ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

dc.contributor.advisorอรวมน ศรียุกตศุทธ
dc.contributor.advisorศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา
dc.contributor.advisorนพพร ว่องสิริมาศ
dc.contributor.authorณัฏยา ประหา
dc.date.accessioned2024-01-22T02:36:04Z
dc.date.available2024-01-22T02:36:04Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionการพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้แก่ ระยะเวลาการรับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ภาวะซึมเศร้า การทาหน้าที่ทางเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตของ Zhan (1992) และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มารับบริการที่คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง ไตเทียมราชวัตรสาขาสามเสน และสาขาหลักสี่ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการทาหน้าที่ทางเพศของเพศหญิง แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 47.06 ปี (SD=9.40, Range 30-72) มีระยะเวลาที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ย 6.70 ปี (SD = 4.13) ร้อยละ 46 มีภาวะซึมเศร้า และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84) มีปัญหาการทำหน้าที่ทางเพศ คะแนนเฉลี่ยความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสอยู่ในระดับดี (M= 125, SD= 25.86) และมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 88.26, SD= 13.81) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 39.0 (R2 = .390, F(4,95) = 15.159) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) โดยภาวะซึมเศร้าเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.623, p = .000) จากผลการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ทีมสุขภาพที่ดูแลผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมควรตระหนักถึงความสำคัญในการคัดกรองปัญหาภาวะซึมเศร้า เพื่อนาไปสู่การวางแผนดูแลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ให้สามารถปรับตัวอยู่กับภาวะโรคเรื้อรัง และการรักษาที่ยาวนานต่อไป
dc.description.abstractThis research was a correlational predictive design aimed to study the factors predicting quality of life, such as, duration of dialysis, depression, sexual function, and marital relationship, in women receiving hemodialysis. The conceptual model of quality of life by Zhan (1992) and related literature were used to form a conceptual framework of the study. The sample comprised 100 women receiving hemodialysis who came to receive service at the Ratchawat Medical Specialist Clinic, Samsen and Laksi branches. The subjects were selected by means of convenience sampling. Data were collected by questionnaires on demographic data, the Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D), the Female Sexual Function Index (FSFI), the Dyadic Adjustment Scale (DAS) and WHO Quality of Life-BRIEF (Thai). Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis. The sample group's average age was 47.06 years old (SD=9.40, Range 30-72) and average duration of dialysis was 6.70 years (SD = 4.13). Forty-six percent of the sample had developed depression and 84% had sexual dysfunction. In terms of marital relationship, the sample group's average score was at a good level (M= 125, SD= 25.86). Their quality of life's average score was also at a moderate level (M= 88.26, SD= 13.81). According to the results of the multiple regression analysis, all of the independent variables explained 39% of the variance in quality of life (R2 = .390, F(4,95) = 15.159, p = .000). The only factor found to predict quality of life with statistically significant level was depression (B = -.623, p = .000) Based on the findings of the study, the researcher recommends that health teams caring for women receiving hemodialysis should be aware of the importance of screening for depression then plan to promote quality of life in women receiving hemodialysis. In doing so, they will be able to live better with their chronic illness and prolong treatment.
dc.format.extentก-ฌ, 145 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93401
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
dc.subjectคุณภาพชีวิต
dc.subjectไต, โรค -- การรักษา
dc.titleปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
dc.title.alternativeFactors predicting quality of life in women receiving hemodialysis
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/507/5636873.pdf
thesis.degree.departmentคณะพยาบาลศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files