กระบวนการเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ)
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-จ, 141 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
ศุภศิระ ทวิชัย กระบวนการเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ). วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93503
Title
กระบวนการเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ)
Alternative Title(s)
Lt.Col. Wichit Ho-thai (National artist)'s scoring process for wind band 's Thai traditional music
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียบเรียง เพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ) โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการ วิเคราะห์บทเพลงไทยเดิมที่พันโทวิชิต โห้ไทย เป็นผู้เรียบเรียงสำหรับวงโยธวาทิต ผลการวิจัยพบว่า พันโทวิชิต โห้ไทย เป็นศิลปินดนตรีที่มีทักษะความรู้ และความเชี่ยวชาญ ทางด้านดนตรีของตะวันตก และดนตรีไทย ทั้งนี้เนื่องจากการความสนใจทางด้านดนตรีเป็นอย่างสูงโดยเริ่มแรก ได้เข้ามาศึกษาวิชาดนตรีตะวันตกที่โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก โดยศึกษาทั้งด้านวิชาทฤษฎี และปฏิบัติดนตรีกับ ครูทหาร และปฎิบัติหน้าที่ ที่เกี่ยวกับวงโยธวาทิตมาโดยตลอด ต่อมาได้ศึกษาวิชาดนตรีไทยกับครูดนตรีไทยที่มี ชื่อเสียงอยู่หลายท่าน ส่งผลให้พันโทวิชิต โห้ไทย ได้มีความรู้ความเข้าใจกับวัฒนธรรมดนตรีทั้ง 2 วัฒนธรรม ได้เป็นอย่างดี จนเกิดการสร้างสรรค์ผลงาน และเผยแพร่งานทางดนตรีไทยที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีแบบ ตะวันตกในรูปแบบวงโยธวาทิต ในการเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย มีกระบวนการต่างๆเข้ามา เกี่ยวข้อง ตั้งแต่กระบวนการคัดสรรบทเพลงเพื่อใช้ในการเรียบเรียงในโอกาสต่างๆ ตามความเหมาะสม กระบวนการจัดกลุ่มเครื่องดนตรีตะวันตกแทนเครื่องดนตรีไทยให้อยู่ในช่วงเสียงที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิด ความสมดุลของเสียง และกระบวนการเรียบเรียงบทเพลง ซึ่งเป็นกระบวนการสุดท้าย ในกระบวนการเรียบเรียงนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะ รูปแบบของการเรียบเรียงที่เป็นเอกลักษณ์ 4 ด้าน คือ 1. ด้านทำนอง 2. ด้านจังหวะ 3. ด้านเสียงประสาน และ 4. ด้านประโยคเพลง จากการเรียบเรียงใหม่ในแบบตะวันตกนี้ยังคง ยึดหลักการ และสำเนียงพื้นฐานของเพลงไทยมาใช้เป็นโครงสร้างหลัก
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล