านแบบฝึกการตีทับลิมนต์ที่พัฒนาขึ้นโดยมีเนื้อหาที่มุ่งเน้นเรื่องความเข้าใจในเรื่องการอ่านโน้ตสากล การฝึกปฏิบัติทับลิมนต์ด้วยแบบฝึก ที่สร้างขึ้นจากโครงสร้างหน้าทับ (rhythmic pattern) ลิมนต์ โดยนำเฉพาะกระสวนหน้าทับที่มีจุดเด่นและมีความซับซ้อน มาแยกส่วนและเน้นการปฏิบัติซ้ำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชำนาญในพื้นฐานการตีทับ แต่เนื่องด้วยทับลิมนต์เป็นดนตรีประกอบพิธีกรรม จึงสมควรใช้ทับโนราห์ซึ่งมีคุณลักษณะใกล้เคียงกันในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์แห่งความเชื่อและดนตรีพิธีกรรมของท้องถิ่น ขณะเดียวกันชุดการเรียนรู้ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยโครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมนักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม เรียนรู้อย่างอิสระ และประเมินด้วยการนำเสนอผ่านสาธารณะชน จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนให้ความเห็นว่า เนื่องด้วยลิมนต์เป็นศิลปะที่แสดงออกในด้านวรรณศิลป์ คีตศิลป์และดุริยางคศิลป์ไว้ด้วยกัน ควรส่งเสริมการเรียนรู้ บูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยครูเป็นที่ปรึกษา และควรมีการเชื่อมโยงการเรียนรู้กับภาครัฐในท้องถิ่นเพื่อพัฒนากระบวนการให้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายต่อไป
dc.description.abstractThis study is a qualitative research aiming to develop a learning process of playing Thab Limon according to the 21st-century educational management guideline and focusing on the propagation process for the conservation and learning of playing Thab Limon, a local ritual in Sabayoi District, Songkhla Province, in order to implement it in the educational system and to serve the interest of the general public. The findings reveal that Limon is a belief pertaining to a healing and didactic ritual. Thab is used to accompany the singing until the end of the ceremony. Today, this belief is still generally practiced in the South of Thailand although its popularity has faded due to the accessibility of medical advances. The ritual and belief, consequently, are playing a less dominant role. Limon bands that are still in existence comprise increasingly aging members and are likely to soon become a thing of the past. Limon is the playing of Thab to accompany singing. Nai Mon plays the Thab and acts as the lead singer. Chorus singers sing along until the end of the ceremony. The Thab pattern is unique, using a set of 5 Thab instruments and 3 Thab tones: Blung, Pro, and Jong. The rhythmic patterns vary such as hitting on the downbeat, hitting on the upbeat, syncopation and rolling. The learning process of playing Thab Limon in Khuha Subdistrict, Sabayoi District, Songkhla Province, consists of 2 parts: Part 1is related to the study of the knowledge about Limon based on a field experience focusing on taking the learners to the community, collecting the data, making an analysis, processing the knowledge and reflecting the problems in group presentations; and Part 2 is related to the practical skill of playing Thab Limon through Thab Limon practice exercises developed with a focus on enabling the learning to understand how to read western musical notation. The practice of playing Thab Limon using the exercises designed based on the separation of the distinctive and complex rhythmic patterns of Thab Limon and the repetition of the practice creates the basic understanding and skill of playing Thab. However, since Thab Limon is a musical accompaniment of a ritual, Thab Norah, having similar features to Thab Limon, is recommended to be used instead in the learning process to conserve the symbolic representation of the local belief and ritual music. In addition, the learning package emphasizes project-based learning and promotes group work, independent learning, and evaluation through public presentations. Interviews with the learners reveal that as Limon is an artistic expression of literature, singing and music, it should be promoted and integrated into the activities of the "Teach Less, Learn More" policy, with the teachers as advisors, and connected to the learning in the local government sector in order to make the development of the process acceptable at a broader level.
dc.format.extentก-ญ, 175 แผ่น : ภาพประกอบ (สีบางภาพ)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationสารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92710
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectวัฒนธรรมไทย (ภาคใต้)
dc.subjectทับลิมนต์
dc.subjectเครื่องดนตรี -- ไทย -- สงขลา
dc.titleการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การตีทับลิมนต์ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
dc.title.alternativeA development of learning process of playing Thabs Limon at Sabayoi district Songkhal province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd534/5838492.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
thesis.degree.disciplineดนตรี
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files