อำนาจระหว่างหญิงชายกับประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแรงงานหญิง
dc.contributor.advisor | นาถฤดี เด่นดวง | |
dc.contributor.advisor | สุพจน์ เด่นดวง | |
dc.contributor.advisor | มัลลิกา มัติโก | |
dc.contributor.author | วลัยพร วงศ์สอน | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:52Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:52Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแรงงานหญิง ผ่านอำนาจระหว่างหญิงชายภายใต้ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ ในแนวคิดสตรีนิยมสายสังคมนิยมโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาแรงงานหญิงที่มีประสบการณ์หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งหมด 10 ราย พบว่าในโรงพยาบาลแรงงานหญิงทุกคนไม่สามารถปฏิเสธการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยนโยบายที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บังคับและจัดการผู้หญิงด้วยวิธีการต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิ และข้อจำกัดของชีวิตผู้หญิงแต่ละคน ทั้งยังไม่ให้โอกาสผู้หญิงเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง เมื่อผู้หญิงออกจากโรงพยาบาลเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆในโครงสร้างชีวิตก็กระทำและกดดันต่อผู้หญิงจนต้องหยุดการให้นมแม่ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มที่1 หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทันทีที่ออกจากโรงพยาบาล ผู้หญิงกลุ่มนี้มีปัญหาหนักกดดันรอบด้าน ทั้งขาดรายได้ อยู่ตัวคนเดียว มีภาระที่ต้องดูแลลูก ถูกนายจ้างกดดัน และยังต้องเผชิญปัญหาความรุนแรงจากสามีจน ต้องหลบหนีเอาตัวรอด ทำให้ต้องหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทันทีที่ออกจากโรงพยาบาล กลุ่มที่ 2 หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายใน 1 เดือนเนื่องจากโครงสร้างชีวิตมีปัญหาทั้งภาระงานในบ้านที่ต้องทำควบคู่กับการเลี้ยงลูก และงานนอกบ้านที่หนัก ต้องทำทั้งวัน ไม่มีเวลาพัก ได้ค่าจ้างน้อย และยังมีปัญหาหนี้สินรุมเร้าที่ต้องชดใช้ในเวลาที่จำกัด เป็นตัวเร่งรัดให้ต้องหารายได้และหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายใน1 เดือน กลุ่มที่ 3 สามารถให้นมแม่ได้นานที่สุด แต่โครงสร้างชีวิตก็มีภาวะกดดันในเรื่องหนี้สิน งาน ภาระในบ้านเช่นเดียวกับกลุ่มอื่นๆ ทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่สม่ำเสมอ และที่สำคัญผู้หญิงต้องกลับไปทำงานภายในเวลา 3 เดือนตามเงื่อนไขการลาคลอดจึงต้องหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เช่นกัน ดังนั้นสาเหตุหลักที่ทำให้แรงงานหญิงทั้ง 3 กลุ่มหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะเวลาแตกต่างกันคือ ระดับความรุนแรงของอำนาจระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ที่กระทำต่อโครงสร้างชีวิตผู้หญิง ข้อเสนอแนะของการวิจัยนี้คือ รัฐต้องส่งเสริมบทบาทและอำนาจการตัดสินใจให้กับผู้หญิงสนับสนุนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ เข้าไปบทบาทในสหภาพแรงงานในเชิงรุกอย่างจริงจัง แก้ปัญหาแรงงานหญิงที่ถูกเอาเปรียบจากนายจ้าง ผลักดันนโยบายลาคลอด6 เดือน และไม่ใช้นโยบายที่เคร่งครัดกับผู้หญิงเกินไป ควรศึกษารายละเอียดชีวิตของผู้หญิงบนความเข้าใจว่า แต่ละคนมีเงื่อนไขและความจำเป็นในชีวิตแตกต่างกัน | |
dc.format.extent | ก-ฐ, 214 แผ่น 0 ซม. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93688 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | |
dc.title | อำนาจระหว่างหญิงชายกับประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแรงงานหญิง | |
dc.title.alternative | The gender power and breastfeeding experiences among women workers | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd470/5136342.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |