การปรับปรุงระยะเวลาการให้บริการของห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยภาวะหัวใจวายด้วยระบบบริการห้องสังเกตอาการ หน่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 141 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
จันทรา ไวยรัตน์ การปรับปรุงระยะเวลาการให้บริการของห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยภาวะหัวใจวายด้วยระบบบริการห้องสังเกตอาการ หน่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92663
Title
การปรับปรุงระยะเวลาการให้บริการของห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยภาวะหัวใจวายด้วยระบบบริการห้องสังเกตอาการ หน่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Alternative Title(s)
Improving emergency department length of stay in heart failure patients in emeroency room observation unit at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
ภาวะแออัดภายในห้องฉุกเฉินเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน การเปิดให้บริการห้องสังเกตอาการ ในห้องฉุกเฉินเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีการนำมาใช้ในการลดระยะเวลาการให้บริการผู้ป่วยของห้องฉุกเฉิน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ก่อนและขณะมีระบบบริการห้องสังเกตอาการ ในห้องฉุกเฉินของผู้ป่วยภาวะหัวใจวายที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของภาวะหัวใจวายในห้องฉุกเฉินระดับปานกลางและระดับต่ำ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระยะเวลาการให้บริการของห้องฉุกเฉิน อัตราการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องฉุกเฉินที่ระยะเวลา 4 ชั่วโมงและ 8 ชั่วโมง อัตราการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน และอัตราการรับไว้เป็นผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยฉุกเฉินภาวะหัวใจวายทุกคนที่มารับบริการในหน่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557 ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,518 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยนอก พบ แบบบันทึกข้อมูลที่เป็นไปตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 950 คน (ร้อยละ63) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ , survival analysis แบบ Kaplan-Meire และสถิติ Log rank test ผลการวิจัยพบว่าในช่วงที่มีการเปิดให้บริการห้องสังเกตอาการ ผู้ป่วยภาวะหัวใจวายทั้งหมดที่มารับบริการในหน่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการให้บริการของห้องฉุกเฉินลดลงจาก 12 ชั่วโมง 40 นาทีเป็น10 ชั่วโมง 53 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.004) แต่ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระยะเวลาการให้บริการของห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยภาวะหัวใจวายทั้งในประเภทจำหน่ายกลับบ้านและรับไว้เป็นผู้ป่วยในอัตราการจำหน่ายผู้ป่วยภาวะหัวใจวายออกจากห้องฉุกเฉินที่ระยะเวลาเกิน 4 ชั่วโมงลดลงจากร้อยละ 51.2 เป็นร้อยละ 48.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(Odd Ratio[OR] = 0.48; p-value < 0.001) อัตราการจำหน่ายผู้ป่วยภาวะหัวใจวายออกจากห้องฉุกเฉินที่ระยะเวลาเกิน 8 ชั่วโมงลดลงจากร้อยละ 57.8 เป็นร้อยละ 45.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(OR= 0.62; p-value < 0.001) และอัตราการจำหน่ายกลับบ้านจากห้องฉุกเฉินของผู้ป่วยภาวะหัวใจวายลดลงจากร้อยละ 67.7 เป็นร้อยละ 49.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(OR= 0.46; p-value < 0.001) แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับอัตราการรับไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยภาวะหัวใจวายจากผลการวิจัยนี้สนับสนุนได้ว่าการมีระบบบริการห้องสังเกตอาการ ในห้องฉุกเฉินสามารถช่วยในการ ปรับปรุงกระบวนการลื่นไหลของผู้ป่วย รวมทั้งคุณภาพการดูแลและความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินภาวะหัวใจวายที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของภาวะหัวใจวายในห้องฉุกเฉินระดับปานกลางและระดับต่ำได้
Overcrowding the Emergency Department (ED) is a serious problem in an urban, academic tertiary care that reduces the quality of care and safety of the patients. One suggestion to decrease the length of stay in the Emergency Department (EDLOS) is to implement the Emergency Room Observation Unit (EROU). This study was a retrospective pre-post observation and evaluation study without control research with the aims of evaluating outcome of the means EDLOS, rate of prolonged EDLOS of more than 4 hours, prolonged EDLOS of more than 8 hours, hospital admission and ED discharge for home for heart failure with non-high risk patients before and after the implementation of the EROU. The medical records and data records off all the adult patients who visited the ED of King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) from October 1, 2010 through September 30, 2014 were retrospectively reviewed. One thousand five hundred and eighteen charts were reviewed with 950 charts (63.0%) included for analysis. Chi square, Survival analysis by Kaplan-Meire and Log rank test were used for data analysis. The Implementation of the EROU service for heart failure with non-high risk patients resulted in a decreased overall means EDLOS from 12 hours and 40 minutes to 10 hours and 53 minutes with a statistical significance (p-value = 0.004).Whereas the means of EDLOS was unchanged for both admitted and discharged for home patients .The percentage of prolonged EDLOS of more than 4 hours decreased from 51.2% to 48.8% with a statistical significance (Odd Ratio [OR] =0.48; p-value <0.001). The percentage of the prolonged EDLOS of more than 8 hours decreased from 57.8% to 45.9% with a statistical significance (OR=0.62; p-value < 0.001).The percentage of heart failure patients discharged for home from the ED decreased from 67.7% to 49.1% with a statistical significance (OR=0.46; p-value < 0.001) .Whereas the percentage of hospital admission was unchanged. In conclusion, the implementation of the EROU service could improve the patient flow, quality and safety for heart failure with non-high risk patients in the ED.
Overcrowding the Emergency Department (ED) is a serious problem in an urban, academic tertiary care that reduces the quality of care and safety of the patients. One suggestion to decrease the length of stay in the Emergency Department (EDLOS) is to implement the Emergency Room Observation Unit (EROU). This study was a retrospective pre-post observation and evaluation study without control research with the aims of evaluating outcome of the means EDLOS, rate of prolonged EDLOS of more than 4 hours, prolonged EDLOS of more than 8 hours, hospital admission and ED discharge for home for heart failure with non-high risk patients before and after the implementation of the EROU. The medical records and data records off all the adult patients who visited the ED of King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) from October 1, 2010 through September 30, 2014 were retrospectively reviewed. One thousand five hundred and eighteen charts were reviewed with 950 charts (63.0%) included for analysis. Chi square, Survival analysis by Kaplan-Meire and Log rank test were used for data analysis. The Implementation of the EROU service for heart failure with non-high risk patients resulted in a decreased overall means EDLOS from 12 hours and 40 minutes to 10 hours and 53 minutes with a statistical significance (p-value = 0.004).Whereas the means of EDLOS was unchanged for both admitted and discharged for home patients .The percentage of prolonged EDLOS of more than 4 hours decreased from 51.2% to 48.8% with a statistical significance (Odd Ratio [OR] =0.48; p-value <0.001). The percentage of the prolonged EDLOS of more than 8 hours decreased from 57.8% to 45.9% with a statistical significance (OR=0.62; p-value < 0.001).The percentage of heart failure patients discharged for home from the ED decreased from 67.7% to 49.1% with a statistical significance (OR=0.46; p-value < 0.001) .Whereas the percentage of hospital admission was unchanged. In conclusion, the implementation of the EROU service could improve the patient flow, quality and safety for heart failure with non-high risk patients in the ED.
Description
การบริหารโรงพยาบาล (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
การบริหารโรงพยาบาล
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล