สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการให้บริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ซ, 125 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
นฤมล วงษ์เดือน สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการให้บริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92862
Title
สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการให้บริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ
Alternative Title(s)
Intercultural communication competence in health care services for migrant workers
Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของผู้ให้บริการสุขภาพ คือ พยาบาลและล่ามในการให้บริการสุขภาพแก่แรงงานข้ามชาติ โดยศึกษาในแผนกซักประวัติ ของคลินิกแรงงานต่างด้าวในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในการศึกษา โดยพยาบาลและล่ามประจำแผนกเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ในระหว่าง เดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556 ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสื่อสารที่ใช้ในแผนกบริการซักประวัติในคลินิกแรงงานข้ามชาติจำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1) การสื่อสารผ่านล่าม คือ การสื่อสารระหว่างพยาบาลและแรงงานข้ามชาติโดยผ่านล่ามของโรงพยาบาลและที่ไม่ใช่ล่ามของโรงพยาบาล และ 2) การสื่อสารไม่ผ่านล่าม คือ การสื่อสารโดยตรงระหว่างพยาบาลและแรงงานข้ามชาติ สำหรับสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมนั้นพบว่า พยาบาลไม่มีความรู้เกี่ยวประเทศพม่า วัฒนธรรม และภาษามอญ/พม่ามากนัก การสื่อสารจึงจำเป็นต้องผ่านล่ามเป็นหลัก แต่ในกรณีที่การสื่อสารไม่มีประเด็นซับซ้อน พยาบาลสามารถใช้ความรู้ทางภาษาที่พอมีอยู่บ้างจากประสบการณ์การทำงานร่วมกับอวัจนภาษามาใช้ในการสื่อสารโดยตรงกับแรงงานข้ามชาติได้ นอกจากนี้พยาบาลยังมีสมรรถนะที่เอื้อต่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม อันได้แก่ การมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ดีและทัศนคติต่อแรงงานข้ามชาติที่ค่อนข้างไปทางบวก ส่วนสมรรถนะของล่ามในฐานะตัวกลางในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมนั้นพบว่า ล่ามได้ใช้สมรรถนะที่มีอยู่ทั้งความรู้ด้านภาษา (ไทย มอญ และพม่า) ความรู้ทางด้านการแพทย์ที่จำเป็นต่อการ ให้บริการ รวมทั้งบริบททางวัฒนธรรมของไทยที่ได้เรียนรู้ทั้งก่อนและหลังจากการได้รับการอบรมการเป็นล่ามมาใช้ และยังมีทักษะที่สำคัญที่ช่วยให้การสื่อสารสามารถข้ามผ่านข้อจำกัดที่เกิดจากความต่างทางวัฒนธรรมที่เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ นอกจากนี้ล่ามยังมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำและมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยคนจากประเทศเดียวกัน ซึ่งเป็นสมรรถนะที่สำคัญต่อการเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของพยาบาลมีอยู่ในวงจำกัด ล่ามจึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการสื่อสารประเภทนี้ การพัฒนาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการให้บริการสุขภาพจึงควรเสริมสมรรถนะแก่บุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นในด้านวิธีการใช้ล่าม และการเสริมความรู้ด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทั้งจากต้นทางและปลายทางของแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้การบริการสุขภาพกับกลุ่มคนต่างวัฒนธรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
The purpose of this research was to study the communication patterns and intercultural communication competence in medical history taking and the intercultural communication competence of the nurses and the interpreters for health care services in a migrant workers clinic at a hospital. A qualitative research design was use for the research methodology. The research instruments used for data collection were non-participant observations and in-depth interviews regarding communication during patient interviews with migrant worker recipients by health care providers that showed intercultural competency and who worked at the migrant workers clinic from October to November, 2013. The findings of this study showed that there were two patterns of communication: 1) communication through hospital and external interpreters and 2) communication without interpreters whereby the nurses communicate directly with the migrant workers. Regarding intercultural communication, since the nurses lack knowledge about Myanmar and its culture, interpreters were sometimes needed for complicated communication. The nurses used both verbal language and nonverbal language to achieved successful intercultural communications. However, they lacked the necessary language skills. For the interpreters, they were fluent in Thai, Mon, and Burmese languages with regard to the necessary knowledge in health care service field and also were skilled in explaining the health care beliefs of the migrant workers to the nurses. Moreover the interpreters had strong motivation in health care service field and were proud to serve with a positive attitude regarding being an effective intercultural mediator. Considering the limited intercultural communication competence of the nurses, it is necessary to have an interpreter present in the clinic. Knowledge about Myanmar/Mon cultures in relation to health-related living should be given more study of the migrant workers' way of life regarding their origin and destination in order to provide more effective health care services.
The purpose of this research was to study the communication patterns and intercultural communication competence in medical history taking and the intercultural communication competence of the nurses and the interpreters for health care services in a migrant workers clinic at a hospital. A qualitative research design was use for the research methodology. The research instruments used for data collection were non-participant observations and in-depth interviews regarding communication during patient interviews with migrant worker recipients by health care providers that showed intercultural competency and who worked at the migrant workers clinic from October to November, 2013. The findings of this study showed that there were two patterns of communication: 1) communication through hospital and external interpreters and 2) communication without interpreters whereby the nurses communicate directly with the migrant workers. Regarding intercultural communication, since the nurses lack knowledge about Myanmar and its culture, interpreters were sometimes needed for complicated communication. The nurses used both verbal language and nonverbal language to achieved successful intercultural communications. However, they lacked the necessary language skills. For the interpreters, they were fluent in Thai, Mon, and Burmese languages with regard to the necessary knowledge in health care service field and also were skilled in explaining the health care beliefs of the migrant workers to the nurses. Moreover the interpreters had strong motivation in health care service field and were proud to serve with a positive attitude regarding being an effective intercultural mediator. Considering the limited intercultural communication competence of the nurses, it is necessary to have an interpreter present in the clinic. Knowledge about Myanmar/Mon cultures in relation to health-related living should be given more study of the migrant workers' way of life regarding their origin and destination in order to provide more effective health care services.
Description
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล